ผอ.ชป.1เผยน้ำปีนี้ 3 จว.มีเพียงพอแต่ต้องใช้น้ำประหยัด เพราะสถานการณ์น้ำเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา พื้นที่นอกเขตชลประทานและพื้นที่บนดอยอาจจะเจอภัยแล้งบางเป็นบางพื้นที่ โดยรวมน้ำในแหล่งน้ำของเชียงใหม่ ลำพูนและแม่ฮองสอน มีเพียงพอต่อการใช้อุปโภคบริโภค การเกษตรและหล่อเลี้ยงรักษาระบบนิเวศ
นายจานุวัตร เลิศศิลป์เจริญ ผู้อำนวยการ สำนักงานชลประทานที่ 1 เชียงใหม่ กล่าวว่าสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่ 3 จังหวัดของเชียงใหม่ ลำพูน และแม่ฮองสอน ในปีนี้อาจจะมีมีเพียง
บางพื้นที่โดยเฉพาะนอกเขตชลประทาน และบนดอยบางแห่ง เพราะหลายพื้นที่เคยประสบปัญหาภัยแล้งซ้ำซาก ได้มีการแก้ไขจัดการแหล่งน้ำขนาดเล็กสำรองน้ำไว้รองรับ โดยภาพรวม
ของเขื่อน อ่างเก็บน้ำขนาดกลางและเล็ก มีน้ำเพียงต่อการใช้ของอุปโภคบริโภคที่เป็นปัจจัยหลัก ด้านการเกษตร และรักษาระบบนิเวศของลำน้ำต่างๆ โดยเฉพาะแม่น้ำปิง มีปริมาณการไหล มากกว่าปี 2561 ร้อยละ 3 ที่ได้เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ถือเป็นอีกหนึ่งสายน้ำหลักไหลลงไปหล่อเลี้ยงจนถึงภาคกลาง โดยได้จัดสรรน้ำปล่อยเป็นรอบเวร จำนวน 25 รอบเวร อีกทั้งมีประตูระบายน้ำ 4 ประตูช่วยกักเก็บน้ำเป็นขั้นบันไดทำให้ตลอดลำน้ำปิงจะมีน้ำไปจนถึงเขื่อนภูมิพล
อย่างไรก็ตามสถานการณ์น้ำความแห้งแล้งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ถึงน้ำจะมีเพียงพอและมีการบริหารจัดการน้ำของแต่ละจังหวัดไว้พื้นที่ 11 อำเภอ จังหวัดเชียงใหม่และ 4 อำเภอ ของลำพูนมีความต้องการใช้น้ำในล้ำน้ำแม่ปิงที่ 202 ล้าน ลบ.ม. แต่การใช้น้ำต้องประหยัดใช้น้ำอย่างรู้คุณค่าใช้น้ำตามกฎกติกาที่ไว้วางไว้ของการใช้น้ำตามรอบเวร เพื่อรองรับต่อ
สถานการณ์ต่างๆไว้ ซึ่งหลายพื้นที่มีการเตรียมพร้อมจัดแหล่งสำรองน้ำ ทำแก้มลิง เพื่อกักเก็บน้ำในช่วงฤดูฝนที่ผ่านมา ก็เชื่อว่าปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ 3 จังหวัดจะสามารถรอดพ้นไปได้
ด้วยดี ถึงฝนจะตกลงมาล้าช้าน้ำในเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชลยังมีน้ำกักเก็บที่ 45 % สำหรับลุ้มน้ำปิงตอนบน
ส่วนปริมาณน้ำเมื่อเทียบกับปี 61 ของ จังหวัดเชียงใหม่ อ่างขนาดใหญ่ 2 แห่ง เขื่อนแม่งัดฯ น้ำต้นทุน 235 ล้าน ลบ.ม.(89%) < ปี 61 0% พื้นที่การเกษตร 53,464 ไร่ : < ปี 61 23% ,
เขื่อนแม่กวงฯ น้ำต้นทุน 121 ล้าน ลบ.ม.(46%) > ปี 61 7% พื้นที่การเกษตร 53,464 ไร่ : > ปี 61 2% อ่างขนาดกลาง 12 แห่ง น้ำต้นทุน 52 ล้าน ลบ.ม.(60%) < ปี 61 16% พื้นที่การเกษตร (ชป.กลาง) 71,696 ไร่ : < ปี 61 1% และ อ่างขนาดเล็ก 117 แห่ง น้ำต้นทุน 43 ล้าน ลบ.ม.(65%) < ปี 61 6%
จังหวัดลำพูน อ่างขนาดกลาง 4 แห่ง น้ำต้นทุน 15 ล้าน ลบ.ม.(42%) < ปี 61 10% พื้นที่การเกษตร (ชป.กลาง) 47,223 ไร่ : < ปี 61 24% อ่างขนาดเล็ก 47 แห่ง น้ำต้นทุน 10 ล้าน ลบ.ม.(42%) < ปี 61 11% และจังหวัดแม่ฮ่องสอน อ่างขนาดกลาง 2 แห่ง น้ำต้นทุน 2 ล้าน ลบ.ม.(91%) < ปี 61 5% พื้นที่การ เกษตร (ชป.กลาง) 11,152 ไร่ : เท่ากับปีแล้ว
อ่างขนาดเล็ก 29 แห่ง น้ำต้นทุน 9 ล้าน ลบ.ม.(79%) < ปี 61 5%.
ทรงวุฒิ ทับทอง
Cr. ศิระ วีรตันตยาภรณ์