30 กันยายน 67 ช่วงปลายฝนต้นหนาว ตั้งแต่เดือนกันยายนเป็นต้นไป เป็นช่วงฤดูกาลของกว่าง หรือนักสู้แห่งขุนเขา ชาวบ้านจะออกหาตามชายป่าไม้รวกไม้ซางและต้นไม้ที่กว่างมักชอบอยู่ โดยแต่ละวันจะหาได้หลายสิบตัว แล้วจะนำมาขายตามตลาดให้กับเด็กและเชียนกว่าง ที่จะนำไปเลี้ยงไปเล่นแข่งชนกว่าง โดยจะขายตามขนาดของกว่าง เช่น กว่างกิ กว่างแซม หรือกว่างตัวเมียที่เรียกว่ากว่างแม่อีหลุ้ม ก็จะขายตัวละ 20 บาท และกว่างโซ้ง กว่างแซม กว่างฮัก จะขายตัวละ 100-500 บาท ตามขนาด สามารถสร้างรายได้อีกทางให้ชาวบ้านในช่วงฤดูกาล ซึ่งการเล่นกว่างเป็นการละเล่นพื้นบ้านของชาวล้านนาที่นิยมเล่นกันมาเป็นเวลานานแล้ว จนกลายเป็นประเพณี
นายบุญธรรม เครืออินทร์ พ่อค้าขายกว่างเล่าว่า ช่วงนี้เป็นช่วงฤดูกาล ของกว่าง ซึ่งจะเริ่มออก ในปลายฝนต้นหนาว ทำให้ขายดีเป็นที่ต้องการของ กลุ่มเซียนกว่าง และราคาก็ดีด้วย ตนเองจึง ออกหาตามแนวป่าท้ายหมู่บ้าน แต่ละวันจะออกหากว่างมาได้หลายสิบตัวและนำมาขายโดยจะขายกว่างขนาดเล็กเช่นกว่างกิ๊กว่างอี่ลุ้มและกว่างแซมจะขายราคาตัวละ 20 บาทสำหรับ กว่างฮัก กว่างโซ้งและกว่างแซมที่มีขนาดใหญ่จะขายตัวละ 100 – 500 บาทสามารถสร้างรายได้ดีในช่วงนี้
สำหรับการตั้งกว่างหรือใช้กว่างล่อ โดยใช้กว่างที่มีขนาดเล็ก เช่น กว่างกิ กว่างแซม หรือจะใช้กว่างตัวเมียที่เรียกว่ากว่างแม่อีหลุ้มก็ได้ ผูกกว่างด้วยเชือกเส้นเล็กฟั่นจากฝ้ายโยงกับอ้อยที่ปอกครึ่งท่อน ใช้ไม้ขอเสียบส่วนบนหรือใช้กล้วยน้ำว้าใส่ในตะกร้าเล็กๆ หรือในกะลา ผูกกว่างขนาดเล็กไว้เป็นกว่างล่ออยู่ข้างใน แล้วนำอ้อยหรือตะกร้าไปแขวนไว้กับกิ่งไม้ในตอนหัวค่ำ โดยหาทำเลที่เป็นชายป่าหรือในบริเวณที่ใกล้กับเนินดิน ในตอนกลางคืน กว่างตัวล่อจะบินมีเสียงดัง ดึงดูดให้กว่างที่บินเวลากลางคืนให้เข้ามาหาเพื่อติดกับโดยมีอ้อยที่เป็นอาหารที่ชอบหลอกล่ออยู่ ถ้าเป็นกว่างโซ้งกว่างฮักกว่างแซมก็นำไปขายเพื่อให้เชียนกว่างชนและผู้ที่สนใจได้ชื้อต่อไป ถ้าเป็นกว่างกิ๊ กว่างแม่อีหลุ้มก็เก็บใส่กระป๋องและใส่อ้อยเก็บไว้เป็นกว่างล่อต่อไป