ปราจีนบุรี – ข่าว – ดึกหนาวนี้อาสาสมัครผลักดันช้างป่า 2ตำบล ผลักดันโขลงช้างกว่า100ตัว(+) ให้กลับคืนแปดริ้วตลอดคืน พบยิ่งหนาว –แล้ง ช้างยิ่งยกโขลงบุกกองทัพข้ามฝั่งมาหากินไกลข้ามฟากแปดริ้วมา ถึงปราจีนฯ พร้อมมีแนวโน้มอพยพข้ามเข้ามาอยู่อาศัยยาว ไม่ขอกลับคืนถิ่นที่อยู่เดิม
เมื่อเวลา 0.50 น.วันนี้ 30 พ.ย.66 ผู้สื่อข่าว จ.ปราจีนบุรีรายงานว่า พบมีการโพสต์ในเฟสบุ๊คโดยผู้ใช้ชื่อนายธนเกียรติ ไชยราษฎร อาสาสมัครผลักดันช้างป่า ต.วังท่าช้าง อ.กบินทร์บุรี ได้ระบุข้อความว่า … ขอความร่วมมือ จาก อาสาสมัคร จิตอาสา ผู้นำท้องที่ท้องถิ่น ประจำพื้นที่ตัวเอง เพื่อบล็อคช้างป่าจากเกาะป่าสะเดา หมู่ที่ 11 ที่จะถูกผลักดันเข้าป่าอ่างฤาใน จะผ่าน ม.4 กลุ่มบ้านโคกไม้แดง หมู่ 14 กลุ่ม เขามะก่อง หมู่17 กลุ่มเขาลาย-คลองตัน เข้าป่าบะกระสอบ โดยเจ้าหน้าที่อนุรักษ์ฯ เย็นนี้คับ 70+ …
ผู้สื่อข่าวได้สอบถามข้อมูลเบื้อง ต้น และ จากนั้นลงพื้นที่ ทราบต่อมาจากนายธนเกียรติ ว่า ป่าสะเดา เป็นพื้นที่ ที่โขลงช้างป่าจากเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าเขาฤาไน จ.ฉะเชิงเทรา (ในพื้นที่ป่าราบต่ำผืนสุดท้ายของไทยในป่ารอยต่อ 5 จังหวัดภาคตะวันออก จ.ฉะเชิงเทรา ,จะสระแก้ว,จ.จันทบุรี,จ.ระยอง และ จ.ชลบุรี) มากกว่า 70 ตัว(+) พากันยกโขลงข้ามฝั่งจาก จ.ฉะเชิงเทรา ข้ามฟากเข้ามาหากิน และพักอาศัยในป่าสะเดาเป็นถิ่นที่อยู่ เนื่องจากมีเนื้อที่มากเกินกว่า 200 ไร่เศษ
เดิมพื้นที่แห่งนี้ เป็นพื้นที่สัมปทานของกรมป่าไม้ที่ทางสวนป่ากิตติเช่าสัมปทาน อยู่ในเขตรอยต่อหลายหมู่บ้านของ 2 ตำบล ระหว่าง หมู่ บ้านวังกวาง หมู่ 14 ,หมู่ 8 ,หมู่ 11 , หมู่ 9 , หมู่ 6 ต.วังท่าช้าง กับ พื้นที่หมู่ 11 ,หมู่ 4 ,หมู่ 14 ต.เขาไม้แก้ว อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี
โดยช่วงหน้าแล้ง-ช่วงหนาวนี้โขลงช้างป่าจะยกโขลงแรกมาก่อนพวกชุดสเก๊าหน้า โขลงแรกกว่า 10ตัว (บวก) ข้ามฝั่งจาก จ.ฉะเชิงเทราเข้ามาหากินก่อน เหมือนเป็นการสำรวจพื้นที่แหล่งหากิน ที่อยู่ แหล่งน้ำ หลังจากพื้นที่เกษตรนาข้าว ,ไร่มันสำปะหลัง ,ไร่อ้อยพื้นที่ จ.ฉะเชิงเทรา เก็บเกี่ยวเกือบหมดแล้ว ต่อมาจะมีโขลงช้างชุดอื่นตามกันมา มามากกว่าชุดแรก มากกว่า 0 ตัว(+) หรือ 100 ตัว(+)
