วันที่ 21 พ.ย.66 นายมาโนช หนองใหญ่ รองนายกเมืองพัทยาเป็นประธาน เปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็น ของประชาชนครั้งที่ 1 (ปฐมนิเทศ) โครงการศึกษาความเหมาะสม ออกแบบ และศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม การพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะเมืองพัทยาในรูปแบบรถไฟฟ้า ระยะที่ 2 เมืองพัทยา ตำบลนาเกลือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี โดยมี ผู้บริหารผู้แทนหน่วยงาน ภาครัฐ ภาคเอกชนระดับจังหวัด อำเภอ ศาสนสถาน สถานศึกษา สถานพยาบาล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชนเมืองพัทยา ผู้ประกอบการ องค์กรอิสระและประชาชนผู้สนใจเข้าร่วมประชุม ประมาณ 200 คน ที่ห้องประชุมโรงแรมไบรท์ตันแกรนด์พัทยา จ.ชลบุรี
การประชุมดังกล่าวจัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประชาสัมพันธ์และชี้แจง แผนงานแนวทางการศึกษาการพัฒนาระบบชนส่งสาธารณะเมืองพัทยา ในรูปแบบรถไฟฟ้าระยะที่ 2 วัตถุประสงค์ของโครงการ มี 4 ข้อ 1.เพื่อศึกษาความเหมาะสมและออกแบบกรอบรายละเอียด (Definitive Design) ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง (หนองปรือ-แยกทัพพระยา) และโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง(วงเวียนโลมา-แยกทัพพระยา-สนามกีฬา) หรือระบบขนส่งสาธารณะรูปแบบอื่นๆ ที่เหมาะสม
2.เพื่อศึกษาระบบขนส่งสาธารณะเสริม (Feeder Route) ซึ่งเชื่อมโยงกับระบบขนส่งสาธารณะหลัก ตามแผนพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะเมืองพัทยา 3.เพื่อศึกษาจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment : ELA) และดำเนินการมีส่วนร่วมของประชาชน โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง (หนองปรือ-แยกทัพพระยา) และโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง (วงเวียนโลมา-แยกทัพพระยา-สนามกีฬา) หรือระบบขนส่งสาธารณะรูปแบบอื่น ๆ ที่เหมาะสม
และ 4.เพื่อศึกษาจัดทำรายงานผลการศึกษาและวิเคราะห์โครงการตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โครงการรถไฟฟ้สายสีม่วง (หนองปรือ-แยกทัพพระยา) และโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง (วงเวียนโลมา-แยกทัพพระยา-สนามกีฬา) หรือระบบขนส่งสาธารณะรูปแบบอื่นๆ ที่เหมาะสม โดยเมืองพัทยาได้เปิดรับฟังความคิดเห็น จากทุกภาคส่วนอย่างกว้างขวาง และได้แสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ที่เป็นประโยซน์ ต่อการพัฒนาโครงการ ทั้งในส่วนของทั้งสองเส้นทางคือสายสีแดงและสายสีม่วง
ซึ่งหลังจากนี้จะได้จัดประชุมกลุ่มย่อย ครั้งที่ 1 เพื่อนำเสนอแนวเส้นทางเลือก และรูปแบบทางเลือกของโครงการและหลักเกณฑ์การคัดเลือกรับฟังความเห็น ข้อเสนอแนะและความต้องการของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อแนวเส้นทางเลือกและรูปแบบทางเลือกของโครงการ และนำไปประกอบการพิจารณาคัดเลือกแนวเส้นทางเลือกและรูปแบบที่เหมาะสมตามลำดับการดำเนินการของโครงการดังกล่าวต่อไป