อำเภอเมืองเมืองร้อยเอ็ด..บันทึกข้อตกลง (MOU) ความร่วมมือ”การจัดการปัญหาสินค้าไม่ปลอดภัย ด้านอาหารและยา”โดยกลไก คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำภอ(พชอ.) อำเภอเมืองร้อยเอ็ด
ในวันศุกร์ที่(๖ ธันวาคม ๒๕๖๒)เมื่อเวลา๐๙.๓๐ น. ณ ที่ว่าการอำภอเมืองร้อยอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด*นายเจนเจตน์ เจนนาวิน นายอำเภอเมืองร้อยเอ็ดประธานในพิธีเดินทางมาถึงบริเวณจัดกิจกรรม-ประธานในพิธีได้นำคณะนายแพทย์ปิติ ทั้งไพศาล นายแพทย์ สสจ.ร้อยเอ็ด,นายแพทย์ชลวิทย์ หลาวทอง ผู้อำนวยการโรงพบาบาลร้อยเอ็ด นายบุรี ทิพนัส สสอ.ร้อยเอ็ด พร้อมคณะเดินชมนิทรรศการงานคุ้มครองผู้บริโภคฯ อำเภอเมืองร้อยเอ็ด
*เมื่อถึงเวลา ๑๑.๐๐ น.การลงนามในบันทึกข้อตกลง(MOU)นายเจนเจตน์ เจนนาวิน นายอำภอเมืองร้อยเอ็ด กล่าวมอบ นโยบาย (พชอ.) เมืองร้อยเอ็ดได้กล่าวว่า คณะกรรมกาพัฒนคุณภาพชีวิตระดับอำภอ (พชอ) อำกอเมืองร้อยเอ็ด และเครือข่ายทุกภาคส่วน ทุกหมู่บ้าน ทุกชุมชน ได้มีมติในการดำนินงาน ตามประกาศอำเภอมืองร้อยเอ็ด เรื่องการขับเคลื่อนตามยุทธศาสตร์ พชอ.แบบมีส่วนร่วมยุทธศาสตร์ ๕ ด้าน ดังนี้
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๑ :ด้านเศรษฐกิจ สินค้าเกษตรสู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๒ : ด้านส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๓ :ด้านสุภาพ ยกระดับคุณภาพชีวิต ครอบครัว ชุมชน สังคม
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่๔ : ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๕ : ด้านรักษาความมั่นคงภายใน
อดีตที่ผ่านมาระบบสาธารณสุขของไทย มุ่งเน้นการรักษาหลังเกิดการเจ็บป่วย แต่
ปัจจุบันสิ่งสำคัญที่ภาครัฐมองเห็นคือ การมุ่งนั้นการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และ
คุ้มครองผู้บริโภค พื่อให้คนไทยสุขภาพดีและเจ็บป่วยน้อยที่สุด ที่สำคัญต้องทำความ
เข้าใจเข้าถึงประชาชนทั้งในระดับขุมชน หมู่บ้าน และอำเภอ ความเข้มแข็งในระดับพื้นที่ เปรียบเสมือนป้อมปราการด่นหน้ที่ยิ่งใหญ่ในการส่งเสริมและป้องกันโรค งานคุ้มครอง ผู้บริโภคด้านสุขภาพ ถือเป็นอีกประเด็นที่สำคัญในยุทธศาสตร์ที่ ๓ : ด้านสุขภาพ ยกระดับคุณภาพชีวิต ครอบครัว ชุมชน สังคม และงานคุ้มครองผู้บริโภคค้นสาธารณสุข
เพื่อให้การขับเคลื่อนงานคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสุขภาพ ภายใต้กลไก(พชอ.)เมืองร้อยเอ็ด
เกิดความต่อเนื่อง ยั่งยืน และมีประสิทธิภาพ จึงได้กำหนดให้มีการการลงนามบันทึก
ข้อตลง (MOU) ความร่วมมือการดำเนิงานคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อการจัดการปัญหา
สินค้าไม่ปลอดภัย ด้านอาหารและยา กับคณะทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลทั้ง
โดยกลไก พชอ.อำเภอเมืองร้อยเอ็ด การขับเคลื่อนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตใน
ระดับตำบล ถือเป็นกลยุทธที่สำคัญ เป็นการขับเคลื่อนตามแผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิต
ระดับอำเภอ (พชอ.) เมืองร้อยเอ็ด เป็นวิธีการที่จะทำให้คณะทำงานและภาคีสามารถ
ขับเคลื่อนแผนงาน พชอ.ให้บรรลุเป้าหมายทำให้คนอำภอเมืองร้อยอ็ด มีคุณภาพชีวิตที่
ดี เกิดการขับเคลื่อนและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ เป็นไปในทิศทาง
ยุทธศาสตร์ และเป้าหมาย อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ โดยมีการบูรณาการ
ร่วมกันระหว่างหน่วยงานของรัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนอย่างเป็นองค์รวม
