พ.ต.ท.สมเกียรติ บัวนิล สารวัตรใหญ่ สภ.หัวโทน ต.หัวโทน อ.สุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด เปิดเผยต่อ ผู้สื่อข่าวร้อยเอ็ดว่า ตนได้ย้ายมาที่สภ.หัวโทน และเห็นว่ามีกลุ่มเสี่ยงต่อยาเสพติดมาก จึงคิดหาวิธีที่จะช่วยแก้ไขปัญหาผู้ติดยาเสพติดให้ลดลง คืนคนดีแก่สังคม ได้มีโอกาสเสนอไอเดีย หัวโทนโมเดล ขอความช่วยเหลือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้ง ตำรวจ ปกครอง สาธารณสุข รพ.อ. รพ.สต.สถานศึกษา อสม. ท้องที่ ท้องถิ่น ผู้ปกครอง องค์กร กู้ภัย และประชาชนที่ปรารถนาดี ให้การช่วยเหลือ โดยตั้งกลุ่มไลน์ เพื่อประสานงานดูแลผู้ติดยาเสพติดร่วมกัน ไม่ให้มีการคลุ้มคลั่ง อาละวาท ก่ออาชญากรรม แก่ผู้ใกล้เคียง หากผู้ติดยาเสพติดมีอาการคลุ้มคลั่ง จิตเวช ให้ผู้ปกครองรายงาน ผู้ที่เกี่ยวของ ส่งเข้าห้องไลน์ ซึ่ง จนท.ตำรวจจะเฝ้าติดตามตลอด และทางจนท.ตำรวจ จะได้ส่งเวรออกดูสถานการณ์ประสานงานผู้เกี่ยวข้องช่วยเหลือ ให้ได้รับการบำบัด หรือนำส่งโรงพยาบาล จนสามารถควบคุมไม่ให้ผู้ติดยาเสพติดก่อเหตุ สามารถทำงานช่วยเหลือครอบครัวได้เป็นปกติ จนมีผู้ปกครองนำบุตรหลานเข้าโครงการนี้เป็นจำนวนมาก ผลสำเร็จในการดูแลผู้เสพยาเสพติด จนเป็น “หัวโทนโมเดล” ทั้งทาง ตำรวจแห่งชาติ นายกรัฐมนตรี ได้นำไปเผยแพร่ เพื่อแก้ปัญหายาเสพติดให้คนป่วยอยู่ในสังคมได้ และจากการปฏิบัติหน้าที่ของ พ.ต.ท.สมเกียรติ บัวนิล สารวัตรใหญ่ สภ.หัวโทน และคณะ ได้ปฏิบัติหน้าอย่างต่อเนื่องมาร่วม 3 ปี พบเห็นปัญหา จึงสะท้อนออกมาให้สังคมได้ทราบมากมาย
นายชิณพรรณ พรมสอน อายุ 34 ปี 65 ม.9 บ้านหัวโทน ต.หัวโทน อ.สุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด ผู้ป่วยจิตเวชกลุ่มสีแดง เกิดจากเสพยาบ้ามานาน (ในโครงการหัวโทนโมเดล) เคยก่อเหตุเดือนเดียวถึง 7 ครั้ง (ตัวตึงสุด) ตอนนี้อาการดีขึ้นมาก ไปรับยาเองได้โดยขับขี่รถ จยย.ไปรับเองที่ รพ.สุวรรณภูมิ กินยาเป็นประจำ เช้าเย็น ร่างกายแข็งแรงอ้วนท้วนสมบูรณ์ เป็นตัวอย่างให้แก่ผู้ป่วยจิตเวชฯคนอื่นๆ พ.ต.ท.สมเกียรติ บัวนิล สวญ.สภ.หัวโทน ได้สอบถามอาการและให้กำลังใจ เป็นแบบอย่างที่ดี เพราะในสังคมมนุษย์ประกอบไปด้วย คนจน คนรวย คนดี คนไม่ดี คนพิการ คนจิตเวช คนแก่ เด็ก และคนอื่นๆที่ด้อยโอกาสอีกมากมาย ที่เราต้องอยู่ร่วมกันให้ได้ (เรียกว่าสังคม) นี่คือโลกแห่งความเป็นจริง
ปัญหาผู้ป่วยจิตเวชฯ
