กมธ.ทหารฯ จัดพิธีเปิดโครงการพัฒนาตำบลต้นแบบตามนโยบายการเสริมสร้างความมั่นคงเชิงพื้นที่ : ตำบลตาก้อง ตำบลวัดสำโรง จังหวัดนครปฐม ตำบลป่าไร่ จังหวัดสระแก้ว และตำบลบางเสร่ จังหวัดชลบุรี
วันที่ 29 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09.30 นาฬิกา ณ ห้องประชุมกรรมาธิการ CA 428 ชั้น 4 อาคารรัฐสภา (ฝั่งวุฒิสภา) คณะอนุกรรมาธิการติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัดการปฏิรูปประเทศ และการจัดทำและดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง ในคณะกรรมาธิการการทหารและความมั่นคงของรัฐ วุฒิสภา
ร่วมกับ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง จัดโครงการพัฒนาตำบลต้นแบบตามนโยบายการเสริมสร้างความมั่นคงเชิงพื้นที่ : ตำบลตาก้อง ตำบลวัดสำโรง จังหวัดนครปฐม ตำบลป่าไร่ จังหวัดสระแก้ว และตำบลบางเสร่ จังหวัดชลบุรี” โดยมีพลเอก บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ ประธานคณะกรรมาธิการฯ เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการ พลเอก วรพงษ์ สง่าเนตร รองประธานคณะกรรมาธิการฯ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมาธิการ ตสร. กล่าวรายงาน พร้อมด้วยคณะกรรมาธิการฯ คณะอนุกรรมาธิการฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม
.
พลเอก วรพงษ์ สง่าเนตร รองประธานคณะกรรมาธิการฯ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมาธิการ ตสร. กล่าวรายงานว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 270 มาตรา 128 และข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2562 ข้อ 78 (7) ได้กำหนดให้คณะกรรมาธิการการทหารและความมั่นคงของรัฐ วุฒิสภา มีหน้าที่และอำนาจในการติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัดการจัดทำและดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง และแผนแม่บทฯ ที่เกี่ยวข้องที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ด้านความมั่นคง, แผนแม่บทฯ ประเด็นความมั่นคงและนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติฯ ให้บรรลุเป้าหมายในปี พ.ศ. 2570 ที่กำหนดไว้ว่า “ปัญหาเก่าหมดไป ปัญหาใหม่ไม่เกิด” หัวใจสำคัญของการขับเคลื่อน อยู่ที่ “ตำบล” ต้องทำให้ตำบลมีความมั่นคง มั่งคั่ง อย่างยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับแนวความคิดที่กำหนดไว้ในแผนแม่บทฯ ประเด็นความมั่นคง แผนย่อยการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง ที่ได้กำหนดเป้าหมายไว้ คือ “ปัญหาความมั่นคงที่มีอยู่ในปัจจุบัน เช่น ปัญหายาเสพติด ความมั่นคงทางไซเบอร์ การค้ามนุษย์ เป็นต้น ได้รับการแก้ไขจนไม่ส่งผลกระทบต่อการบริหารและพัฒนาประเทศ และได้กำหนดแนวทางการพัฒนา : แผนตำบล มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ไว้เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการเพื่อให้ตำบลเป้าหมายเป็นพื้นที่ที่มีความมั่นคง ประชาชนมีความปลอดภัยจากภัยคุกคามทุกรูปแบบ สามารถใช้ชีวิตได้อย่างสงบสุข กินดีอยู่ดีมีความสุขเกิดความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินส่งผลต่อการแก้ไขปัญหาเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ นอกจากนี้นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ.2566 – 2570) ในนโยบายและแผนความมั่นคงที่ 17 : การเสริมสร้างความมั่นคงเชิงพื้นที่ ได้กำหนดจุดมุ่งเน้นไว้ คือ “การป้องกันและแก้ไขปัญหาความมั่นคงในพื้นที่เป้าหมายระดับตำบลเพื่อให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน โดยขยายแนวคิดของการพัฒนาพื้นที่เพื่อเสริมความมั่นคงของชาติ และแผนตำบลมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ให้เป็นรูปธรรม” ซึ่งเป็นนโยบายและแนวความคิดที่สอดคล้องกับที่กำหนดไว้ในแผนแม่บทฯ ประเด็นความมั่นคง ทั้งนี้ในห้วงเวลาที่ผ่านมาการขับเคลื่อนแผนตำบลมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ภายใต้แผนแม่บทฯ ประเด็นความมั่นคง ยังไม่ประสบผลสัมฤทธิ์เท่าที่ควร ขณะเดียวกันได้มีการจัดทำแผนแม่บทฯ ประเด็นความมั่นคง (ฉบับปรับปรุง) (พ.ศ. 2566- 2580) พ ร้อ ม ทั้ง ไ ด้จัด ทำ น โ ย บ า ย แ ล ะ แ ผ น ร ะ ดับ ช า ติว่า ด้ว ย ค ว า ม มั่น ค ง แ ห่ง ช า ติ (พ.