Uncategorized

ชาวบ้านยิ้มได้ !! รถไฟทางคู่เชื่อม 3 ท่าเรือ ชี้ไม่มีจุดตัดระดับพื้นดิน แต่วิตกเรื่องเวนคืนและแนวเส้นทางที่ชัดเจน

ชาวบ้านยิ้มได้ !! รถไฟทางคู่เชื่อม 3 ท่าเรือ ชี้ไม่มีจุดตัดระดับพื้นดิน แต่วิตกเรื่องเวนคืนและแนวเส้นทางที่ชัดเจน

ชาวบ้านวิตกเรื่องเวนคืน แต่ก็ยิ้มได้เมื่อรถไฟรางคู่ชี้ ไม่มีจุดตัดระดับพื้นดิน สายตะวันออกเชื่อม 3 ท่าเรือ ช่วงหัว หมาก – ฉะเชิงเทรา – ศรีราชา ช่วง ศรีราชา – มาบตาพุด ซึ่งมีแนวเส้นทางพาดผ่านพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และ ระยอง เพื่อเสริมศักยภาพในการเดินทางและการขนส่งเชื่อมโยงหลายรูปแบบในพื้นที่ EEC เชื่อมต่อกับพื้นที่อุสาหกรรมหลักกับ 3 ท่าเรือ ได้แก่ท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ และ ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะทาง 208 กิโลเมตร 33 สถานี สถานีระดับพื้นดิน 25 สถานี ป้ายหยุดรถไฟระดับพื้นดิน 5 สถานี ป้ายหยุดรถไฟยกระดับ 2 สถานี สถานีระดับพื้นดินชานชลายกระดับ 1 สถานี อันเป็นการยกระดับโครงข่ายโลจิสติกส์สู่ศูนย์กลางการขนส่งของ อาเซียน
วันนี้(3 ก.ย.62) ที่ห้องประชุมเมืองท่า เทศบาลแหลมฉบัง ได้จัดให้มีการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในการดำเนินการสร้างรถไฟรางคู่้เชื่อม 3 ท่าเรือ เติมเต็มโครงข่ายการเดินทางแบะขนส่งเสริมศักยภาพ EEC สู่ศูนย์กลางเศรษฐกิจอาเซียน อันเป็นโครงการศึกษาความเหมาะสม ออกแบบรายละเอียดและศึกษาผบกระทบสิ่งแวดล้อม ที่เป็นโครงการเพิ่มประสิทธิภาพแบะเพิ่มความจุทาวรถไฟ ช่วง หัวหมาก – ฉะเชิงเทรา – ศรีราชา และโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงศรีราชา – มาบตาพุด อันเป็นโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ในพื้นที่นำร่อง 3 จังหวัดได้แก่ ฉะเขิงเทรา – ชลบุรี – ระยอง ที่เป็นนโยบายการพัฒนาพิ้นที่ เพื่อผลักดันพื้นที่ ภาคตะวันออกให้เป็นพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษ ที่ทันสมัย เพียบพร้อมที่สุดสู่การเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่เชื่อมการค้าจากอาเซียนและทั่วโลก เป็นพื้นที่อุสาหกรรมหลักโเยเฉพาะอุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุสาหกรรมยานยนต์ อุสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เป็นแหล่งพลังงานและแหล่งวัตถุดิบการผลิต เป็นแหล่งจ้างงานและต้องการแรงงานที่มีทักษะสูง ที่มีจุดเด่นทั้งด้านเกษตรกรรม อุสาหกรรมและการท่องเที่ยว อันเป็นที่รู้จักของเหล่านักลงทุนทั่วโลก และเป็นความลงตัวระหว่างที่พักอาศัยและที่ทำงาน ที่มีความพร้อมทางด้านโครงสร้างพื้นฐาน
พร้อมเดินหน้า 10 อุสาหกรรมแห่งอนาคต ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เพื่อขับเคลื่ิอนเศรษฐกิจของประเทศอย่างมั่นคงและยั่งยืน ได้แก่ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ การแปรรูปอาหาร เชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ ท่องเที่ยวเขิงคุณภาพ หุ่นยนต์เพื่อการอุสาหกรรม ดิจิทัล ยานยนต์สมัยใหม่ การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ การบินและโลจิสติกส์ และการแพทย์ครบวงจร
ด้านนาย สมเกียรติ เตรียมแจ้งอรุณ ผจก.โครงการ ได้เผยว่า โครงการดังกล่าวนี้เป็นโครงการเพิ่มศักยภาพในพื้นที่ EEC ส่งเสริมให้เป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของภูมิภาคและของอาเซียน ด้วยการเติมเต็มโครงข่ายทั้งทางบก ราง น้ำ และอากาศ เพื่อความสะดวกรวดเร็วทั้งในการเดินทางและขนส่งสินค้า โดยมีโครงการมอเตอร์เวย์หมายเลข 7 สาย กรุงเทพ – บ้านฉาง ช่วงพัทยา – มาบตาพุด ระยะทาง 32 กิโลเมตร รองรับการเชื่อมโยงอุสาหกรรมระหว่างท่าเรือแหลมฉบังกับท่าเรือมาบตาพุดและรองรับท่าอากาศยานอู่ตะเภา โครงการมอเตอร์เวย์หมายเลข 72 สายชลบุรี – ตราด ระยะทาง 216 กิโลเมตร

