อธิบดีกรมโยธาธิการและฝังเมืองกาฬสินธุ์ บินด่วนกาฬสินธุ์ ฟันสอง หจก.รับเหมาใหม่ (หจก.ประชาพัฒน์ – เฮงนำกิจ) สิ้นสุดทางเลือก หมดสิทธิ์ทำงานกรมโยธาฯ เบื้องต้น 6 โครงการ หรืออาจจะถูกยกเลิกทั้งหมด ขณะที่ผู้รับเหมารายย่อย-ชาวบ้าน เข้าร้องเรียนข้อเท็จจริงยืนยันยกเลิกทั้งหมดภายในสิ้นเดือนนี้
จากกรณีปัญหา 8 โปรเจกต์งบประมาณ 558.2 ล้านบาท ที่จ.กาฬสินธุ์ กลายเป็นปัญหาอื้อฉาวของ กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย โดย กธจ.กาฬสินธุ์ พร้อมด้วย ข้าราชการบำบาญ ชาวบ้าน ออกมาแฉพฤติกรรมการก่อสร้าง โครงการพัฒนาเมืองกาฬสินธุ์ กรมโยธาธิการและผังเมือง ได้ทยอยอนุมัติงบประมาณให้ก่อสร้างตั้งแต่ปี 2562-2565 เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมใน 3 อำเภอ คือ อ.เมืองกาฬสินธุ์ อ.กมลาไสย อ.ฆ้องชัย ประกอบด้วย 1,โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริ่มแม่น้ำชี วัดใหม่สามัคคี ต.เจ้าท่า อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ งบประมาณ 59,306,000 บาท, 2,โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริ่มแม่น้ำชี บ้านหนองหวาย-บ้านหนองคล้า ต.ลำชี อ.ฆ้องชัย จ.กาฬสินธุ์ งบประมาณ 39,270,000 บาท, 3.โครงการสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริ่มแม่น้ำชี (ระยะ 2) วัดลำชีวนาราม ต.ลำชี อ.ฆ้องชัย จ.กาฬสินธุ์ งบประมาณ 59,270,000 บาท, 4.โครงการรับเหมาก่อสร้างระบบท่อระบายน้ำแก้ปัญหาน้ำท่วมเมืองกาฬสินธุ์ 148,200,000 บาท, 5.โครงการสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งแก่งดอนกลาง เขตเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ งบประมาณ 11,000,000 บาท, 6.โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมลำน้ำปาว หน้าวัดใต้โพธิ์ค้ำ เขตเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ งบประมาณ 108,800,000 บาท, 7.โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมแม่น้ำปาวบริเวณซอยน้ำทิพย์ เขตเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ งบประมาณ 59,350,000 บาท, 8.โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมแม่น้ำพาน ต.ลำพาน อ.เมืองกาฬสินธุ์ จ.กาฬสินธุ์ งบประมาณ 44,490,000 บาท ที่ผู้รับจ้างก่อสร้างไม่เสร็จแม้แต่ตัวเดียวยังความเสียหายต่อเศรษฐกิจ ความเป็นอยู่ความปลอดภัยของประชาชน แต่ปรากฏว่า กรมโยธาธิการและผังเมือง กลับต่อสัญญา โดยอ้างว่าผู้รับจ้างประสบปัญหาน้ำท่วม ชาวบ้านจึงร้องเรียนเพื่อของให้ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เข้ามาตรวจสอบ เพราะเชื่อว่าพฤติกรรมนี้อาจจะมีปัญหาในเชิงระบบที่มองได้ว่าเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับผู้รับจ้างที่มีเพียง 2 ราย เป็นเครือข่ายเดียวกัน