ความยากลำบากในการนำตัวผู้ป่วยจิตเวชไปบำบัดรักษา ถ้าพื้นที่ไหนไม่มีหัวโทนโมเดล(กลุ่มเฝ้าระวังความเสี่ยงผู้ป่วยจิตเวชในระบบออนไลน์) จะเป็นเช่นนี้ และจะเกิดขึ้นอีกในอีกหลายพื้นที่ ตำรวจ ปกครอง ประชาชน คนในครอบครัวก็รับความเสี่ยงไป หัวโทนโมเดล ไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุด เปรียบเสมือนเป็นแค่ยาสามัญประจำบ้าน ที่ทุกบ้านจำเป็นต้องมี สามารถนำมาใช้ได้ทันทีเพื่อลดอาการของผู้ป่วยก่อนที่จะส่งถึงมือแพทย์ หัวโทนโมเดล เรียกว่าลดความรุนแรง จากกลุ่มสีแดง ลดเป็นสีเหลือง สีเขียว ถ้าเราช่วยกันค้นหาผู้ป่วยจิตเวชในเขตพื้นที่รับผิดชอบ โดยเฉพาะกลุ่มสีแดง มีทีมผู้พิทักษ์ 1 ทีม/1 ผู้ป่วย มีการรายงานทางไลน์จากทีมผู้พิทักษ์ถึงอาการของผู้ป่วย เช่น ไม่กินยา บ่นคนเดียว ก้าวร้าว ให้ทราบอยู่เป็นประจำ มีทีมผู้พิทักษ์ระดับตำบล อำเภอ และทีมทั้งหมด หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ เราอยู่ในกลุ่มเดียวกัน ทีมเดียวกัน เป้าหมายเดียวกัน งานก็จะมีประสิทธิภาพ ถ้าผู้ป่วยคนใดแค่ไม่กินยา(วันเดียว)เมื่อได้รับแจ้ง ทีมจะช่วยกันทันที ก่อนที่จะก้าวร้าวหรืออาละวาทฯนอกจากนั้นการให้ข้อมูลเบาะแสผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดในชุมชนแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจหรือฝ่ายปกครอง ก็ต้องกล้าให้ข้อมูลเพื่อจะได้ทำลายโครงสร้าง ตัดวงจร จับกุม ไปพร้อมกัน
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่เราทุกคนสามารถจะทำได้ ด้วยความร่วมมือจากทุกฝ่าย แต่ไม่ได้หมายความว่าเรามีหัวโทนโมเดลแล้ว จะไม่มีจิตเวชคุ้มคลั่ง มีโอกาสเกิดขึ้นเช่นเดียวกันแต่โอกาสเกิดขึ้นน้อยลง ยกตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม เราไม่เคยได้ไประงับเหตุผู้ป่วยจิตเวชจากยาเสพติดถึงอาละวาทคลุ้มคลั่ง และต้องนอน รพ.สุวรรณภูมิ มาต่อเนื่องเกือบปีแล้ว อย่างมากก็ไปตรวจเยี่ยม กำกับการกินยา ฉีดยา ที่บ้าน หรือได้รับแจ้งจากผู้ปกครองผู้ป่วย อสม หรือทีมฯแจ้งว่าผู้ป่วยไม่กินยา เราก็รีบส่งสายตรวจไปกำกับการกินยา และรายงานทีมตำบล อำเภอ ลงตรวจเยี่ยมเพื่อประเมินอาการอีกครั้งหนึ่ง (หัวโทนโมเดล จึงเกิดจากความร่วมไม้ร่วมมือของทีมผู้พิทักษ์ และชุมชนช่วยกัน โดยไม่ต้องใช้งบประมาณของทางราชการแม้แต่บาทเดียว โครงการที่มาต่อยอดหัวโทนโมเดล คือ โครงการชุมชนยั่ง คือ โครงการเด็ดปีกนักค้า คือ โครงการโรงเรียนสีขาว ชึ่ง สภ.หัวโทน ได้ดำเนินการอยู่ทุกมิติ เพียงแต่ต้องมีงบประมาณสนับสนุน
สมนึก บุญศรี รายงาน