27 เมษายน 67 นายทวี แพใหญ่ นายกสมาคมประมงจังหวัดพังงา พร้อม นายโดม จันทร์สุวรรณ์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน นางสาวเฉลิมศรี แพใหญ่ นายกเทศมนตรีตำบลลำแก่น และผู้นำท้องถิ่นได้ร่วมประชุมกับชาวบ้าน ที่ประกอบอาชีพการทำประมงพื้นบ้าน การทำประมงอวนลาก และผู้ประกอบการเรือทัวร์ท่องเที่ยวในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลันอำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา เพื่อประชุมทำความเข้าใจกับชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ในการแบ่งเขตการปกครองการดูแลอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวลำดับ 2 ของประเทศ ที่มีรายได้จากการท่องเที่ยวในแต่ละปีหลายล้านบาท
โดยชาวบ้านส่วนใหญ่ต้องการให้การดูแลอยู่ในเขตปกครองท้องถิ่นเพื่อนำรายได้ที่ทางอุทยานคืนกลับสู่ท้องถิ่นมาพัฒนาในตำบลที่ตั้งอยู่ในเขตที่ทำการอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลันและเป็นท่าเรือที่นักท่องเที่ยวใช้ในการลงเรือไปยังอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน นอกจากนี้เกาะตาชัย อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัยให้ทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตำบลเกาะหัวเขาอำเภอตะกั่วป่า และอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตำบลเกาะพระทอง ทั้งนี้ เพื่อเป็นการง่ายในการดำเนินงานต่างๆไม่ว่าจะติดต่อราชการหรือการเดินทางเข้าไปท่องเที่ยวที่จะสะดวกกับประชาชนและนักท่องเที่ยวได้ดีกว่า
นายทวี แพใหญ่ นายกสมาคมประมงจังหวัดพังงา กล่าวว่า ได้ร่วมประชุมกับชาวบ้านและผู้ประกอบการเรือประมงพื้นบ้านเรือประมงพาณิชย์และเรือทัวร์ท่องเที่ยวในการหาแนวทางเรื่องการแบ่งเขตการปกครองของเกาะแต่ละเกาะซึ่งที่ผ่านมานั้นชาวบ้านผู้ประกอบการไม่รู้ว่ากฎหมายของเกาะสิมิลันขึ้นอยู่กับอำเภอคุระบุรีซึ่งอยู่ห่างไกลประมาณ 70 ไมล์ทะเลแต่ถ้าออกจากท่าเรือทับละมุ ตำบลลำแก่น อำเภอท้ายเหมือง ประมาณ 34 ไมล์ทะเลซึ่งมีความห่างกันเยอะจึงน่าจะต้องให้ขึ้นกับอำเภอท้ายเหมืองเพราะจะให้ในการเดินทางของเจ้าหน้าที่และผู้ประกอบการต่างๆและเกาะตาชัยก็สมควรให้ขึ้นกับอำเภอตะกั่วป่า เลยอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ก็ให้ขึ้นกับอำเภอคุระบุรี ส่วนอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะฟินแลนด์ก็ขึ้นกับอำเภอท้ายเหมือง เพื่อเป็นการร่อนระยะการเดินทางไม่ว่าจะมีเหตุการณ์อุบัติเหตุนักท่องเที่ยวเพราะจะง่ายต่อการเดินทางของชาวบ้านและผู้ประกอบการในการติดต่อทำธุระเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับชาวบ้านและผู้ประกอบการและนักท่องเที่ยวทั่วไป
ด้าน นายณัฐกิตติ์ ล้อวิชช์วรวัชร ผู้ประกอบการเรือทัวร์ท่องเที่ยว กล่าวว่า ในฐานะตัวเองเป็นผู้ประกอบการท่องเที่ยวในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลันยาวนานประมาณ 16 ปีตนเองก็มีความเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งในการเป็นกิจการปกครองเพราะตนเองเป็นผู้ประกอบการท่องเที่ยวที่อยู่ในพื้นที่ตำบลลำแก่น อำเภอท้ายเหมือง ซึ่งเป็นท่าเรือที่นักท่องเที่ยวเดินทางลงอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลันจึงต้องการให้มีการแบ่งรายได้ที่ได้จากอุทยานได้มาถึงชุมชนหรือตำบลลำแก่นจริงๆ ซึ่งถ้ารายได้ตกลงมาในท้องถิ่นหรือตำบลลำแก่นในการนำรายได้มาจัดเก็บเรื่องปัญหาขยะเพราะปัญหาขยะเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่มีเยอะตามจำนวนนักท่องเที่ยวถ้ารายได้ไปตกอยู่ที่อื่นในส่วนท้องถิ่นที่เป็นที่รองรับก็จะทำให้การจัดการปัญหาเป็นไปไม่ได้ตามที่คาดหวัง โดยนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่จะเดินทางไปยังอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลันจะต้องเดินทางมาที่ท่าเรือตำบลลำแก่น อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา ซึ่งเป็นท่าเรือหลักซึ่งขึ้นตรงกับตำบลลำแก่นที่เป็นนักท่องเที่ยว 90% เป็นท่าเรือที่ใกล้กับเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลันมากที่สุด ซึ่งในขณะนี้ปัญหาขยะที่เกิดจากการท่องเที่ยวในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน จะนำขยะจากเกาะสิมิลันขึ้นกลับมาทิ้งที่ตำบลลำแก่น ด้วยเรือทัวร์ท่องเที่ยวและเมื่อมีเหตุฉุกเฉินหรืออุบัติเหตุต่างๆนักท่องเที่ยวจะถูกนำมาส่งยังท่าเรือทับละมุ ตำบลลำแก่นและเมื่อมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลันไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแจ้งความดำเนินคดีเรื่องต่างๆจะต้องเดินทางไปยังอีกอำเภอคืออำเภอคุระบุรีซึ่งมีระยะทางไกลมากซึ่งจะทำให้ไม่ได้รับความสะดวกแก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวแต่ถ้าย้ายหรือแบ่งเขตการปกครองแล้วอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลันมาขึ้นกับตำบลลำแก่นก็จะช่วยอำนวยความสะดวกและลดระยะเวลาการเดินทางของประชาชนและนักท่องเที่ยวที่จะติดต่อราชการ