ซึ่งทำงานไม่เสร็จแต่กลับได้เบิกเงินค่างวดงานที่ทิ้งงานจนทำให้วัสดุอุปกรณ์ที่ก่อสร้างไม่ว่าจะเป็นก้อนหิน กองดิน เสาเข็ม กระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชน และยังพบว่าเกิดการชำรุดเสียหาย อีกทั้ง นายสนั่น พงษ์อักษร ผู้ว่าราชการจังหวัดกาสินธุ์ ก็ออกมาปฏิเสธปัญหาโดยอ้างว่าเป็นงบประมาณของกรมโยธาธิการและผังเมืองกาฬสินธุ์ ไม่เกี่ยวกับงบประมาณจังหวัดกาฬสินธุ์ และให้สื่อมวลชนไปถาม อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมืองเอาเอง ตามที่เสนอข่าวไปแล้วนั้น
ล่าสุดเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2567 เวลา 14.30 น.นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง พร้อมคณะ เดินทางเข้ามาติดตามปัญหาการก่อสร้างงบพัฒนาเมืองกาฬสินธุ์ 8 โครงการ โดยโฟกัสไปที่โครงการก่อสร้างระบบระบายน้ำหลักเพื่อบรรเทาปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนเมืองกาฬสินธุ์ งบประมาณ 148 ล้านบาท รูปแบบการก่อสร้างภาพรวมจะมีการก่อสร้างด้วยการ วางระบบระบายน้ำท่อกลม ขนาด 1.20 เมตร ความยาว 4,563 เมตร ระบบระบายน้ำท่อกลม ขนาด 1.50 เมตร ความยาว 1,825 เมตร ระบบระบายน้ำท่อเหลี่ยมขนาด 1.50 คูณ1.50 เมตร ความยาว 2,270 เมตร และอาคารชลศาสตร์ จำนวน 2 แห่ง ซึ่งจุดที่ก่อสร้างดังกล่าวจะมีทั้งหมด 6 จุด ผ่าน 36 ชุมชนเมืองกาฬสินธุ์ ที่คาราคาซังไม่แล้วเสร็จเนื่องจากผู้รับเหมาทิ้งงาน มี นายชาญยุทธ โคตะนนท์ ประธานคณะทำงานเครือข่ายภาคประชาสังคม ในการต่อต้านการทุจริต ปปท.เขต 4 ประจำ จ.กาฬสินธุ์ และที่ปรึกษาฝ่ายวิชาการ คณะ กธจ.กาฬสินธุ์ นายประหยัด เรเชียงแสน ข้าราชการบำนาญ ด.ต.สมคิด นันทะสมบูรณ์ นายกเทศบาลตำบลลำพาน อ.เมืองกาฬสินธุ์ เข้าติดตาม และสื่อมวลช โดยได้ดูสภาพการก่อสร้างรวม 5 จุด ที่ก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ
การลงพื้นที่ นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง ยังได้เดินทางไปให้กำลังใจและรับฟังปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน โดยเฉพาะในจุดที่มีการติดป้ายถนน 7 ชั่วโคตร และได้รับฟังปัญหาความเดือดร้อนที่ผู้รับจ้างรายใหญ่ไม่รับผิดชอบ ในการจ่ายเงินให้กับผู้รับเหมารายย่อนที่ไปค้างเงินเอาไว้เป็นจำนวนมาก หลายครอบครัวล้มละลาย ซึ่ง อธิบดีโยธาฯ โดยยืนยันว่าจะให้ความเป็นธรรมกับชาวบ้านและจะทำงานให้โดยเร่งรัดเพื่อการแก้ไขปัญหาให้รวดเร็วที่สุด
จากนั้น ที่สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองกาฬสินธุ์ นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง ได้เข้าพบผู้แทนผู้บริหารท้องถิ่น ส่วนใหญ่เป็นนายกเทศมนตรีในแต่ละพื้นที่ โดยที่ประชุม สื่อมวลชนได้สักถาม เพื่อขอคำตอบ ตามข้อเท็จจริงที่ พบว่าเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง ได้เคยคาดโทษผู้รับจ้างรายนี้ไว้ว่า หากยังดำเนินการไม่ได้ตามเป้าหมาย จะขึ้นบัญชีห้ามเข้ายื่นประมูลงาน จนถึงขั้นการบอกเลิกสัญญาและแจ้งรายชื่อเป็นผู้ทิ้งงานของทางราชการ โดยมีนายศุภศิษย์ กอเจริญยศ ผวจ.