ข่าวเชียงใหม่

ผอ.ชลประทานที่ 1 เผย 3 จ.ชม.ลพ.และมส. อ่างเชิงเดียวหน้าห่วงของการใช้น้ำ การใช้น้ำจากแม่น้ำปิงของ11 อำเภอ ใน จ.เชียงใหม่ 4 อำเภอ

ผอ.ชลประทานที่ 1 เผย 3 จ.ชม.ลพ.และมส. อ่างเชิงเดียวหน้าห่วงของการใช้น้ำ การใช้น้ำจากแม่น้ำปิงของ11 อำเภอ ใน จ.เชียงใหม่ 4 อำเภอ ใน จ.ลำพูน การส่งน้ำเขื่องแม่งัดฯ ปริมาณน้ำใกล้เคียงปี 61 ส่งน้ำเป็นรอบเวร 25 รอบ ประเมินแล้วจะไม่ประสบปัญหาวิกฤติภัยแล้งมีน้ำเพียงไปจนถึงช่วงเพาะปลูก ส่วนแม่ฮองสอนอ่างเชิงเดียวต้องทำตามแผนการบริหารจัดการน้ำ

นายจานุวัตร เลิศศิลป์เจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 1เผยว่า ขอสรุปสถานการณ์น้ำลุ่มน้ำปิงตอนบน ในเขต สชป.1 (ชม.และ ลพ.) (รายงานประจำสัปดาห์ ฉบับที่ 1/2 ลว. 29 มี.ค.62)พื้นที่สองฝั่งแม่น้ำปิงตอนบนครอบคลุมพื้นที่ 11 อำเภอ ใน จ.เชียงใหม่ 4 อำเภอ ใน จ.ลำพูน เปรียบเทียบกับปี 2561 ซึ่งไม่มีปัญหาเรื่องภัยแล้งสภาพน้ำท่าใกล้เคียงปี 61 ภาคความต้องการ (DEMAND) ฤดูแล้ง ถึงปลายเดือน พ.ค. 1.การเกษตร = 161,901 ไร่ = 180 ล้าน ลบ.ม. 2.อุปโภค-บริโภค(ประปา) = 21 ล้าน ลบ.ม. 3.ประเพณี, การท่องเที่ยว (สงกรานต์) = 1 ล้าน ลบ.ม. รวมทั้งสิ้น = 202 ล้าน ลบ.ม. (ใช้น้ำจากเขื่อนแม่งัดฯ 110 ล้าน ลบ.ม. และ Base Flow 92 ล้าน ลบ.ม.)ภาคต้นทุน (SUPPLY) 1.เขื่อนแม่งัดฯ 195.76 ล้าน ลบ.ม. (73.87%) น้อยกว่า ปี 61 2.10% 2.การจัดสรรน้ำลงลำน้ำปิง ปี 2561 จัดสรรลง 95 ล้าน ลบ.ม. (แบบรอบเวรแบ่งเป็น 19 งวด) (ไม่มีปัญหาภัยแล้ง) แผน ปี 2562 จัดสรรลง 110 ล้าน ลบ.ม. (แบบรอบเวรแบ่งเป็น 25 งวด)(ประเมินแล้วจะไม่ประสบปัญหาวิกฤติภัยแล้ง) ปัจจุบันส่งน้ำแล้ว 12 งวด รวม 46.36 ล้าน ลบ.ม. (น้อยกว่าแผน 8.87 ล้าน ลบ.ม.) : เหลือน้ำที่จัดสรร 64.39 ล้าน ลบ.ม.