โดยพื้นที่ของ ต.วังท่าช้าง,ต.เขาไม้แก้ว อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี มีแหล่งอาหาร แหล่งน้ำ และที่อยู่สมบูรณ์กว่า และเมื่อข้ามฝั่งจังหวัดมาหากินที่ปราจีนบุรีแล้ว ไม่ยอมยกโขลงกลับ กลับพากันยกโขลงอพยพเข้ามาเพิ่มมากกว่า 70 ตัว(+) ในช่วงกลางวันจะพากันแยกโขลงออกไปหากิน โขลงละ10 ตัว ,20 ตัว 30ตัว ,50 ตัวตามแหล่งอาหาร และ กลับมารวมโขลงที่ป่าสะเดาในหัวค่ำไม่ยอมกลับคืนผืนป่าถิ่นเดิมเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน แปดริ้ว หรือ จ.ฉะเชิงเทรา แต่ ภายหลัง จากการใช้โดรนบินสำรวจพบประชากรช้างป่าที่ยกโขลงมานั้น มีจำนวน มากกว่าประมาณ 100 ตัว(+)
ในตลอดคืน 29พ.ย.66 ยาวต่อเนื่องข้ามวัน จรดดึก 30 พ.ย.66 จึง ร่วมบูรณาการ ในทุกภาคส่วน ทั้ง ชุดอาสาสมัครเฝ้าระวังผลักดันช้างป่า ต.วังท่าช้าง , ต.เขาไม้แก้ว , ผู้นำท้องถิ่น ,กำนัน – ผู้ใหญ่บ้าน , สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล (ส.อบต. )ทั้ง 2 ตำบล ต.วังท่าช้าง และ ต.เขาไม้แก้ว อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี พร้อมเจ้าหน้าที่ป่าไม้ชุดผลักดันช้างป่าจากนำโดยนายธวัชชัย ช้างสาร หน.ชุดผลักดันช้างป่าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน และ กำลังเกือบ 100 คน พร้อมอุปกรณ์ อาทิ รถกระบะยกสูง(โฟล์วิล) , รถไถเพื่อการเกษตร , อุปกรณ์ยิงไล่ช้าง ปืนดัดแปลงยิงปะทัดไล่ช้าง ,การเดินเท้าพร้อมอุปกรณ์ส่องสว่าง ทำการผลักดันให้โขลงช้างป่ากว่า 100 ตัว(+) ผลักดันกลับคืนถิ่นผืนป่า ป่าบะกระสอบ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน จ.ฉะเชิงเทราต่อไป
ทั้งนี้ตลอดช่วงทำการผลักดันนี้ นายเผด็จ ลายทอง ผู้อำนวยการสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่าได้รับรู้และประสานงานกับทางหัวหน้าชุดผลักดันช้างป่าของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตลอด ” นายธนเกียรติ กล่าว
ต่อมาเวลา 01.40 น. วันนี้ 30 พ.ย.66 แม้กลางดึกหนาว ๆ ที่หมู่บ้านวังกวาง พื้นที่ ที่ช้างเข้า “ป่าสะเดา” หมู่ 11, หมู่ 4 ต.วังท่าช้าง อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี ตั้งแต่หัวค่ำยาวจรดดึก พบ อาสาสมัครชุดเฝ้าระวังผลักดันช้างป่า –เจ้าหน้าที่ พร้อมด้วยชาวบ้านรวมมากกว่าจำนวน 60 คน พร้อมผู้ร่วมผลักดันและ แกนนำ อาทิ นายใหญ่กิติชัย ลาทอง ผู้ใหญ่หมู่ 8 ตำบลเขาไม้แก้ว อำเภอกบินทร์บุรี , นายแอ๊ด ตะเภาพงษ์ ชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากช้างป่า ได้นำรถไถมาช่วยผลักดันช้างป่า และ ในส่วนพื้นที่อื่น ๆที่ต่อเนื่องกันไป ในแต่ละพื้นที่ ได้มีการวางกำลังอาสาสมัคร และชุดผลักดันไว้ตามลำดับ โดยการประสานผ่านทางเครือข่ายการสื่อสาร และ ใช้โดรนบินสำรวจช่วยติดตามตลอดเส้นทางที่ผลักดันช้างผ่านกลับคืน คือ บ้านวังกวาง,บ้านวังมะกรูด,บ้านโคกไม้แดง
