25 พฤศจิกายน 2567 ที่ สนามหน้าที่ว่าการอำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ นายอนุพงศ์ สุขสมนิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เป็นประธานเปิดงานของดีสี่เผ่าไทไพรบึง ครั้งที่ 2 ปี 2567 โดยมีนายสุกิจ เหลืองสกุลไทย ปลัดจังหวัดศรีสะเกษ และนายฉลาด ชิดชม นายอำเภอไพรบึง นำหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดศรีสะเกษ/อำเภอไพรบึง หน่วนงานรัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน ชมรมพ่อค้า กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านสมาชิกสภาท้องถิ่น สภาวัฒนธรรมอำเภอ สมาคมครูอำเภอไพรบึง สถานศึกษา อสม.กลุ่มสตรี ชรบ. สภาเยาวขนอำเภอ ตลอดจนพี่น้องชาวอำนภอไพบึง ร่วมในพิธีเปิดงานเป็นจำนวนมาก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสืบสานอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมของชาวพื้นถิ่น 4 เผ่า (เขมร ลาว ส่วย เยอ) เพื่อส่งเสริมสร้างการตลาด สร้างรายได้แก่ประชาชน เพื่อประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ของดีสี่เผ่าไทไพรบึงให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย เพื่อเสริมสร้างความสามัคคีปรองดองแก่ประชาชนในพื้นที่อำเภอไพรบึง เพื่อเป็นการเปิดตลาดเพิ่มช่องทางให้ประชาชนได้ซื้อขายสินค้าโอท๊อป และเพื่อเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและผลิตภัณฑ์ผ้าพื้นเมือง เพิ่มรายได้แก่ชุมชน
นายฉลาด ชิดชม นายอำเภอไพรบึง กล่าวว่า อำเภอไพรบึง มีประชากรส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 80 ประกอบอาชีพการเกษตร โดยอาศัยน้ำฝนตามธรรมชาติเป็นหลัก มีการเพาะปลูกพืชผัก ผลไม้ และทำการเลี้ยงสัตว์ หลังเสร็จสิ้นฤดูกาลเก็บเกี่ยว และประชาชนส่วนหนึ่งจะเดินทางไปทำงานตามเมืองใหญ่ๆหรือในกรุงเทพมหานคร เพื่อหารายได้มาจุนเจือครอบครัว ปัจจุบันทางราชการ โดยส่วนราชการต่าง ๆและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้สนับสนุนและส่งเสริมอาชีพให้กับประชาชนมีงานทำ และสร้างรายได้ให้กับครอบครัวมากยิ่งขึ้น เช่น สนับสนุนการจัดตั้งกลุ่มอาชีพต่างๆ การส่งเสริมทำนานอกฤดู (นาปรัง) ในบริเวณพื้นที่ที่มีแหล่งน้ำเพียงพอ นอกจากนั้นยังมีอาชีพเสริม คือ การขายลอตเตอรี่ การทอผ้าลายอัตลักษณ์ของอำเภอไพรบึง (ลายนกเป็ดน้ำ) เป็นต้น
นายอำเภอไพรบึง กล่าวในตอนท้ายว่า อำเภอไพรบึง มีชุมชนวัฒนธรรม 4 ชนเผ่า (เขมร ลาว ส่วย เยอ) ที่มีรูปแบบขนบธรรมเนียมศิลปะจารีตที่แตกต่างกัน ดังนั้น เพื่อเป็นการเผยแพร่สืบสาน อนุรักษ์ประเพณี ส่งเสริมให้เกษตรกรสร้างผลผลิก โดยอาศัยแนวทางการตลาด ทำการผลิต กระตุ้นให้เกิดระบบการผลิต การตลาดไหวเวียนอย่างครบวงจรเกิดการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ผลผลิต ผลิตภัณฑ์ของอำเภอไพรบึง กระตุ้นเศรษฐกิจในชุมชนและดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลที่ให้ความสำคัญเรื่อง Soft Power เพื่อยกระดับและพัฒนาความรู้ ความสามารถ และความคิดสร้างสรรค์ของชาวอำเภอไพรบึง ให้มีมูลค่าและสร้างรายได้ รวมทั้งการอนุรักษ์ฟื้นฟู และพัฒนาต่อยอดศิลปะ วัฒนธรรม และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อนำมาต่อยอดในการสร้างมูลค่าเพิ่มต่อไป
บุญทัน ธุศรีวรรณ รายงาน