รวมทั้งมุ่งนั้นให้กิดการมีส่วนร่วมในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาในพื้นที่ที่มีประชาชน
เป็นศูนย์กลาง เสริมสร้างความป็นผู้นำและเจ้าของร่วมกันในการพัฒนาและแก้ไขปัญหา
ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ตลอดจนสร้างเสริมให้บุคคล ครอบครัว และชุมชน มีสุขภาวะทางกาย
จิต และสัดม เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีและเกิดความยั่งยืนสืบไป.ดังนั้นประธานจึงขอมอบเป็นโยบายให้ภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนในแต่ละตำบล ดำเนินการเฝ้าระวัง และจัดการแก้ไขปัญหาสินด้ไม่ปลอดภัยด้นอาหารและยา ในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง และได้เป็นกระบอกเสียงประชาสัมพันธ์และสร้างความตระหนักรู้ถึงพิษภัยอันตรายของการบริโภคอาหารและยาที่เป็นอันตรายให้พี่น้องประชาชน ได้เข้าใจอย่างทั่วถึง หากในพื้นที่พบเจอปัญหาและไม่สามารถจัดการปัญหาได้ด้วยตนเอง
ให้ประสานทีมอำเภอ ทีมจังหวัด ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง ลงไปช่วยแก้ไขปัญหา
ในพื้นที่ต่อไป ผมขอขอบทุกท่านที่ได้มาร่วมกิจกรรมในวันนี้ และขอให้การดำเนินงาน
แต่ละพื้นที่ จงบรรลุวัตถุประสค์ที่วางไว้ทุกประการ
*#นายแพทย์ปิติ ทั้งไพศาล นายแพทย์ สสจ.ร้อยเอ็ด ได้กล่าวชี้แจงนโยบายการจัดการสินค้าไม่ปลอดภัย กล่าวว่าได้ขอบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับท่านนายอำภอเมืองร้อยเอ็ด หัวหน้าส่วนราชการทุกส่วนราชการ นายกเทศมตรีเมืองร้อยเอ็ด นายกเทศมนตรีตำบล นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุกแห่ง ผู้อำนวยการโรงเรียน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่ง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุข สื่อมวลชน และแขกผู้มีเกียรติ ทุกท่าน ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของประเทศ ปัญหาด้านสุขกาพของคนยุคนี้และยุคต่อไป เกิดจากการบริโภคที่ไม่เหมาะสม ไม่ปลอดภัยอันเกิดจากสินค้าและบริการที่ไม่ได้มาตรฐาน การเอารัดเอาเปรียบของผู้ประกอบการ และการู้ไม่ทำทันผู้ประกอบการและสื่อยุคใหม่ปัญหาด้านคุ้มครองผู้บริโภค ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่ผิดกฎหมาย หรือมีการใช้อย่างไม่สมหตุผล มีการจำหน่วยไม่ถูกที่ถูกทาง เริ่มมีความรุนแรงและแพร่หลายมากขึ้น ส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมามากมาย การแก้ปัญหาต้องอาศัยความร่วมมือ ร่วมแรงร่วมใจจากทุกภาคส่วน ภาคีครือขยในชุมชน ในภาพของคณะทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล ทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชนสถานศึกษา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และอาสาสมัครสาธารณสุข มีบทบาทสำคัญในการค้นหา วิคราะห์ และจัดการแก้ใขปัญหาต้นคุ้มครองผู้บริโภในพื้นที่ เพราะความใกล้ชิดกับชุมชนเข้าใจสภาพปัญหา มีการดำเนินงานเชิงรุก และแก้ปัญหา ในมิติของการสร้งความเข้มแข็งให้กิดขึ้นในชุมชน มากกว่าการใช้กฎหมายเป็น
เครื่องมือเวทีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในวันนี้ จึงนับเป็นก้าวสำคัญอีกก้าวหนึ่ง ที่จะช่วยเป็นแรงผลักดันให้ชุมชนแต่ละแห่งในเขตอำเภอเมืองร้อยเอ็ด เป็นชุมชนที่ปลอดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย อาหาร และยาที่อันตราย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด และหน่วยงานด้านสาธารณสุขทุกระดับ มีความยินดีที่จะร่วมสนับสนุนการทำงานของ
คณะทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลในทุกพื้นที่ให้ประสบผลสำเร็จตามป้หมายที่ตั้งไว้ทุกประการ พร้อมกล่าวคำขอบคุณ..พร้อม.
