เมื่อวันที่ 1 กับยายบ 2566 ที่วัดสำโรง บ้านสำโรง หมู่ 3 ตำบลพรหมสวัสดิ์ อำเภอพยุห์ จังหวัดศรีสะเกษ พระเดชพระคุณพระธรรมวชิรโสภณ ประธานคณะกรรมการฯประจำหนตะวันออก เป็นประธานตรวจเยี่ยมการดำเนินงานโครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา หมู่บ้านรักษาศีล 5 ตามแผนยุทธศาสตร์ซาติ 20 ปี โดยมี พระครูสิริปริยัติการ พระครูศรีรัตนาภิรักษ์ รองเจ้าคณะจังหวัด พระครูจันทสารพิมล เจ้าคณะอำเภอพยุห์ เจ้าอาวาสวัดสำโรง และนายสำรวย เกษกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ นำหัวหน้าส่วนราชการอำเภอพยุห์ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรรมการ/สมาชิกเหล่ากาชาด สมาชิกชมรมแม่บ้านมหาดไทย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ปราชญ์ชาวบ้าน นักเรียน และประชาชนชาวอำเภอพยุห์ ร่วมในกิจกรรมการถวายการต้อนรับคณะกรรมการตรวจเยี่ยมและติดตามการดำเนินโครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา “หมู่บ้านรักษาศีล 5” ประจำหนตะวันออก ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 เพื่อพิจารณาคัดเลือกหมู่บ้านรักษาศีล 5 ต้นแบบระดับจังหวัดศรีสะเกษ วัดสำโรง หมู่ 3 ตำบลพรหมสวัสดิ์ อำเภอพยุห์ จังหวัดศรีสะเกษ ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนร่วมดำเนินกิจกรรมสนับสนุนให้เป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม เพื่อสร้างสังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน ตามแนวทางของพระพุทธศาสนาโดยให้ประชาชนดำรงตนยึดมั่นและปฏิบัติตามหลักศีล 5 ในทุกพื้นที่ของจังหวัดอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน มีนักเรียน สถานศึกษา หน่วยงานราชการ และประชาชน ร่วมกิจกรรมเข้าวัดปฏิบัติธรรมในวันธรรมสวนะ กิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา โดยใช้นำหลักธรรมเพื่อการพัฒนาองค์กรและการพัฒนาตน โดยมีวัดเป็นศูนย์กลางของชุมชน และพระสงฆ์เป็นผู้นำในการอบรมคุณธรรม จริยธรรม ให้แก่ เด็กเยาวชน และพระพุทธศาสนิกชน โดยใช้หลักการมีส่วนร่วมพลังบวร (บ้าน วัด โรงเรียน) เป็นตัวเชื่อมในการเกื้อหนุนระหว่างวัดและชุมชนให้มีความสุขอย่างยั่งยืนต่อไป
นายสำรวย เกษกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ กล่าวว่า โครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา “หมู่บ้านรักษาศีล 5” ได้มีการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนผ่านกระบวนการพัฒนาวิถีวัฒนธรรมเชิงพุทธใน 8 ด้าน ได้แก่ ด้านศีลธรรมและวัฒนธรรม สุขภาพอนามัย สัมมาชีพ สันติสุข ศึกษาสงเคราะห์ สาธารณสงเคราะห์ กตัญญูกตเวทิตาธรรม และสามัคคีธรรม โดยความร่วมมือของ คณะสงฆ์ ภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนในพื้นที่ ปัจจุบันจังหวัดศรีสะเกษ มีหมู่บ้านต้นแบบจำนวน 264 หมู่บ้าน และมีผู้ร่วมโครงการคิดเป็นร้อยละ 85 % ของประชาชนทั้งหมด นอกจากนี้จังหวัดศรีสะเกษ ยังดำเนินการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนสู่เป้าหมายการพัฒนาจังหวัด 20 ปี “เมืองน่าอยู่ พหุวัฒนธรรม เกษตรกรรมปลอดภัยก้าวหน้า กีฬาและท่องเที่ยว เชิงสร้างสรรค์ วิถีชีวิตสงบสุข เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” บูรณาการผสานการขับเคลื่อนและสร้างกลไกในการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย น้อมนำหลักการทรงงาน เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา และหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาปรับใช้เพื่อบำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้กับประชาชนครอบคลุมในทุกมิติ มีรายได้เพิ่มหลุดพ้นจากความยากจน และลดความเลื่อมล้ำ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน และมีการปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในหมู่บ้าน เพื่อให้มีความสะอาด ลดพื้นที่เสี่ยง มีการสัญจรไปมาอย่างสะดวก มีชุดรักษาความปลอดภัยในหมู่บ้าน เพื่อคอยตรวจตราดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยในหมู่บ้าน ส่งผลให้ช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาไม่พบปัญหาอาชญากรรมหรือการกระทำผิดกฎหมายในชุมชน ตลอดจนอุบัติเหตุภายในชุมชน ในการดำเนินการดังกล่าวล้วนเป็นความร่วมมือจากพลัง “บวร” ในการขับเคลื่อนพัฒนาหมู่บ้าน โดยเน้นการมีส่วนร่วม ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ในการขัดเกลาพัฒนาจิตใจของคนในชุมชน ทำให้ชาวบ้านสำโรงอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขเป็นสังคมแห่งการแบ่งปัน มีความปรองดองสมานฉันท์ เมตตาเอื้อเฟื้ออารีต่อกัน ชุมชนมีความเข้มแข็งและสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนข่าว/ภาพ …… บุญทัน ธุศรีวรรณ ศรีสะเกษ