เชียงใหม่ สวพส. ร่วมกับสกว.จัดงานทอดและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กาแฟอะราบิกาและพืชอินทรีย์กับทางเลือกพื้นที่สูง เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกร ตลอดชาวบ้านในชุมชนดีขึ้นเพราะไม่ใช้สารเคมี ไม่มีการเผาเศษต่อซังข้าวโพด มีสุขภาพดีขึ้น ใช้พื้นที่ปลูกน้อยแต่ มีรายได้มากขึ้น ที่สำคัญไม่เป็นต้นเหตุของก่อมลพิษจากการเผาเกิดฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 จนถึงขณะนี้ในพื้นที่อำเภอแม่แจ่ไม่มีจุดออตสปอร์จากการเผา ลดพื้นที่ปลูกข้าวโพด ลดพื้นที่เขาหัวโล้น และลดการทำไร่หมุนเวียน
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (สวพส.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย หรือ สกว. วันถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เทคโนโลยีจากงานวิจัย เรื่องกาแฟอะราบิกากับความยั่งยืนบนพื้นที่สูง และวันถ่ายทอดแะแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เทคโนโลยีจากงานวิจัย เรื่องพืชอินทรีย์กับทางเลือกพื้นที่สูง มีนายธีรภัทร ประยูรสิทธิ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเกษตร และประธานอนุกรรมการวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (สวพส.) เป็นประธานเปิดงาน พร้อมด้วยนางสาวเพชรดา อยู่สุข รองผู้อำนวยการสถาบันสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (สวพส.) ด้านบริหารจัดการ เจ้าหน้าที่ส่วนที่เกี่ยวข้อง ภาคเอกชน และเกษตรกรในพื้นที่ อำเภอแม่แจ่ม และนอกพื้นที่สนใจเข้าร่วม ณ โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงปางหินฝน ตำบลปางหินนฝน อำภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ จัดเสวนาของสวพส. ร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายและผู้ประกอบการ ช่องทงตลาดกาแฟคุณภาพ กับแนวทางพัฒนากแฟบนพื้นที่สูง ซึ่งเป็นพื้นนำร่องของการพัฒนาคุณภาพตามพื้นที่เหมาะสมในการปลูกกาแพอะราบิกา มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 800 – 1,400 เมตร ซึ่งกาแฟเป็นพื้นที่ต้องการร่มเงา ความชื้น เป็นพื้นที่ปลอดการสารเคมี และปลอดการเผา เพราะ เป็นตัวการหลักของการเกิดฝุ่น PM2.5 ลดการทำเกษตรจากสารเคมี ลดพื้นที่ปลูกข้าวโพด ลดพื้นที่เขาหัวโล้น และลดการทำไร่หมุนเวียน
นอกจากนี้ ณ บ้านแม่วาก ตำบลแม่นาจร อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ อีกหนึ่งพื้นที่ลดการเผาลดการปลูกข้าวโพด จัดงานวันถ่ายทอดแะแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เทคโนโลยีจากงานวิจัย เรื่องพืชอินทรีย์กับทางเลือกพื้นที่สูง ซึ่งมีเกาตรเกษตรเข้าร่วมแล้วกว่า 30 ราย ปลูกผักอินทรีย์ 10 กว่าราย ซึ่งเป็นการปลูกแบบร่วมกลุ่ม ซึ่งเกษตรกรใช้พื้นที่น้อย จากโรงเรือนปลูก 6 โรงเรือน เท่ากับพื้นที่การปลูกข้าว 20 ไร่ มีรายได้เท่ากันที่ 2 แสนบาท แต่เกษตรกรจะปลูกพืชอายุสั้นประมาณ 28 วันเก็บเกี่ยวมีรายได้ทุกเดือน พร้อมปลูกผักอายุสั้น เลี้ยงไก่ไข่ และหมูหลุม มาเสริมเพิ่มรายได้ ที่สำคัญคุณภาพชีวิตของเกษตรกร ตลอดชาวบ้านในชุมชนดีขึ้นเพราะไม่ใช้สารเคมี ไม่มีการเผาเศษต่อซังข้าวโพด สุขภาพดีขึ้น ใช้พื้นที่ปลูกน้อยแต่ มีรายได้มากขึ้น ที่สำคัญไม่เป็นต้นเหตุของก่อมลพิษจากการเผาเกิดฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 จนถึงขณะนี้ในพื้นที่อำเภอแม่แจ่ม ไม่มีจุดฮอตสปอร์จากการเผา.