ข่าวรอบรั้วภูธร ข่าวสมุทรปราการ ข่าวเด่น

อดีตนายก ชวน หลีกภัย  ร่วมงาน Thailand Friendly Design Expo 2024 มหกรรมอารยสถาปัตย์ นวัตกรรมสุภาพ และการท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล ครั้งที่ 8

14 ธันวาคม 2567  ที่ ฮอลล์ 101 ศูนย์นิทรรศการและการประชุม ไบเทค-บางนา กรุงเทพมหานคร นายกฤษนะ ละไล ประธานมูลนิธิอารยสถาปัตย์เพื่อคนทั้งมวล ผู้ดำเนินรายการงาน Thailand Friendly Design Expo 2004 มหกรรมอารยสถาปัตย์ นวัตกรรมสุภาพ และการท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล ครั้งที่ 8 ภายใต้แนวคิด / แตกต่าง หลากหลาย มุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน / ระหว่างวันที่ 12 – 15 ธันวาคม 2567 โดยมี นายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี และ นางสาวสุชาดา แทนทรัพย์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้เดินทางมาร่วงในงานและได้มอบประกาศนียบัตร กับหน่วยงานที่ร่วมโครงการดังกล่าว


นางสาวสุชาดา แทนทรัพย์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เผยว่า งาน Thailand Friendly Design ที่ได้จัดขึ้นในวันนี้ ถือว่าเป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจที่สำคัญ ถือว่าเป็นหนึ่งใน reward ที่สำคัญ ให้เรามีกลุ่มของผู้พิการหรือผู้เคลื่อนไหวไม่ปกติ ได้มามีกลุ่มมีเครือข่ายร่วมกัน การคำนึงถึงการใช้สถานที่ต่างๆและการเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ในสถานที่ที่เป็นมุมกว้างมากขึ้นของประเทศไทย เมื่อสักครู่ตนได้มีโอกาสได้มอบรางวัล พบว่ามีหลายๆหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในประเทศได้คำนึงถึงการที่ผู้พิการไม่ว่าจะพิการในด้านใดของร่างกาย มีสิทธิ์มีการอำนวยความสะดวกที่จะสามารถเข้าใช้สถานที่ต่างๆ และก็บริการต่างๆได้อย่างแท้จริง ก็ต้องบอกว่าเป็นงานที่คำนึงถึงคนทั้งมวลทุกภาคส่วนจริงๆ


ในส่วนของกระทรวง อว.เอง ตามชื่อกระทรวงเลย เรามีหน้าที่ดูแลในส่วนของงานวิจัย นวัตกรรมซึ่งก็ต้องบอกว่าเป็นตามนโยบายของทางรัฐบาลอยู่แล้ว ทางท่านรัฐมนตรีเองก็พูดเสมอว่าเราต้องการให้เราทุกคน หมายถึงทุกคนทุกมวล สามารถเข้าถึงความเท่าเทียมในด้านต่างๆเท่ากันหมด ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการศึกษาหรือไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของสถานที่ต่างๆ อว.ของเราในส่วนที่มีนักวิจัย เราก็มีการให้ทุนในเรื่องของการวิจัย เพื่อที่จะไปดูแลในภาคส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น tourism ในการเข้าถึงในส่วนของการท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยว คนที่ได้ยินไม่เหมือนคนอื่นจะต้องท่องเที่ยวแบบไหนที่จะได้รับรู้ถึง information ของสถานที่ต่างๆเหล่านั้น หรือคนที่ดวงตาไม่สามารถมองเห็นได้ จะมีการท่องเที่ยวแบบใด ที่สามารถทำให้เขาเข้าถึง informationและการรับรู้ได้เหมือนคนทั่วไป หรือแม้แต่คนที่ไม่สามารถขยับเขยื้อนร่างกายได้อย่างเต็มที่ เราจะมีสิ่งอำนวยความสะดวกใดที่จะเข้าไปสามารถลดภาระ และเพิ่มความเท่าเทียมให้กับทุกคนได้ ตรงนี้ก็เป็นหนึ่งในงานวิจัยที่สำคัญที่ท่านรัฐมนตรีบอกเสมอว่าต้องมีความเท่าเทียม งานวิจัยคือสิ่งที่เป็นเทคโนโลยีเป็นนวัตกรรมที่นำมาช่วยลดgapความเหลื่อมล้ำตรงนี้ ทำให้ทุกคนเข้าถึงโอกาสต่างๆได้อย่างเท่าเทียม ต้องบอกว่ากระทรวงอว. เป็นส่วนสำคัญอย่างมากในการริเริ่มพัฒนาสิ่งต่างๆ มีความร่วมมือกับมหาลัย เมื่อสักครู่ตนมีโอกาสได้เดินไปดูบูธของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร แวะมหาวิทยาลัยลาดกระบัง ซึ่งต้องบอกว่าจริงๆไม่ใช่แค่ 3 มหาลัยนี้ มหาลัยทั่วประเทศก็ได้มีการทำตามนโยบายของทางรัฐบาล นโยบายของอว.ว่า เราต้องมีการคำนึงถึงผู้พิการมากขึ้น

ก๊วก สมุทรปราการ รายงาน