โครงการรถไฟฟ้าความเร็วเชื่อมเชื่อม 3 สนามบินได้แก่ ดอนเมือง – สุวรรณภูมิ – อู่ตะเภา ที่มีขีดความสามารถรองรับผู้โดยสาร 100,000 คน/วัน ท่าเรือแหลมฉบัง รองรับตู้สินค้า 18 ล้านทีอียู/ปี รองรับการส่งออกรถยนต์ 3 ล้านคัน/ปี ท่าเรือมาบตาพุด รองรับการลงทุนในภาคปิโตรเคมี 360,000 ล้านบาทใน 5 ปี ท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ รองรับนักธุรกิจและนักท่องเที่ยว 3 ล้านคน/ปี สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจถึงปีละ 4,600 ล้านบาท โครงการมอเตอร์เวย์หมายเลข 61 สายแหลมฉบัง – นครราชสีมา ระยะทาง 288 กิโลเมตร ท่าอากาศยานอู่ตะเภา รองรับผู้โดยสาร 20 ล้านคน/ปี เมืองหลวงธุระกิจการบินบนพื้นที่ 575 ไร่ ทั้งศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน พร้อมขับเคลื่อนรถไฟทางคู่สู่ท่าเรือ เปิดประตูสู่เวทีเศราษฐสายภาคตะวันออก ช่วงหัวหมาก ฉะเชิงเทรา ศรีราชา และรถไฟทางคู่ช่วง ศรีราชา มาบตาพุด ที่เป็นเส้นทางสนับสนุนที่สำคัญในการพัฒนาพื้นที่เขต EEC และที่สำคัญ ไม่มีจุดตัดระดับพิ้นดิน มีสะพานรถไฟข้ามถนนสำหรับพิ้นที่ที่มีดินถมคันทางรถไฟสูง พื้นที่ด้านล่างมีทางรถยนต์ผ่านและการจราจรหนาแน่นหรือมีทางตัดผ่านเส้นทางจราจรสายหลัก สะพานรถยนต์ข้ามทางรถไฟในรูปแบบของสะพานกลีบรถสำหรับบริเวณชุมชนหนาแน่นหรือมีข้อจำกัดของพื้นที่ สะพานรถยนต์ข้ามทางรถไฟสำหรับถนนที่มีการจราจรสูง มีเขตทางเพียงพอแบะเป็นถนนสายหลักของกรมทาวหลวงหรือทางหลวงชนบท ทางบอดใต้ทางรถไฟสำหรับจุดตัดทางรถไฟกับถนนลำลองที่มีการจราจรต่ำ ปริมาตรพื้นที่เกษตรกรรมสองข้างทางหรือบริเวณที่กั้นรั้วแล้วเกิดปัญหาการแบ่งแยกพื้นที่ การบริการข้างทางรถไฟ สำหรับแนว้ส้นทางรถไฟตัดผ่านถนนท้องถิ่นหลายๆเส้นซ้อนกัน ไม่เหมาะสมในการสร้างทางต่างระดับหรือทางลอดได้ พร้อมการสร้างรั้วตลอดแนวเส้นทาง
ในขณะที่ทางด้านชาวบ้านและประชาชน ยังพอยอ้มได้ในส่วนมาตราฐานความปลอดภัย ที่ไม่จุดตัดระดับพื้นดิน อุทกวิทยาน้ำผิวดิน การควบคุมน้ำท่วมอละการระบายน้ำ ทั้งอากาศ ฝุ่น และเสียง ความสั่นสะเทือน สำหรับสิ่งที่ชาวบ้าน ประชาชนวิตก นั่นคือการโยกย้ายและเวนคืน ที่จะต้องมีการแจ้งออกก่อน 6 เดือน ในขณะที่ยังมีชาวบ้านและประชาชน อีกมากที่ยังไม่ทราบว่าเส้นทางจะมาทางฝั่งไหน จะโดนเวนคืนหรือไม่ มากน้อยเพียงใด ซึ่งยังไม่ทราบเส้นทางและแนวเขต ที่ชัดเจนที่ยังวิตกกังวนกัน