กาฬสินธุ์ ในขณะนั้นเป็นพยาน กรณีนี้ปรากฏเป็นข่าวในเว็บไซด์ กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย เผยแพร่ไว้เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2566 แต่ปรากฏว่าจนถึงปัจจุบัน ปี 2567 ผู้รับจ้างรายนี้ก็ยังก่อสร้างไม่เสร็จไม่มีผลอะไร ยังคงสร้างผลกระทบต่อคนภายในชุมชน ทำให้เศรษฐกิจเมืองกาฬสินธุ์เสียหายกว่า 7,500 ล้านบาท นอกจากการตรวจสอบพบว่าผู้รับจ้าง เป็นกลุ่มบริษัทเครือญาติกัน มี 2 บริษัท ได้รับงบประมาณพัฒนาเมืองกาฬสินธุ์ จากกรมโยธาธิการและผังเมืองจัดสรรให้ ทั้งหมด 8 โครงการ เม็ดเงินรวมกว่า 558.2 ล้านบาท มีพฤติกรรมเดียวกัน สร้างไม่เสร็จ ไม่ก่อสร้างต่อเนื่องมีพฤติกรรมทิ้งงานและเกือบทุกแห่งจะหมดสัญญา ส่วนใหญ่ที่หมดสัญญาไปแล้ว ยังได้รับการต่อสัญญาค่าปรับเป็น 0 บาท ทำให้ชาวบ้านออกมาร้องเรียน ธรรมาภิบาลจังหวัดกาฬสินธุ์ และสื่อมวลชน ให้ตรวจสอบเพื่อระงับยับยังความเสียหายและเพื่อปกป้องงบประมาณซึ่งเป็นเงินภาษีของประชาชน
นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง กล่าวว่า ปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนจังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งเกิดจากผู้รับจ้าง 2 ราย ประกอบด้วย หจก.ประชาพัฒน์ และ หจก.เฮ็งนำกิจ เป็นสองห้างหุ้นส่วนที่ได้รับงาน 8 โครงการและเป็นกลุ่มเดียวกัน จากการตรวจสอบพบว่าการก่อสร้างไม่แล้วเสร็จตามแผนงานที่กำหนดทั้งหมด และก่อนหน้าตนก็เคยมาลงพื้นที่เพื่อติดตามปัญหานี้พร้อมคาดโทษเอาไว้ เบื้องต้นจากการรับทราบข้อมูล ในจำนวน 8 โครงการนั้นยังก่อสร้างไม่เสร็จที่กำลังตรวจสอบตามสัญญาที่เกี่ยวข้องกับระบบพัสดุ คาดว่าจะมีไม่ต่ำกว่า 6 โครงการ ยืนยันว่าจะทำการยกเลิกงานทั้งหมด พร้อมทั้งจะขึ้นบัญชีห้ามเข้ายื่นประมูลงาน จนถึงขั้นการบอกเลิกสัญญาและแจ้งรายชื่อเป็นผู้ทิ้งงานของทางราชการ ตามระเบียบราชการ โดยนับจากนี้คาดว่าไม่เกินสิ้นเดือนเมษายนนี้ จะสามารถออกหนังสือยกเลิกโครงการ ซึ่งแน่นอนว่า จะทำให้ หจก.ประชาพัฒน์ แะ หจก.เฮงนำกิจ จะไม่สามารถเข้ายื่นประมูลงานจากกรมโยธาธิการและผังเมืองได้อีก หากจะดำเนินกิจการก็ต้องเริ่มต้นใหม่ทั้งหมด
“ส่วนการแก้ไขปัญหานี้ หลังจากที่สรุปเรื่องการยกเลิกสัญญาเป็นผู้รับเหมาทิ้งงานแล้ว ทางกรมโยธาธิการและผังเมือง ก็จะดำเนินการเร่งรัดการก่อสร้างให้รวดเร็วที่สุด ส่วนมาตรการการเยี่ยวยา ในเรื่องปัญหาก่อสร้างทางถนนจะทำการซ่อมแซมส่วนปัญหาหนี้สินที่เกิดจากการรับจ้างช่วงก็จะให้ทาง โยธาธิการและผังเมืองกาฬสินธุ์ เป็นหลักในการรวบรวมรายละเอียดเพื่อให้ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นหลักในการเป็นสื่อกลางในการเรียกร้องค่าเสียหายทางแพ่งต่อไป”