ศปถ.-สสส.-กปถ.-ศวปถ. เปิดสัมมนาแห่งชาติ ความปลอดภัยทางถนน ครั้งที่ 14 สถิติน่าตกใจ 6 ปีประชากรกลุ่มเปราะบางตายมากสุด มอเตอร์ไซค์ 40,000 ราย
เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2562 ที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน มูลนิธินโยบายถนนปลอดภัย ได้ร่วมกับศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน โดยการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน กรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม องค์กร มูลนิธิ ร่วมจัดการสัมมนาวิชาการระดับชาติ เรื่อง ความปลอดภัยทางถนน ครั้งที่ 14 นี้ ภายใต้“เดิน ขี่ ขับ ไปกลับ ปลอดภัย” (Play your part and share the road) ระหว่างวันที่ 7-8 ส.ค. 62 นี้ โดยมีผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และนักวิชาการที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยทางถนน เข้าร่วมกว่า 2,000 คน ได้ร่วมรับทราบทิศทางนโยบายของรัฐบาลและหน่วยงานหลัก พร้อมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เพื่อให้ประเทศไทยเดินหน้าไปสู่ทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน
โดย พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงาน โดยภาพรวมทุกประเทศทั่วโลก ผู้ใช้รถจักรยานยนต์ คนเดินถนน และผู้ใช้จักรยาน เสียชีวิตเฉลี่ยร้อยละ 49 ซึ่งไทยมีสัดส่วนเสียชีวิตสูงกว่าทั่วโลกเกือบ 2 เท่า ถ้านับเฉพาะอัตราการเสียชีวิตในกลุ่มรถจักรยานยนต์ จะสูงถึง 24.3 ต่อประชากรแสนคน มากเป็นอันดับ 1 ของโลก รัฐบาลตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาอุบัติเหตุทางถนน เนื่องจากแต่ละปีคนไทยกว่า 20,000 คนต้องเสียชีวิต และมีผู้พิการรายใหม่อีกกว่า 6,000 ราย ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในภาพรวมกว่า 5 แสนล้านบาทต่อปี ที่ผ่านมารัฐบาลได้ร่วมขับเคลื่อนการแก้ปัญหาตามแนวทาง 5 เสาหลักที่องค์การสหประชาชาติได้กำหนดไว้ใน “ทศวรรษความปลอดภัยทางถนน” พ.ศ. 2554-2563 (Decade of Action for Road Safety 2011-2020) อีกทั้งยังนำเรื่องความปลอดภัยทางถนนมากำหนดเป็นเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนปี 2573
นพ.ธนะพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการ ศวปถ. กล่าวว่า ตัวเลขจากการบูรณาการข้อมูลสถานการณ์เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทยระหว่างปี 2554-2560 พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 80-85 เป็นกลุ่มผู้ใช้รถใช้ถนนที่มีความเปราะบาง ได้แก่ ผู้ใช้รถจักรยานยนต์ เสียชีวิตมากที่สุดถึง 46,656 คน คนเดินเท้า 5,375 คน และผู้ใช้รถจักรยานอีกกว่า 659 คน สะท้อนให้เห็นว่า คนมีความเปราะบางและเสี่ยงต่อการบาดเจ็บเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน แต่ข้อเท็จจริงคือคนสามารถผิดพลาดได้ (human make error) แต่ไม่ควรมีใครต้องบาดเจ็บจนนำไปสู่การเสียชีวิต ประเทศไทยต้องการระบบความปลอดภัย (safe system approach) เพื่อป้องกันและลดความสูญเสียที่จะเกิดขึ้น การจัดสัมมนาวิชาการระดับชาติเรื่องความปลอดภัยทางถนน ช่วยเปิดโอกาสให้คณะทำงานทั้งส่วนกลางและพื้นที่ ได้นำความรู้ แนวทาง และรูปแบบการดำเนินงานของหน่วยงานต่าง ๆ ไปเผยแพร่และปฏิบัติให้เหมาะสมกับพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่องและเน้นย้ำความสำคัญในเรื่องการลงทุนผ่านเสาหลักต่างๆ และสอดคล้องกับทิศทาง : เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่มุ่งเน้นให้ทุกประเทศเพิ่มความเข้มแข็งของระบบบริหารจัดการ การบังคับใช้กฎหมาย และที่สำคัญคือมีแนวทางและแผนงานในการ “ลงทุน” เพื่อให้เกิดความปลอดภัยทางถนนที่ยั่งยืน
ทั้งนี้การป้องกันและลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุเป็นสิ่งที่รัฐบาลตระหนัก และถือเป็นหนึ่งในนโยบายที่รัฐบาล ป้องกันและแก้ไขปัญหาการเกิดอุบัติเหตุในการจราจร อันนำไปสู่การบาดเจ็บและเสียชีวิต โดยการร่วมมือระหว่างฝ่ายต่างๆ ในการตรวจจับเพื่อป้องกัน การรายงานและการดูแลผู้บาดเจ็บ” ได้ร่วมขับเคลื่อนการแก้ปัญหาตามแนวทาง 5 เสาหลักที่องค์การสหประชาชาติได้กำหนดไว้ใน และส่งเสริมการทำงานตามแผน “ทศวรรษแห่งการปฏิบัติการเพื่อความปลอดภัยทางถนน พ.ศ.2554-2563” เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุลงครึ่งหนึ่งภายในปี 2563 รัฐบาลได้เน้นย้ำให้มีการป้องกันแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนอย่างต่อเนื่อง เช่น ห้ามขับเร็ว ห้ามดื่ม-เมาขับ ห้ามง่วงขับ ห้ามโทรขับ และต้องคาดเข็มขัด ต้องสวมหมวกนิรภัยเมื่อขี่จักรยานยนต์
………………………..
กฤตยชญ์ พิงคะสัน ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดลำพูน รายงาน