30 มีนาคม 2567 ที่ แปลงสวนป่าแทนคุณแผ่นดิน ของนายทวี ค่ำชู เลขที่ 171 หมู่ที่ 8 ตำบลศรีสำราญ อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษนายอนุพงศ์ สุขสมนิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เป็นประธานเปิดงาน SOFT POWER โคก หนอง นา อารยเกษตร จังหวัดศรีสะเกษ ครั้งที่ 1ประจำปี 2567 ในระหว่างวันที่ 30-31 มีนาคม 2567 โดยมีนายอานนท์ หนุนชู นายอำเภอวังหิน หัวหน้าส่วนราชการจังหวัดศรีสะเกษ/อำเภอวังหิน นำกลุ่มเกษตรกรโคก หนอง นา ตามโครงการ พัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่”โคก หนอง นา โมเดล” ในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ เข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก ภายในงานมีกิจกรรมการแข่งขันกีฬา กิจกรรมการจำหน่ายผลผลิต โคก หนอง นา การจำหน่ายสินค้า OTOP และการจัดนิทรรศการจากหน่วยงานต่างๆด้วย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 และเพื่อจัดแสดงผลสำเร็จของการดำเนินงานให้เป็นที่ประจักษ์ อีกทั้งเป็นการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการสร้างงาน สร้างอาชีพ และมีรายได้ในชุมชนต่อไป
นายอานนท์ หนุนชู นายอำเภอวังหินกล่าวว่า จังหวัดศรีสะเกษ ได้ดำเนินงาน โคก หนอง นา ตามโครงการ พัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” ในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ ทั้งสิ้นจำนวน 1,857 แปลง ซึ่งอำเภอวังหิน มีครัวเรือนเข้าร่วมโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรม พัฒนาศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนาศูนย์ เรียนรู้ทฤษฎีใหม่รูปแบบ โคก หนอง นา โมเดล จำนวน 7ครัวเรื่อน และโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์ สู่ โคก หนอง นา โมเดล ตามแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จำนวน 26 ครัวเรือน รวมทั้งสิ้น 33 แปลง
โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงประยุกต์สู่ การปฏิบัติในรูปแบบ โคก หนอง นา โมเดล ระดับครัวเรือน สำหรับแปลงของนายทวี ค่ำชู เจ้าของแปลงสวนป่าแทนคุณแผ่นดิน เข้าร่วมโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรม พัฒนาศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนาศูนย์เรียนรู้ทฤษฎีใหม่รูปแบบโคก หนอง นา โมเดล ในปี 2564 เนื้อที่ 3 ไร่ และใช้งบประมาณส่วนตัวในการปรับพื้นที่นาเป็นพื้นที่ในรูปแบบ โคก หนองนา จำนวน 14 ไร่ มีฐานการเรียนรู้ จำนวน 7 ฐาน ได้แก่ านเลี้ยงเป็ดไป ฐานเลี้ยงไก่ไข่ ฐานการปลูกป่าประโยชน์ 3 อย่าง ฐานเลี้ยงปลาในบ่อดิน ฐานปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์ ฐานการปลูกพืชเรี่ยดินและฐานคนเอาถ่าน
บุญทัน ธุศรีวรรณ รายงาน