เพชรบุรี-โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดเพชรบุรี ร่วมกับเทศบาลตำบลท่ายาง จัดประชุมเพื่อประชาสัมพันธ์และรับฟังความคิดเห็น ครั้งที่2(กลุ่มพื้นที่ ทต.ท่ายางและชุมชนต่อเนื่อง) ตามโครงการศึกษาความเหมาะสมและสำรวจออกแบบรายละเอียดระบบป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนจังหวัดเพชรบุรี
การประชุมรับฟังความคิดเห็นกับโครงการศึกษาความเหมาะสมและสำรวจออกแบบรายละเอียดระบบป้องกันน้ำท่วมที่ชุมชนจังหวัดเพชรบุรี ครั้งนี้ จัดขึ้นเมื่อช่วงเช้าวันที่23 พ.ค.62 ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลท่ายาง อ.ท่ายาง มีนายอานนท์ พร้อมเพรียง นายอำเภอท่ายาง เป็นประธานเปิด ทั้งนี้มี รศ.ชูเกียรติ ทรัพย์ไพศาล ที่ปรึกษาโครงการ บริษัทวอเตอร์ ดีเว็ลลัฟเม็นท์ คอนซัลเเท็นส์ กรุ๊ป จำกัด ให้รายละเอียดขั้นตอนการดำเนินงานเกี่ยวกับโครงการ โดยมีนายเสกสม ชูรังสฤษฎิ์ โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดเพชรบุรี นางนฤมล กิจพ่วงสุวรรณ นายกเทศมนตรีตำบลท่ายาง คณะผู้บริหาร หัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้ทรงคุณวุฒิ และ ผญ.บ้านพร้อมด้วยตัวแทนชุมชนเขตเทศบาลตำบลท่ายาง เข้าร่วม
นายเสกสม ชูรังสฤษฏิ์ โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดเพชรบุรี เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากเหตุการณ์อุทกภัย ปี2546 กับปี2559 จังหวัดเพชรบุรีเป็นพื้นที่หนึ่งที่ประสบปัญหาน้ำท่วมอย่างรุนแรงและมีมูลค่าความเสียหายที่สูง รัฐบาลได้เล็งเห็นความสำคัญปัญหาน้ำท่วมและความเสียหายที่เกิดขึ้นของพื้นที่ดังกล่าว จึงมอบหมายให้กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทยทำการศึกษาและออกแบบระบบโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในเขตพื้นที่ชุมชนที่จำเป็นเร่งด่วนในจังหวัดเพชรบุรี โดยกรมโยธาฯได้รับจัดสรรงบประมาณปี2561-2563 ในการจัดทำการศึกษาความเหมาะสมและการสำรวจออกแบบรายละเอียดระบบการป้องกันน้ำท่วมพื่นที่ชุมชนจังหวัดเพชรบุรี ซึ่งกรมโยธาฯได้คัดเลือกที่ปรึกษาและลงนามสัญญาว่าจ้างที่ปรึกษาคือบริษัทวอเตอร์ ดีเว็ลลัฟเม็นท์ คอนซัลแท็นส์ กรู๊ป จำกัด ให้ดำเนินโครงการดังกล่าว โดยได้เริ่มปฏิบัติงานมาตั้งแต่วันที่17 เมษายน 2561และจะสิ้นสุดโครงการในวันที่8ตุลาคม 2562 รวมระยะการดำเนินงานจำนวน540วัน
ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินการศึกษา สำรวจ และออกแบบแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนจังหวัดเพชรบุรี สำฤทธิ์ผลตามวัตถุประสงค์ กรมโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดเพชรบุรี จึงได้จัดประชุมเพื่อประชาสัมพันธ์และรับฟังความคิดเห็นนี้ขึ้น เพื่อแนะนำโครงการและขั้นตอนการดำเนินงาน การพัฒนาระบบป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนที่จำเป็น เช่นคันแ้องกันน้ำท่วม ถนน ท่อระบายน้ำ คลองระบายน้ำ อาคารชลศาสตร์ เป็นต้น ทั้งนี้ต้องสอดคล้องกับการใช้ที่ดินของพื้นที่ชุมชนเพื่อเป็นการฟื้นฟูและสร้างอนาคตของประเทศ
กสิพล ศิริลาภ-เพชรบุรี