ข่าวประชาสัมพันธ์ ข่าวรอบรั้วภูธร ข่าวเชียงใหม่

ศูนย์ธรรมชาติวิทยาดอยสุเทพฯ และหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า มช. จัดค่ายวิชาการเทคโนโลยีการฟื้นฟูป่า ปีที่ 4 ร่วมกันปลูกต้นไม้ 1,245 ต้น ในพื้นที่ 3 ไร่ ของเชียงใหม่

ศูนย์ธรรมชาติวิทยาดอยสุเทพฯ และหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า มช.
จัดค่ายวิชาการเทคโนโลยีการฟื้นฟูป่า ปีที่ 4 ร่วมกันปลูกต้นไม้ 1,245 ต้น ในพื้นที่ 3 ไร่ ของเชียงใหม่

ศูนย์ธรรมชาติวิทยาดอยสุเทพเฉลิมพระเกียรติฯ ร่วมกับ หน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า (FORRU) คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัด “ค่ายวิชาการเทคโนโลยีการฟื้นฟูป่า ปีที่ 4” ภายใต้โครงการดอยสุเทพศึกษา ปี 2562 ระหว่างวันที่ 25-29 มิถุนายน2562 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และอ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ โดยกิจกรรมสำคัญของค่ายในวันปลูก 29 มิถุนายน2562 ได้รับการสนับสนุนจากหลากหลายองค์กร ได้แก่มูลนิธิสถาบันราชพฤกษ์ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองหอย, เทศบาลตำบลแม่แรม โรงแรมดุสิตดีทู และดุสิตปริ๊นเซส เชียงใหม่ในเครือดุสิตอินเตอร์เนชั่นแนลที่มาร่วมแรง ร่วมใจกันปลูกกล้าไม้นานาพันธุ์ กว่า 1,245 ต้น ด้วยเทคนิคพรรณไม้โครงสร้าง ในพื้นที่ 3 ไร่ ณ แปลงปลูก ป่าบ้านแม่ขิ
ต.แม่แรม อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่
เพื่อฟื้นฟูพื้นที่เกษตรเดิมให้เป็นผืนป่าที่มีโครงสร้างและความหลากหลายทางชีวภาพสูงขึ้น
ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการอนุรักษ์และการศึกษาเรียนรู้ในอนาคต

ค่ายวิชาการเทคโนโลยีการฟื้นฟูป่า ปีที่ 4 ในครั้งนี้มีนักศึกษาจากทุกภาคของประเทศไทยเข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 22 คน โดย ตลอดระยะเวลา 5 วัน นักศึกษา ได้รับการถ่ายทอดความรู้และเรื่องราวต่างๆ ในหัวข้อ การฟื้นฟูป่าความเสื่อมโทรมของป่า ระบบนิเวศป่าไม้ภาคเหนือของไทย
สภาพแวดล้อมของแปลงปลูกป่า
ความสำคัญของหอพรรณไม้ต่อการฟื้นฟูป่า การวางแผนการปลูกป่าการดูแลและเก็บข้อมูลการเจริญเติบโตของกล้าไม้หลังปลูก
โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า ณ คณะวิทยาศาสตร์ รวมทั้งได้ลงพื้นที่ฝึกปฏิบัติภาคสนาม, เรื่องการสำรวจและประเมินจำนวนกล้าไม้ในแปลงฟื้นฟู, การเก็บข้อมูลชีพลักษณ์, การเก็บตัวอย่างพืช การเก็บเมล็ด, การเตรียมกล้าไม้เพื่อการฟื้นฟูป่า ณ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ และยังได้ลงมือปฏิบัติปลูกป่าในสถานที่จริงผ่านกิจกรรมการฟื้นฟูป่าโดยเทคนิคพรรณไม้โครงสร้าง ร่วมกับองค์กรต่างๆ ที่ให้การสนับสนุนกิจกรรมในวันปลูก โดยการจัดค่ายให้ครั้งนี้ผู้จัดกิจกรรมมุ่งหวังในการปลูกจิตสำนึกของการอ
นุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้กับนักศึกษารวมทั้งส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่นำความรู้เกี่ยวกับวิธีการฟื้นฟูป่าไปสร้างพื้นที่สี
เขียวโดยการปลูกต้นไม้นานาชนิดในหลากหลายพื้นที่ของประเทศไทย.

ทรงวุฒิ ทับทอง