ร้อยเอ็ดจัดโครงการอบรมเพิ่มศักยภาพท้องถิ่นการจัดการน้ำแบบปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงธนาคารน้ำใต้ดิน อบตไพศาลต้นแบบ
PALANCHAI TV/ชมรมสื่อออนไลน์IT/nuk-0817082129-
PALANCHAI TVชสอท.อบรมตำบลไพศาลต้นแบบธนาคารน้ำใต้ดิน/สมนึก-ประธาน/ชมรมสื่อออนไลน์IT/0817082129-รายงาน
เมื่อเช้าวันอังคารที่ 20 เดือนสิงหาคม 2562 ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลไพศาล อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด นายเลิศบุศย์ กองทอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ดเป็นประธาน ในพิธีเปิดโครงการอบรมเพิ่มศักยภาพท้องถิ่น การจัดการน้ำตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ธนาคารน้ำใต้ดิน โดยการดำเนินงานของ นายกรกฎ บุญญามิ่ง ปลัดอำเภอรักษาราชการแทนนายอำเภอธวัชบุรี นายสุรสิทธิ์ สุระพินิจ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลไพศาลและคณะ ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย คณะผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาอบต กำนันผู้ใหญ่บ้าน ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ ท้องถิ่น อำเภอธวัชบุรี และประชาชนตำบลไพศาล จำนวน 100 คน เพื่อบริหารจัดการน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภคให้แก่ชุมชนหมู่บ้านอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
นายกรกฎ บุญญามิ่ง กล่าวว่า.-อำเภอธวัชบุรี มีจำนวนประชากร 66,000 คนจำนวน 25,000 ครัวเรือนจาก 9 ตำบล 10 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีพื้นที่เกษตรกรรม 160,000 ไร่ ปลูกข้าวคิดเป็นร้อยละ 90 พืชอื่นๆร้อยละ 10 โดยมีแม่น้ำสายหลักคือแม่น้ำชี ผ่าน 2 ตำบลคือตำบลธวัชบุรี ตำบลธงธานี มีอ่างเก็บน้ำฝนคืออ่างเก็บน้ำธวัชบุรี ทำให้เกิดลำน้ำสาขา ได้แก่ห้วยกุดแคน ซึ่งมีน้ำฝนจากห้วยพังพวย ไหลลงมา แล้วห้วยกุดแคนก็จะไหลผ่าน ตำบลอุ่มเม้า พร้อมรับน้ำจากห้วยฝั่งแดงห้วยขี้หมาจอก กลายเป็นห้วยดางเดียว ไหลผ่านอบต.ไพศาล ผ่านไปยังทุ่งเขาหลวง ที่ตำบลเหล่าตำบลเทอดไทย ตำบลบึงงาม และตำบลทุ่งเขาหลวง แล้วไหลผ่านลงลำน้ำชี
สำหรับการจัดการน้ำ ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงธนาคารน้ำใต้ดิน ของตำบลไพศาล โดยที่มีน้ำเป็นปัจจัยสำคัญในการอุปโภคบริโภคและการดำเนินกิจกรรมทางการเกษตร ในปัจจุบันในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลไพศาล ได้มีปัญหาเรื่องน้ำท่วมขังในฤดูน้ำมากและแห้งแล้งฝนทิ้งช่วง ในระหว่างฤดูฝนทำให้ผลผลิต ทางการเกษตรเกิดความเสียหายได้ ผลผลิตไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย
และน้ำทำให้เกิดปัญหาน้ำขังเน่าเสียในชุมชน และในครัวเรือน ซึ่งสิ่งที่มีผลกระทบตามมา ก็คือโรคระบาดเป็นไข้เลือดออกเป็นต้น และปัจจุบันได้เกิดภาวะน้ำใต้ดินแห้งขอด สังเกตได้จากบ่อบาดาลไม่สามารถสูบน้ำขึ้นมาใช้ได้ตลอดปี เพราะไม่มีการเติมน้ำธรรมชาติลงไปเก็บไว้ใต้ดิน อาจจะเกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคและบริโภค ในครัวเรือนขึ้นได้แน่นอนในอนาคตอันใกล้ เนื่องจากทุกหมู่บ้านได้นำน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้อุปโภคและบริโภคและการผลิตน้ำประปาบ้าน
