พะเยา เจ้าของโรงงานเจ.เค.ฯขอโอกาสจากชาวบ้านยันต่อไปกลิ่นเหม็นจะไม่มีแน่นอน ชาวบ้านทนกลิ่นเหม็นมาจนไม่อยากเชื่อ
อุตสาหกรรมจังหวัดพะเยา เรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมถึงตัวแทนของชาวบ้านเข้าร่วมประชุมหารือ ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงบาน ตำบลเขียงบาน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา กรมทรัพยากรน้ำบาดาล , ปลัดอำเภอเชียงคำ , เจ้าหน้าที่ อบต.เชียงบาน , กำนันตำบลเชียงบาน , ผู้ใหญ่บ้าน จำนวนหลายหมู่บ้าน พร้อมทั้งตัวแทนของชาวบ้านที่เดือดร้อนจากกลิ่นเหม็น เพื่อเข้าร่วมประชุมหารือ บริษัท เจ.เค.ชนาธาร จำกัด ดำเนินการปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสียให้มีประสิทธิภาพเพียงพอ
ภายหลังจากมีการประชุมที่ห้องประชุม อบต.เชียงบาน อุตสาหกรรมจังหวัดพะเยาพร้อมด้วยตัวแทนชาวบ้านเดินทางเข้ามาร่วมพูดคุยและร่วมกันตรวจสอบสถานที่บ่อบำบัด ที่เคยส่งกล่นเหม็นจนชาวบ้านต้องมาเรียกร้องให้ปิดไปหลายครั้ง ซึ่งพบว่าภายในโรงงาน เจ.เค. ได้ทำการบำบัดจริงและมีกลิ่นเพียงเล็กน้อย ซึ่งบรรยากาศด้านหน้าโรงงาน เจ.เค. เต็ม ไปด้วยชาวบ้านที่มาถือป้ายประท้วงเพื่อกดดัน เรียกร้องให้โรงงานหยุดกิจการ เพราะชาวบ้านไม่เชื่อว่าทางโรงงาน จะสามารถแก้ไขปัญหาได้จริง
ด้าน น.ส. อมรรัตนื ตาวงศ์ ผู้จัดการบริษัท เจ.เค.ชนาธาร จำกัด ได้กล่าวว่า ในส่วนของแก๊สที่มีอยู่เดิมทางโรงงานมีการบำบัด ซึ่งมีการดึงแก๊สไปเผาที่อุณหภูมิสูงกว่า 800 องศา โดยทางโรงงานได้ทำการทดสอบเผา โดยมีศูนย์ควบคุมมลพิษภาคเหนือ ศูนย์เฝ้าระวังมลพิษภาคเหนือมาเก็บตัวอย่างของก๊าซที่ออกไปเพื่อนำไปตรวจสอบว่ามีอะไรหลงเหลือในแก๊สที่เราเผาหรือไมในระหว่างที่รอผล เราก็ยังไม่ได้ทำการเผา จนผลออกมาว่ามันมีความปลอดภัยเราก็เริ่มทำการเผาตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคม เป็นต้นมา ซึ่งแก๊สที่เคยอยู่ในบ่ออกไปจนหมด ในส่วนของการฟื้นฟู เราก็มีการใช้จุลินทรียซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่ใช้แสงแล้วก็ใช้ความชื้นเป็นตัวหล่อเลี้ยง เพื่อช่วยบรรเทาปัญหากลิ่นเหม็นที่เกิดขึ้นบริเวณรอบๆ และมีการปลูกหญ้ารอบๆบ่อ เพื่อช่วยในเรื่องการยึดหน้าดิน
ด้าน นายนิกร นามแก้ว ผู้บริหาร บริษัท เจ.เค. ชนาธาร จำกัด ได้แจ้งกับผู้สื่อข่าวว่า แนวทางการบำบัด ทางโรงงานขอรับประกันว่า จะหมดปัญหาในเรื่องของกลิ่นเหม็น และหมดปัญหาในเรื่องของมลพิษ ได้อย่างแน่นอน ซึ่งทางโรงงานได้แก้ไขตามที่อุตสาหกรรมจังหวัดพะเยาได้แจ้งมาทั้ง 6 ข้อเรียบร้อยหมดทุกข้อแล้ว ซึ่งนโยบายของบริษัท เจ.เค. ชนาธาร จำกัด ที่ดำเนินกิจการ มีความมุ่งหวังจะให้เกิดผลกระทบชุมชนให้น้อยที่สุด หรือจะไม่ให้มีผลกระทบเลย แต่ว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการที่ชาวบ้านร้องเรียนกันมานั้น ทางบริษัทฯ ได้เชิญผู้นำชุมชน และตัวแทนชาวบ้าน เข้ามามีส่วนร่วมทุกอย่างเพื่อการบูรณาการร่วมกันระหว่างบริษัทฯ และชาวบ้าน จึงอยากขอความอนุเคราะห์ และขอความเห็นใจจากชาวบ้าน ให้เปิดโอกาสให้บริษัทฯ ได้ทำทุกอย่างให้สมบูรณ์แบบ แล้วให้ชาวบ้านมาร่วมกับบริษัทฯ เพื่อจะทำให้ชุมชนน่าอยู่ และทำให้เศรษฐกิจยั่งยืนยิ่งขึ้นตลอดไป