ส่วนการกักเก็บประตูระบายน้ำดอยน้อย ปริมาณน้ำ 2.378 ล้าน ลบ.ม.ความจุที่ระดับเก็บกัก 3.132 ล้าน ลบ.ม. (ลดระดับน้ำด้านเหนือน้ำเพื่อเสริมคันกั้นน้ำ) ประตูระบายน้ำ.วังปาน ปริมาณน้ำ 4.660 ล้าน ลบ.ม.ความจุที่ระดับเก็บกัก 4.515 ล้าน ลบ.ม. และประตูระบายน้ำ แม่สอย ปริมาณน้ำ 2.445 ล้าน ลบ.ม.ความจุที่ระดับเก็บกัก 7.005 ล้าน ลบ.ม. (ลดระดับน้ำด้านเหนือน้ำเพื่อเสริมคันกั้นน้ำ)การคาดการณ์ว่าสามารถบริหารจัดการน้ำจนถึงสิ้นเดือน มิ.ย. 62 โดยเกินจากอุตุฯพยากรณ์กลางเดือน พ.ค. เขื่อนแม่งัดฯ มีน้ำเหลือประมาณ 45 ล้าน ลบ.ม. ณ 1 ก.ค. 62สำหรับเตรียมแปลงตกกล้าฤดูฝนปี 62 ฤดูแล้งปี 62 ไม่มีปัญหาภัยแล้งในลุ่มน้ำปิงตอนบน

ส่วนสถานการณ์ 3 จังหวัด จ.เชียงใหม่ อ่างขนาดใหญ่ 2 แห่ง เขื่อนแม่งัดฯ น้ำต้นทุน 195.76 ล้าน ลบ.ม.(73.87%) น้อยกว่า ปี 61 2.10% พื้นที่การเกษตร 69,008 ไร่ : น้อยกว่า ปี 61 1% (ไม่มีปัญหาขาดแคลนน้ำ) เขื่อนแม่กวงฯ น้ำต้นทุน 98.99 ล้าน ลบ.ม.(37.64%) มากกว่า ปี 61 4.68% พื้นที่การเกษตร 77,322 ไร่ : มากกว่า ปี 61 10% (ไม่มีปัญหาขาดแคลนน้ำ) ฝายแม่แตง ปริมาณน้ำไหลเข้าฝาย 3.523 ลบ.ม./วินาที มากกว่า ปี 61 พื้นที่การเกษตร 47,792 ไร่ : มากกว่า ปี 61 4% (ไม่มีปัญหาขาดแคลนน้ำ) อ่างขนาดกลาง 12 แห่ง น้ำต้นทุน 43.66 ล้าน ลบ.ม.(50.38%) น้อยกว่า ปี 61 15.65% พื้นที่การเกษตร (ชป.กลาง) 73,661 ไร่ : มากกว่า ปี 61 2% อ่างขนาดเล็ก 117 แห่ง น้ำต้นทุน 37.17 ล้าน ลบ.ม.(57.07%) น้อยกว่า ปี 61 6.18%

ส่วนที่ จ.ลำพูน อ่างขนาดกลาง 4 แห่ง น้ำต้นทุน 12.45 ล้าน ลบ.ม.(35.47%) น้อยกว่า ปี 61 11.15% พื้นที่การเกษตร (ชป.กลาง) 64,811 ไร่ : น้อยกว่า ปี 61 15%
อ่างขนาดเล็ก 47 แห่ง น้ำต้นทุน 10.16 ล้าน ลบ.ม.(41.20%) น้อกยว่า ปี 61 11.12% และจ.แม่ฮ่องสอน อ่างขนาดกลาง 2 แห่ง น้ำต้นทุน 1.08 ล้าน ลบ.ม.(84.38%) น้อยกว่า ปี 61 5.49% พื้นที่การเกษตร (ชป.กลาง) 11,152 ไร่ : เท่ากับปีแล้ว อ่างขนาดเล็ก 29 แห่ง น้ำต้นทุน 8.03 ล้าน ลบ.ม.(70.84%) น้อยกว่า ปี 61 4.87% ลักษณะโครงการขนาดกลาง/เล็กเป็นแหล่งน้ำเชิงเดี่ยวซึ่งจะต้องบริหารจัดการเฉพาะแห่ง โดยกลุ่มผู้ใช้น้ำและเจ้าหน้าที่ชลประทาน ดำเนินการกำหนดแผนการเพาะปลูกและบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสม กับปริมาณน้ำต้นทุนในช่วงต้นฤดูแล้ง.

ทรงวุฒิ ทับทอง
Cr. ศิระ วีรตันตยาภรณ์