นายแอ๊ด ตะเภาพงษ์ ชาวบ้าน ต.วังท่าช้างผู้ได้รับผลกระทบจากช้างป่า ได้นำรถไถเพื่อการเกษตรมาช่วยทำการผลักดันช้างป่า กล่าวว่า “โขลงช้างป่า เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน จ.ฉะเชิงเทรา ที่ข้ามฝั่งเข้ามาหากิน มารวมกันวันนี้( 30 พ.ย.) มากกว่า 80ตัว (+) ตนเองผลผลิตทางการเกษตร ทำไร่อ้อย และ นาข้าว ได้รับความเสียหายมากกว่า 1ล้านบาท
โดยผลผลิตไร่อ้อยที่ปลูกถูกช้างทำลายไปกว่า 1 พันตันเศษ โดยโขลงช้างป่า ยกโขลงมากันรวม 3 -4 รอบ ไร่อ้อยเสียหายหมดไปกว่า 50 -60 ไร่ ส่วนนาข้าว ยังไม่แก่จัด ก็ต้องรีบเก็บเกี่ยวผลผลิต เพราะหากไม่เกี่ยวก่อนช้างจะยกโขลงมากินหมดก่อน “
“อยากให้หน่วยงานภาครัฐบาล นำช้างป่ากลับคืนสู่ผืนป่าเขตรักษาพันธุ์อ่างฤาไน จ.ฉะเชิงเทรา (ในพื้นที่ป่าราบต่ำผืนสุดท้ายของไทยในป่ารอยต่อ 5 จังหวัดภาคตะวันออก จ.ฉะเชิงเทรา ,จะสระแก้ว,จ.จันทบุรี,จ.ระยอง และ จ.ชลบุรี)ถิ่นที่อยู่เดิม ซ่อมแซมทำคูกันช้าง – รั้วกั้นช้าง ให้กลับคืนอยู่ในสภาพดี
และ ในปีนี้ ที่เริ่มสู่หน้าหนาว หน่วยงานต่าง ๆ ยังไม่ได้ลงมาดูแลประชาชนในพื้นที่เลย ชาวบ้าน และ ชุดอาสาสมัคร จะพากันเฝ้าระวัง ในความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินกัน มีงบประมาณมาช่วยเหลือกับกลุ่มบ้าง กลุ่มละ 50,000 บาท แต่ไม่เพียงพอส่วนใหญ่จะเป็นจิตอาสา” นายแอ๊ดกล่าว
ด้าน นายใหญ่กิติชัย ลาทอง ผู้ใหญ่หมู่ 8 ตำบลเขาไม้แก้ว อำเภอกบินทร์บุรี้ กล่าวว่า ตำบลเขาไม้แก้ว ร่วมกับ ตำบลวังท่าช้าง ได้ช่วยกันผลักดันโขลงช้างป่า ทั้งการเดินเท้า,ใช้โดรนจับความร้อนบินควบคู่ พร้อมกับเจ้าหน้าที่ชุดผลักดันช้างป่าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน ทำการผลักดันให้โขลงช้างป่า มากเกินกว่า80 ตัว(+) กลับคืนถิ่นเดิมสู่ผืนป่าเขาอ่างฤาไน จ.ฉะเชิงเทรา
และผล จากการผลักดันในช่วงค่ำวันที่29 พ.ย.66 ต่อเนื่องจรดถึงดึก 30 พ.ย.66 นี้ ส่งผลให้โขลงช้างป่า แตกฝูงออกไป เป็นหลายโขลง ๆ ละ 20 ตัว ,30 ตัว 50 ตัว บ้าง ทำให้ยากแก่การติดตาม นอกจากนี้ ยังมีบางโขลงมีช้างป่าตกมัน รวมอยู่ด้วยจึงยากแก่การติดตามผลักดัน
และจากที่โขลงช้างป่า จำนวนมากพากันข้ามฝั่งจังหวัดมาหากิน แหล่งที่อยู่ใหม่ที่ ต.วังท่าช้าง ,ต.เขาไม่แก้ว อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นสูงขึ้นต่อเนื่อง และเกรงเป็นสัตว์ประจำถิ่น ส่งผลให้เกิดความเสียหายกับผลผลิตเกษตรกร ทั้ง มันสำปะหลัง,ไร่อ้อย,นาข้าวที่เก็บเกี่ยว ฯลฯ สิ่งที่อยากให้รัฐบาลช่วยเร่งด่วนตอนนี้ คือการเยียวยาความเสียหายกับเกษตรกร” นายใหญ่กิติชัยกล่าวในที่สุด