ปทุมธานี ไม่ต้องต่อคิวอีกต่อไป! เล็งใช้แอพพลิเคชั่นช่วยจองคิวอาหารแนวสตรีทฟู๊ด
นักศึกษาหลักสูตรผู้บริหารการท่องเที่ยว TME 3 นำเสนอ การท่องเที่ยว “เยาวราช” อย่างยั่งยืน ลดความแออัด โดยใช้ APP เยาวราช 25 Hours
เยาวราชย่านชุมชนเก่าแก่ของคนจีนในประเทศไทยที่เข้ามาตั้งรกรากตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เราจะเห็นได้ว่าที่นี่คึกคักไปด้วยผู้คนตลอดเวลา เพราะเป็นพื้นที่เศรษฐกิจมีแหล่ง Shopping หลากหลายสินค้า แหล่งทำบุญทางวัดไทยวัดจีนและศาลเจ้า แหล่งรวมร้านทองไว้มากมายจนได้ชื่อว่า “ถนนสายทองคำ” อีกทั้งยังเป็นแหล่งสถาปัตยกรรมไทยจีนแห่งเดียวในกรุงเทพ และที่สำคัญที่นี่เป็นแหล่งของตำนานความอร่อยระดับโลก
ในเวลากลางวันตลอดทั้งความยาวของถนนจะมีร้านอาหารไทยและร้านอาหารจีนตำรับดั้งเดิมให้เลือกสรรมากมาย ในเวลากลางคืนเพราะท้องฟ้ามืดลงถนนเยาวราชจะสว่างไสวไปด้วยแสงไฟจากร้านอาหารริมทางคุณภาพเรากว่า 140 ร้าน ทำให้ที่นี่เป็นจุดหมายปลายทางในฝันของนักท่องเที่ยวที่ต้องการมาลองลิ้มชิมรถอาหารด้วยตนเอง ทำให้ในปัจจุบันเยาวราชมีนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเยือนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
นักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในเยาวราชให้เติบโต แต่ในขณะเดียวกันเยาวราชก็ต้องเตรียมตัวรับมือกับการทะลักของนักท่องเที่ยว (Over Tourism) ซึ่งในปัจจุบันมีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน สถานีวัดมังกรกมลาวาสเปิดให้บริการ ทำให้การเดินทางมายังเยาวราชสะดวกมากขึ้น จึงเกิดการกระจุกตัวของนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะบริเวณสตรีทฟู๊ดส่งผลต่อความเป็นระเบียบความสะอาดและความปลอดภัย
กลุ่มนักศึกษาผู้บริหารระดับสูงการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (TME) รุ่นที่ 3 กลุ่มเชียงแสน จึงนำเสนอแนวคิดที่จะส่งเสริมให้เกิดการกระจายตัวของนักท่องเที่ยวและช่วยบริหารจัดการการท่องเที่ยวบริเวณเยาวราชให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น โดยใช้ Business Model Canvas ได้แก่ Maximize Destination Value, Maximize Guest Enjoyment และ Minimize Disturbance ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการได้ทำธุรกิจในพื้นที่อย่างยั่งยืน นักท่องเที่ยวประทับใจและไม่ส่งผลกระทบต่อชุมชน
ทุกวันนี้เยาวราชมีนักท่องเที่ยวหลากหลายสไตล์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวอันได้แก่ นักท่องเที่ยวสไตล์ “FIT”ที่เดินทางเป็นกลุ่มด้วยตนเองซึ่งกำลังเป็นที่นิยม นักท่องเที่ยวกลุ่ม”Gastronomy “ที่มาท่องเที่ยวเพื่อชิมอาหารที่โด่งดังในแต่ละท้องถิ่น นักท่องเที่ยวกลุ่ม”Explorer Experience “ที่ต้องการเปิดประสบการณ์การท่องเที่ยวใหม่ๆ และนักท่องเที่ยวสไตล์ “Solomo”ซึ่งเป็นจำนวนมากที่ใช้สมาร์ทโฟนค้นหาข้อมูลเยาวราช ผ่านโซเชียลมีเดียเพื่อตามมาเที่ยว ดังนั้นการจัดทำแคมเปญนี้จึงนำเสนอในการใช้เทคโนโลยีที่ตอบสนองกับไลฟ์สไตล์ของนักท่องเที่ยว ที่เข้ามาเที่ยวในเยาวราชเพื่อเป็นการบริหารจัดการการท่องเที่ยว โดยแอพพลิเคชั่นที่รวบรวมข้อมูลสถานที่ การเดินทางต่างๆในย่านเยาวราชสามารถดูความหนาแน่นของจำนวนนักท่องเที่ยวในแต่ละร้าน เพื่อให้นักท่องเที่ยวเลือกบริหารจัดการเวลาท่องเที่ยวได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังสามารถจองคิวผ่านแอพพลิเคชั่นในระหว่างไปเที่ยวที่จุดอื่นได้อีกด้วย
ด้านคุณอณัญญา อินพุ่ม ประธานกลุ่มเศรษฐกิจดิจิตอลปทุมธานี หนึ่งในสมาชิกกลุ่มนักศึกษาผู้บริหารระดับสูงการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (TME) ให้ความคิดเห็นว่า กรณีศึกษาดังกล่าวของเยาวราชนั้น หากนำมาปรับใช้โดยเทคโนโลยีเข้าช่วยจะส่งผลให้เกิดประโยชน์อย่างมหาศาล โดยเฉพาะการท่องเที่ยวของประเทศไทย ซึ่งการจัดทำแอพพลิเคชั่นให้กับนักท่องเที่ยวนับเป็นการช่วยให้บริหารจัดการเวลาให้ได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นตัวช่วยหลักในการส่งเสริมการตลาด การช่วยแก้ไขปัญหา Over Tourism และยังช่วยส่งเสริมให้เยาวราชเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ทั้งนี้กรณีศึกษาดังกล่าวยังสามารถนำไปใช้กับแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆได้อีกด้วย จึงอยากให้ภาครัฐและนักธุรกิจในท้องที่แหล่งท่องเที่ยวนั้นๆร่วมมือกันนำกรณีศึกษาเยาวราชไปพัฒนาท้องถิ่นของตนต่อไป
CR. ภาพ-ข่าว พี่อนันต์ ปทุมธานี