ข่าวรอบรั้วภูธร ข่าวศรีสะเกษ ข่าวเด่น

นายกฯท่องเที่ยวศรีสะเกษ ร่วมกับ ผอ.สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานฯ ติวเข้มแรงงานในชุมชน ให้สามารถนำเที่ยวมีรายได้ยั่งยืน

29 พฤษภาคม 2567 ที่ วัดบ้านกลาง ตำบลขะยูง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ ดร. กัลยาณี ธรรมจารีย์ นายกสมาคมส่งเสริมเครือข่ายการท่องเที่ยวจังหวัดศรีสะเกษ เป็นประธานเปิดฝึกอบรมโครงการพัฒนาบุคลากร สินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ กิจกรรม พัฒนาทักษะแรงงานด้านการท่องเที่ยวและบริการในยุค New Normal ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 หลักสูตร”การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์” จำนวน 30 ชั่วโมง รุ่นที่ 12/2567 โดยมีนายชัยรัตน์ ฉัตรศุภกุล ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 38 ศรีสะเกษ นางสาวสุดาลักษณ์ พรหมชุณห์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานแผนงานและสารสนเทศ นางสุพิน ศรีเลิศ พนักงานธุรการ ระดับ ส.4 นางสาวบัวเรียน โพธิ์ศรี ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลขะยูง นายทินกร มีพันธ์ รองปลัดอบต.ขะยูง นายวีระพล บุญลุ หัวหน้าสำนักงานปลัดฯ อาจารย์พิมพ์พิลา คงขาว สาขาวิชาการการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ นายเลิศ นนทศิลา กรรมการสมาคมส่งเสริมเครือข่ายการท่องเที่ยว พร้อมแขกผู้มีเกียรติ คณะเจ้าหน้าที่ ผู้เข้ารับการฝึกอบรม ร่วมพิธีเปิด


นายชัยรัตน์ ฉัตรศุภกุล ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 38 ศรีสะเกษ กล่าวว่า การอบรมครั้งนี้เป็นการดำเนินการร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ องค์การบริหารส่วนตำบลขะยูง วัดบ้านกลาง และสมาคมส่งเสริมเครือข่ายการท่องเที่ยวจังหวัดศรีสะเกษ ให้มีการจัดฝึกอบรมหลักสูตรการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ 30 ชั่วโมง ฝึกอบรมระหว่างวันที่ 27 -31 พฤษภาคม 2567 ในพื้นที่ตำบลขะยูง ซึ่งมีสถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม เช่น แหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ วัดเทพปราสาทสระกำแพงน้อย และแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ ในพื้นที่ตำบลขะยูง ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรในพื้นที่ให้สามารถมีรายได้อย่างยั่งยืน


ดร. กัลยาณี ธรรมจารีย์ นายกสมาคมส่งเสริมเครือข่ายการท่องเที่ยวจังหวัดศรีสะเกษ กล่าวว่า นอกจากมาเป็นประธานเปิดอบรมแล้วยังได้เป็นวิทยากรช่วยสอนหลักการเป็นผู้นำเที่ยว หลักการเป็นเจ้าบ้านที่ดี และเทคนิคการเป็นผู้มีทักษะในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ของชุมชน และเรียนรู้การผลิตให้มีคุณภาพมาตรฐาน ไว้ต้อนรับนักท่องเที่ยว ขอขอบพระคุณท่านชัยรัตน์ ฉัตรศุภกุล ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 38 ศรีสะเกษที่มองเห็นความสำคัญของชุมชนที่อยู่ใกล้แหล่งท่องเที่ยว โดยได้นำงบประมาณมาช่วยให้มีการฝึกอบรมความรู้ ทำให้มีแรงงานภาคการท่องเที่ยวเกิดขึ้นอีกหลายด้าน ชุมชนมีรายได้จากการต้อนรับนักท่องเที่ยว ได้เป็นผู้นำเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในชุมชน ได้ขายสินค้าผลิตภัณฑ์ของชุมชน มีรายได้ยั่งยืน

บุญทัน ธุศรีวรรณ รายงาน