Reporter&Thai Army ข่าวประชาสัมพันธ์ ข่าวมุกดาหาร ข่าวรอบรั้วภูธร ข่าวเด่น นิตยสารตำรวจ สถานีประชาชน

จังหวัดมุกดาหารร่วมประชุม กองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ(บกปภ.ช.)แก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM.2.5

จังหวัดมุกดาหารร่วมประชุม กองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ(บกปภ.ช.)แก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM.2.5

เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2568 เวลา 10.00 น. นายวรญาณ บุญณราช ผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร พร้อมด้วยนายรณรงค์ เทพรักษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหารและหัวหน้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม กองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ(บกปภ.ช.)แก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM.2.5 ผ่านระบบ VDO Conference โดยมีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในฐานะผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (บกปภ.ช.) เป็นประธานการประชุมติดตามการแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ตลอดจนร่วมหารือแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5)

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยติดตามสถานการณ์ฯของหน่วยงานต่างๆ ในการดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าว พร้อมขอให้ทุกจังหวัดยกระดับมาตรการอย่างเข้มขัน รวมถึงการบังคับใช้กฏหมายอย่างเด็ดขาด

สำหรับจังหวัดมุกดาหารนายวรญาณ บุญณราช ผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร ได้สั่งยกระดับการดำเนินมาตรการควบคุมการเผาในพื้นที่อย่างเด็ดขาดโดยเฉพาะในพื้นที่ทางการเกษตร โดยให้อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้มงวด กวดขัน และบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อควบคุมการเผาในพื้นที่เกษตรกรรมพร้อมทั้งให้ใช้กลไกท้องถิ่นและท้องที่ มอบหมายให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้นำชุมชน ตลอดจนประชาชนจิตอาสาร่วมกันสอดส่อง ป้องปราม ควบคู่ไปกับการบังคับใช้กฎหมายเพื่อลดการเกิดฝุ่นละอองขนาดเล็ก(PM2.5)จากแหล่งกำเนิดต่างๆ อาทิ การเผาในที่โล่ง การลักลอบเผาป่า ฯลฯ กรณีพบการเผาในพื้นที่ให้ดำเนินการยับยั้งการเผาในทันทีและบังคับใช้มาตรการทางกฎหมายในการห้ามเผาอย่างเด็ดขาด

นอกจากนี้ยังให้ยกระดับมาตรการลดผลกระทบต่อประชาชน โดยให้หน่วยงานด้านสาธารณสุของค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ออกหน่วยให้บริการประชาชนและสร้างการรับรู้ให้ทราบคำแนะนำข้อปฏิบัติที่ถูกต้องในการป้องกันกันตนเอง โดยเฉพาะประชาชนในกลุ่มเสี่ยง ทั้งผู้สูงอายุ ผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจ เด็กและเยาวชนในสถานศึกษาหรือศูนย์เด็กเล็ก ผู้ที่ทำงานกลางแจ้ง ตลอดจนให้จัดหาอุปกรณ์บ้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็ก(PM2.5) จัดเตรียมพื้นที่ปลอดภัย (Safety Zone) ห้องปลอดฝุ่น คลินิกมลพิษ ฯลฯ ไว้ให้บริการประชาชนอย่างเพียงพอและเหมาะสม.