นายสุรสิทธิ์ สุระพินิจ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลไพศาล กล่าวรายงานว่า.-การอบรมเพื่อจัดการน้ำธนาคารน้ำใต้ดิน ของ ตำบลไพศาลมีวัตถุประสงค์ดังนี้ คือเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องแนวคิดและความเป็นมาของการบริหารจัดการน้ำ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงธนาคารน้ำใต้ดิน,เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ร่วมฝึกปฏิบัติการ ทำระบบบริหารจัดการน้ำตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ธนาคารน้ำใต้ดิน,เพื่อให้ท้องที่ท้องถิ่นในอำเภอธนบุรีได้ร่วมกันทำโครงการนี้ให้มีน้ำใช้อย่างยั่งยืน
นอกจากนี้ยังเป็นการ ให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึง ความสำคัญเรื่องการดูแลทรัพยากรน้ำและการบริหารจัดการน้ำแบบสมดุลด้วยการจัดทำธนาคารน้ำใต้ดิน เพื่อนำน้ำมาใช้สำหรับการบริโภคอุปโภคบริโภคและทำการเกษตร วิทยากร นายชาตรี ศรีวิชาฐา นายก อบต.เก่าขาม อ.น้ำยืน จ.อุบลฯ สถาบันวิจัยนิเทศศาสนคุณ
นายเลิศบุศย์ กองทอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด ประธานกล่าวเปิดงานว่า.-การบริหารจัดการน้ำ ถือเป็นนโยบายสำคัญสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการน้ำ เพื่ออุปโภคและบริโภคให้แก่ชุมชนหมู่บ้านอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยการนำความรู้เรื่องการจัดทำธนาคารน้ำใต้ดิน มาส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่และบุคลากรท้องถิ่น ให้เข้าใจแนวทางการบริหารจัดการน้ำแบบสมดุล ด้วยหบักการธนาคารน้ำใต้ดิน สรมาตถนำน้ำขึ้นมาใช้สำหรับการอุปโภคบริโภคและทำกาจเพษตร ทั้งยังส่งเสริมการประกอบอาชีพ และพัฒนาคุณภาพชีวิต ของประชาชนในพืเนที่ได้เป็นเป็นอย่างดี
ซึ่งล่าสุดนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์จันทร์โอชาได้มอบนโยบายในการแก้ไขปัญหาน้ำในทุกจังหวัด โดยจัดสรรงบประมาณจังหวัดละ 200 ล้านบาท ซึ่งที่จังหวัดร้อยเอ็ดนี้ของเราก็จะได้ประชุมปรึกษาหารือโดย มอบเป็นภาระหลักให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการทำธนาคารน้ำใต้ดิน
นายสุรสิทธิ์ สุระพินิจ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลไพศาลได้กล่าวเพิ่มเติมว่า.-ตำบลไพศาลจะทำจุดเติมน้ำตามจุดต่างๆโดยจะเริ่มต้นทางทิศเหนือ ตามห้วยขี้หมาจอก ไหลผ่านตำบลไพศาลให้มีจุดห่างเติมน้ำกันระยะทาง 1.5 กิโลเมตร โดยที่ตำบลไพศาลจะมีการจุดเติมน้ำฝน 7 จุด
ในขณะเดียวกันก็ได้มีความสัมพันธ์กับการทำจุดเติมน้ำฝนของตำบลใกล้เคียง ได้แก่ตำบลอุ่มเม่า ตำบลเหล่า เพื่อจะทำให้เกิดบูรณาการเกิดน้ำไหลเวียน เป็นธนาคารน้ำใต้ดิน ที่สามารถเก็บกักน้ำไว้ และหมุนเวียนใช้ได้ตลอดปี
/PALANCHAI TV/ชมรมสื่อออนไลน์IT/สมนึก บุญศรี-ประธาน/0817082129-รายงาน