Uncategorized

นายวิเชียร. จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา. พร้อมหน่วยงานภาครัฐ. เอกชน. และประชาชนในจังหวัดนครราชสีมา. ร่วมประชุมใหญ่เพื่อแสดงความคิดเห็นกับโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง

วันนี้. 27. สิงหาคม. 2561. นายวิเชียร. จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา. พร้อมหน่วยงานภาครัฐ. เอกชน. และประชาชนในจังหวัดนครราชสีมา. ร่วมประชุมใหญ่เพื่อแสดงความคิดเห็นกับโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง. ณ. โรงแรมสีมาธานี. เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2557 ณ กรุงเทพมหานคร รัฐบาลไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐบาล ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงการพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ.2558 – 2569 เพื่อร่วมกันพัฒนาโครงการรถไฟทางคู่ขนาดมาตรฐาน เส้นทางกรุงเทพฯ – นครราชสีมา – หนองคาย และเส้นทางแก่งคอย-ท่าเรือมาบตาพุด ระยะทางรวมประมาณ 867 กิโลเมตร ซึ่งฝ่ายรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยตกลงให้รัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนเข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่ขั้นตอนเตรียมโครงการ ศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโครงการ และดำเนินการก่อสร้างงานโยธา
ความร่วมมือข้างต้น มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การพัฒนาโครงข่ายรถไฟสอดคล้องกับแนวทางการแก้ไขปัญหาตามนโยบายของรัฐบาลไทยที่ส่งเสริมการลงทุนในโครงการที่สำคัญของประเทศ ทั้งโครงการต่อเนื่องและโครงการใหม่ที่มีความพร้อม การศึกษาโครงการระบบรถไฟทางคู่ขนาดทางมาตรฐาน 1.435 เมตร ช่วงบ้านภาชี-แก่งคอย-นครราชสีมา จึงเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางรางที่กระทรวงคมนาคมให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการขนส่งและเพิ่มศักยภาพด้านการท่องเที่ยวของประเทศ
เมื่อวันที่ 23…
เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2559 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีประเทศไทยได้หารือทวิภาคีกับนายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ณ เมืองไหหนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน ที่ประชุมสรุปการลงทุนโครงการ ฝ่ายไทยจะเป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด โดยกำหนดนโยบายเริ่มก่อสร้างเส้นทาง กรุงเทพฯ – นครราชสีมา และส่วนต่อขยายเมื่อมีความพร้อม
การประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 10 ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบให้มีการเริ่มต้นก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพฯ – นครราชสีมา เป็นลำดับแรก
ในการนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ดำเนินการจ้างและสั่งจ้างบริษัท เอ็ม เอ เอ คอนซัลแตนท์ จำกัด เป็นที่ปรึกษาเพื่อดำเนินการตรวจสอบรายละเอียดการออกแบบของฝ่ายจีน ออกแบบเพิ่มเติมในส่วนที่ฝ่ายจีนไม่ได้ดำเนินการ สำรวจรายละเอียดอสังหาริมทรัพย์เพื่อการเวนคืน และการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติม โครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ช่วงบ้านภาชี-แก่งคอย-นครราชสีมา

สำหรับการประชุมการมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นกิจกรรมที่มีความมุ่งหมายที่สำคัญเพื่อเผยแพร่ข้อมูลและการดำเนินงาน ที่ฝ่ายจีนเป็นผู้ออกแบบรายละเอียดการก่อสร้างและควบคุมการก่อสร้าง ซึ่งอาจมีความจำเป็นต้องปรับปรุงจากรูปแบบเดิมจากที่ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งการจราจร (สนข.) ได้ศึกษาและจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ – นครราชสีมา (ช่วงชุมทางบ้านภาชี – นครราชสีมา) และได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติแล้วในการประชุมครั้งที่ 4/2560 เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2560 และเพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะนำไปพิจารณาประกอบการสำรวจออกแบบรายละเอียด ตามนโยบายของรัฐบาลที่เร่งรัดให้ดำเนินการโดยเร่งด่วน รวมทั้งทำการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพื่อขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการจากที่ได้รับความเห็นชอบ และการจัดทำมาตรการป้องกันแก้ไข และบรรเทาผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่มีความรอบคอบ รัดกุม และมีประสิทธิภาพ รวมถึงการปรับรูปแบบการพัฒนาโครงการให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น ก่อนที่จะดำเนินการก่อสร้างโครงการต่อไปคค