9 พฤษภาคม 2567 ที่วัดพระธาตุจังเกา ตำบลโนนปูน อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ นายอนุพงศ์ สุขสมนิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เป็นประธานฝ่ายฆารวาส นำหัวหน้าส่วนราชการ ชาวบ้าน ร่วมพิธีไหว้พระธาตุจังเกา โดยมี นายชัยยงค์ เมธาสุรวิทย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ นายฉลาด ชิดชม นายอำเภอไพรบึง นำพุทธศาสนิกชนชาวอำเภอไพรบึงร่วมในพิธี และได้รับความเมตตาจากพระครูสีลสาราภินันท์ เตชสีโล เจ้าวาสวัดหนองค้า รองเจ้าคณะอำเภอพยุห์ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และนำคณะสงฆ์ประกอบพิธีด้วย ภายในงานมีการแสดงวัฒนธรรมของชนเผ่า 4 เผ่าไทย คือ ชนเผ่าเขมร ชนเผ่ากวย หรือ ส่วย ชนเผ่าลาว และชนเผ่าเยอ โดยมีการแสดงขอชนเผ่าหนึ่งที่สร้างความสนุก พร้อมรอยยิ้มให้กับคนดูเป็นอย่ามาก คือ การแสดงลำแห่บั้งไฟ ของชนเผ่าลาว ซึ่งการแสดงดังกล่าวจะมีจุดหนึ่งที่หลายคนมองแล้วต้องยิ้ม และหัวเราะ คือการนำไม้มาทำเป็นตุ๊กตาคน 2 คน และผูกเชือก โดยชาวบ้านเรียกว่า ตัวตะล็อกป๊อกแปก หรือเรียกอีกอย่าหนึ่งว่า กองเชียร์พระยาคางคก หรือตัวสัปดน ซึ่งเป็นการละเล่น หรือเป็นเครื่องบูชาพญาแถน ในการแห่บุญบั้งไฟของชาวอีสาน โดยถือว่าเป็นตัวตลกที่สร้างสีสัน สร้างเสียงหัวเราะให้กับทุกคนที่ได้เห็นอีกด้วย ทั้งนี้เพื่อเป็นการสืบสานประเพณีอันดีงามของคนในท่องถิ่น และเพื่อร่วมสืบทอดอนุลักษณ์โปราณสถานเก่าแก่ที่มีการขึ้นทะเบียนกับกรมศิลปากร และเป็นที่เคารพ ศรัทธาของชาวบ้านอำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ
นายฉลาด ชิดชม นายอำเภอไพรบึง เปิดเผย่วา พิธีไหว้พระธาตุจังเกา ถือเป็นประเพณีที่ชาวบ้านในตำบลโนนปูน ร่วมชาวบ้านใกล้เคียง ได้ยึดถือสืบต่อกันมา และเป็นพระธาตุที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ศูนย์กลางชนแดน 4 อำเภอ คือ วังหิน พยุห์ ไพรบึง และขุขันธ์ ซึ่งพระธาตุจังเกา เดิมเป็นพระธาตุที่ก่อด้วยอิฐทั้งองค์ จากการบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ในสมัยที่พระธาตุจังเกา ยังมีสภาพสวยงามลักษณะคล้ายพระธาตุพนม แต่ส่วนยอดจะกลมที่ยอดพระธาตุจะมีฉัตรสำริดหลายชั้นและ มีกระดิ่งโลหะ เมื่อมีลมพัดจะมีเสียงดังกังวาน ในทุกวันพระจะมีแสงลอยออกจากยอดพระธาตุ ชาวบ้านจึงเคารพ นับถือและมากราบไหว้ สักการะบูชา ต่อมามีพวกกุลาเอาปืนมายิงกระดิ่งที่แขวนอยู่ฐานฉัตรบนยอดพระธาตุแล้วเอา กระดิ่งไป ในเวลาต่อมาพระธาตุได้ ล้มลงมาในช่วงเวลาใกล้เคียงกับพระธาตุพนม จังหวัดนครพนม ล้มลง ชาวบ้านที่เคยไปเคารพกราบไหว้ต่างรู้สึกเสียดายและ ได้ช่วยกันรวบรวมและนำชิ้นส่วนที่สำคัญมาเก็บไว้ สันนิษฐานว่าพระธาตุจังเกาอาจสร้างขึ้นเป็นที่บรรจุอัฐิของผู้ปกครองในสมัยโบราณ หรือบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งอายุของปราสาท พระธาตุจังเกา มีลักษณะศิลปะการก่อสร้างที่ก่อสร้างด้วยอิฐทั้งองค์ อาจสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 17 หรือ ประมาณ 800-900 ปี
ทั้งนี้หลังพิธีไหว้สัการะพนะธาตุจังเกา ชาวบ้านในพื้นที่ที่เคารพศรัทธา ต่างพากันไปกราบไหว้สักการะพระพุทธรูปขอให้ฟ้าฝนตกต้องตามฤดูกาล ไม่ให้มีพายุพัดบ้านเรือน และกราบไหว้พระธาตุจุดธูปเลข ขอโชคลาภ หลังมีข่าวลือว่าพระธาตุจังเกาแห่งนี้คือให้โชคลาภกับชาวบ้านถูกมาแล้ว 3 งวดติด ซึ่งธูปที่จุดได้ก็คือ 658 บ้างคนมองเป็น 058 ก็มี แล้วแต่มุมมอง ตามความเชื่อของแต่ละคน
บุญทัน ธุศรีวรรณ รายงาน