ศ.2566 – 2570) ขึ้นใหม่ โดยกำหนดแนวทางการขับเคลื่อน แผนตำบลมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ที่มีความชัดเจนเป็นรูปธรรมมากขึ้น ดังนั้น คณะอนุกรรมาธิการ ตสร. ในคณะกรรมาธิการการทหารและความมั่นคงของรัฐ วุฒิสภา ร่วมกับสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ, กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร, กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 1, ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล, ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ภาค 1, หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย และจังหวัดนครปฐม จังหวัดสระแก้ว จังหวัดชลบุรี รวมทั้งทุกส่วนราชการใน
จังหวัดนครปฐม จังหวัดสระแก้ว และจังหวัดชลบุรี จัด “โครงการพัฒนาตำบลต้นแบบตามนโยบายการเสริมสร้างความมั่นคงเชิงพื้นที่ : ตำบลตาก้อง ตำบลวัดสำโรง จังหวัดนครปฐม, ตำบลป่าไร่ จังหวัดสระแก้ว และตำบลบางเสร่ จังหวัดชลบุรี” โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายการเสริมสร้างความมั่นคงเชิงพื้นที่ในรูปแบบของการจัดตั้งตำบลมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน 2. เพื่อดาเนินการพัฒนาตาบลต้นแบบตามนโยบายดังกล่าวให้เป็นรูปธรรม และ 3. เพื่อจัดทาคู่มือแนวทางการพัฒนาตำบลมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ให้เป็นรูปธรรม
.
พลเอก บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ ประธานคณะกรรมาธิการฯ กล่าวว่า ปัญหาความมั่นคงในปัจจุบันมีความสลับซับซ้อนเกี่ยวพันในหลายมิติ และเกี่ยวข้องกับหลายส่วนราชการ ดังนั้นการแก้ไขปัญหาความมั่นคงที่เรียกว่าเป็นความมั่นคงแบบองค์รวมจึงจำเป็นที่จะต้องกำหนดกรอบแนวความคิดในการดำเนินการให้รอบคอบและขับเคลื่อนให้เป็นรูปธรรม จึงจะสามารถเอาชนะปัญหาและความท้าทายต่อความมั่นคงต่าง ๆ เหล่านั้น กรอบแนวความคิดและนโยบายการเสริมสร้างความมั่นคงเชิงพื้นที่ที่จะผลักดันขับเคลื่อนแผนตำบล มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ให้เป็นรูปธรรมนั้น ถือได้ว่าเป็นแนวความคิดและนโยบายที่จะใช้แก้ไขปัญหาความมั่นคงทั้ง 14 ประการ ที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติกำหนด ในระดับตำบลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการขับเคลื่อนแผนตำบลมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร จังหวัดและกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด ได้ดำเนินการมาแล้วตั้งแต่ พ.ศ. 2563 ซึ่งเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในแผนแม่บทฯ ประเด็นความมั่นคง และเมื่อสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติได้จัดทำ “นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2566 -2570” และได้กำหนดนโยบายความมั่นคงที่ 17 : การเสริมสร้างความมั่นคงเชิงพื้นที่ ทำให้แนวความคิดในการขับเคลื่อนแผนตำบลมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน มีความชัดเจนขึ้น ดังนั้นจึงได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมาธิการติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัดการปฏิรูปประเทศ และการจัดทำและดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง จัดทำ “โครงการพัฒนาตำบลต้นแบบตามนโยบายการเสริมสร้างความมั่นคงเชิงพื้นที่” ขึ้น เพื่อพัฒนารูปแบบ วิธีการ และกลไกที่เหมาะสมที่มีประสิทธิภาพที่จะสามารถขับเคลื่อนแผนตำบลมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ให้บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนด และนำไปขยายผลการปฏิบัติต่อไป
.
นอกจากนี้ ผู้แทนสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติได้กล่าวชี้แจงหลักการ เหตุผล วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายและแผนความมั่นคงที่ 17 : การเสริมสร้างความมั่นคงเชิงพื้นที่ ของนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 -2570) และ
ผู้แทนกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรชี้แจงแนวทางการขับเคลื่อนแผนตาบลมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ในห้วงเดือนธันวาคม 2566 – เมษายน 2567
ภาพ/ข่าว ฤทธิรณ ปัญญากาบ ทีมข่าวไทยเกอร์นิวส์ รัฐสภา รายงาน