รมช.คมนาคม ย้ำท่าเรือฯต้องมีมาตรการแก้ไขปัญหา ฝุ่น pm 2.5 และไวรัสโคโรนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการป้องกันความปลอดภัย
รมช.คมนาคม ดร.อธิรัฐ รัตนเศรษฐ ได้มอบหมายให้ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมลงพื้นที่ ติดตามการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 และการคัดกรองโรคไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ใหม่ ในพื้นที่ท่าเรือแหลมฉบังเน้น ให้ท่าเรือแหลมฉบัง ต้องมีมาตรการในการดำเนินการอย่างต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหา เพื่อรองรับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นและเพื่อเป็นป้องกันเพิ่อความปลอดภัยเพราะเป็นท่าเรือพาณิชย์ ที่มีเรือสินค้าจากต่างประเทศเข้ามามากมายรวมทั้งเรือท่องเที่ยวด้วย ซึ่งจะต้องมีการคัดกรองอย่างละเอียด
วันนี้ (4 ก.พ.) นายตติรัฐ รัตนเศรษฐ. ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมคณะเดินทางลงพื้นที่ท่ส้รือแหลมฉบัง เพื่อ
ติดตามการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 และการคัดกรองโรคไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ ในพื้นที่ท่าเรือแหลมฉบัง โดยมี นายบัณฑิต สาครวิศวะ รองผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบัง พร้อมด้วย ร้อยตำรวจเอก ธนาบดี ธูปเทียนรัตน์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบัง และผู้บริหารท่าเรือแหลมฉบังร่วมให้การต้อนรับ
โดยนายวีรชาติ พุทธรักษา ผู้อำนวยการสำนักปฏิบัติการ เป็นผู้รายงานผลการดำเนินการในการแก้ไขปัญหา
ฝุ่น PM 2.5 ในพื้นที่ท่าเรือแหลมฉบัง
นายตติรัฐ รัตนเศรษฐ ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ทางรัฐมนตรีฯ ได้รับมอบหมายให้ลงพื้นที่ตรวจติดตามการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 และการคัดกรองโรคไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ใหม่
ในพื้นที่ท่าเรือแหลมฉบัง เนื่องจาก ปัญหาดังกล่าว ถือเป็นเรื่องเร่งด่วนที่เราจะมองข้ามไม่ได้
เนื่องจาก ท่าเรือแหลมฉบัง เป็นพื้นที่ที่มีการดำเนินงานด้านการบรรทุกขนถ่ายสินค้า ทำให้มีปริมาณรถบรรทุกจำนวนมาก อีกทั้ง สถานการณ์ของโรคไวรัสโคโรน่า ภายในท่าเรือแหลมฉบัง ก็ถือเป็นอีกเรื่องที่ไม่ควรนิ่งเฉยเช่นกัน เพราะท่าเรือแหลมฉบัง ถือเป็นด่านหน้า ที่มีนักท่องเที่ยวที่ใช้บริการของเรือสำราญ
ณ ท่าเรือแหลมฉบัง เช่นกัน และกำชับให้ท่าเรือแหลมฉบัง ต้องมีมาตรการในการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
ในการแก้ไขปัญหา เพื่อไม่ให้เกิดมลพิษในอากาศ และเพื่อสุขภาพอนามัยที่ดีของประชาชนโดยรอบท่าเรือแหลมฉบัง และพื้นที่ใกล้เคียง
ด้านนายวีรชาติ พุทธรักษา ผู้อำนวยการสำนักปฏิบัติการ กล่าวรายงานว่า การดำเนินการคัดกรองโรคไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ใหม่โดยที่ผ่านมา ท่าเรือแหลมฉบัง ได้มีการฝึกซ้อมอย่างต่อเนื่อง ในแผนเตรียมความพร้อมภาวะฉุกเฉิน กรณีโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง รวมทั้ง มีการประชุมผู้ประกอบการท่าเทียบเรือ ตัวแทนสายการเดินเรือ และผู้เกี่ยวข้องเพื่อรับทราบมาตรการและวิธีปฏิบัติด้านการคัดกรองโรคไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ใหม่
สำหรับปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 นั้น ท่าเรือแหลมฉบัง ได้นำรถดับเพลิง ฉีดน้ำเป็นละอองฝอย
และยังมีการจัดประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอความร่วมมือให้เพิ่มมาตรการการควบคุมฝุ่นละออง
PM 2.5 ขณะนี้ ท่าเรือแหลมฉบัง อยู่ระหว่างดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์ลดค่าฝุ่น PM 2.5 (สเปรย์น้ำ) ณ บริเวณประตูตรวจสอบสินค้าทุกประตูของท่าเรือแหลมฉบัง อีกด้วย