*นายแพทย์ชลวิทย์ หลาวทอง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลร้อยเอ็ด ได้กล่าวชี้แจงสถานการณ์ยาไม่ปลอดภัยในชุมชน เขตอำภอเมืองร้อยเอ็ดทั้ง ๑๕ ตำบล การจัดการปัญหายา และผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่ปลอดภัยในชุมชน โดยกลไก (พชอ.)อำเภอเมืองร้อยเอ็ดได้นำเรียน นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ท่านนายอำเภอเมืองร้อยเอ็ด
หัวหน้าส่วนราชการทุกส่วนราชการ อสม. สื่อมวลชน และแขกผู้มีเกียรติทุกท่าน
สถานการณ์ยาไม่ปลอดภัยในชุมชน
ปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่ปลอดภัยมีความหลากหลายทั้งในเรื่อง ยา อาหาร เวชสำอาง ซึ่งกระจายอยู่ทุกพื้นที่ในประเทศไทย และเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมานานหลายสิบปิ ปัญหที่พบมากในปัจจุบัน และเป็นปัญหาในพื้นท่ีเขต อ.เมืองร้อยเอ็ด คือ การพบยาอันตรายจำหน่ายในร้านค้าร้านชำ 611 ร้าน จาก 872 ร้าน คิดเป็น 70.07% ทำให้ประชาชนเข้าถึงยาง่ายเกินไป ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนไม่ว่าจะเป็นการใช้ยาปฏิชีวนะมากเกินความจำเป็น ทำให้กิดการดื้อยา แพ้ยา รวมถึงการใช้ยาแก้ปวด
กล้ามเนื้อ NSAIDs และการใช้ยาชุดที่มีสเตียรอยด์เป็นประจำ ทำให้เกิดโรคต่างๆตามมา เช่น. แผลในกระเพาะอาหาร กระดูกพรุน ภูมิคุ้มกันต่ำ และเป็นไตสื่อมในที่สุด โดยพบการจำหน่ายยาปฏิชีวนะ, ยาแก้ปวดNSAIDs และยาชุดที่มีสเตียรอยด์ในร้านค้าร้านชำสูงถึง 69.83%,74.2% และ7.34% ตามลำดับ
นอกจากนี้ พบการเกิดปฏิกิริยาต่อกันระหว่างยาที่รัประทานประจำจากโรงพยาบาล และยาที่ซื้อรับประทานเองในชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากร้านค้าร้านชำ ส่งผลต่อการรักษาโรคประจำตัวและบางรายเกิดผลข้างเคียงทำให้เกิดอันตรายได้ในที่สุด
จากปัญหาดังกล่าว การสร้างคนและเครือข่ายเพื่อจัดการและแก้ไขปัญหาเชิงระบบ จึงเป็น
สิ่งสำคัญยิ่ง จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือทุกภาคส่วนช่วยในการขับเคลื่อนให้สำเร็จ ตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุข ในเรื่องการใช้ยาอย่างสมเหตุผลและปลอดภัยในชุมชน..
*พิธีลงนามในบันทึกข้อตกลง(MOU)การจัดการปัญหายาและผลิตภัณฑ์ สุขภาพไม่ปลอดภัยในชุมชน จำนวน ๑๕ ตำบล ผู้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลง( MOU) ประกอบด้วย
๑. นายอำเภอเมืองร้อยเอ็ด ผู้ให้ข้อตกลง
๒. นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
พยาน
๓. ผู้อำนวยการโรงพยาบาลร้อยเอ็ด พยาน
๔ สาธารณสุขอำภอเมืองร้อยเอ็ด พยาน
๕. เกษตรอำเภอเมืองร้อยเอ็ด พยาน
๖. นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกตำบล. ผู้รับข้อตกลง
๗. กำนันทุกตำบล. ผู้รับข้อตกลง
๘ ผู้อำนวยการโรงพยานาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ผู้รับข้อตกลง
๙ ผู้อำนวยการโรงเรียนประจำตำบล ผู้รับข้อตกลง
๑๐. ประธานอาสาสมัครสาธารณสุขตำบล
ผู้รับข้อตกลง. เมื่อลงบันทึกข้อตกลงความร่วมมือได้แสดงความยินดีร่วมกัน..
*เวลา ๑๑.๓๐ น.ชี้แจงรูปแบบการจัดกรปัญหายาและผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่ปลอดภัยในชุมชนโดยกลไก พชอ.อำเภอเมืองร้อยเอ็ด
โดย นายมานิตย์ทวีหันต์ เภสัชกรชำนาญการพิศษ สสจ.ร้อยเอ็ด.แนะนำเพิ่มเสริมให้อสม.๑๕ ตำบลในพื้นที่เพื่อสานต่อนโยบายสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ต่อไป…
(((((((((((((((on))))))))news
อสม.ศรีไพร ทูลธรรม จิตอาสาด้วยใจภักดี รายงานจากจังหวัดร้อยเอ็ด