วิทยาลัยบริหารศาสตร์ ม.แม่โจ้ จับมือสภาชนเผ่าพื้นที่เมืองแห่งประเทศไทย ถกปัญหา การศึกษาเพื่อการพัฒนาคนรุ่นใหม่ ชุมชนบนพื้นที่สูง ทำอย่างไรคนรุ่นใหม่ อยู่รอดได้กับสภาวะสังคมโลกปัจจุบันบนโลกไอที
เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2562 ที่ห้องประชุม นรสิงห์ ชั้น 2 วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ รศ.ดร.ญาณิน โอภาสพัฒนากิจ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานเปิด เวทีการเสวนาเชิงวิชาการ ในหัวข้อการศึกษาเพื่อการพัฒนาคนรุ่นใหม่ ชุมชนบนพื้นที่สูงและชนเผ่าพื้นเมือง ภายใต้แนวความคิดการพัฒนาหลักสูตร ” การสร้างนิเวศทางเพื่อพัฒนาชุมชนบนพื้นที่สูงและชุมชนบนพื้นที่สูงชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย โดยมีนักวิชาการที่เข้าร่วมการเสวนาทางวิชาการครั้งนี้ประกอบด้วย ผศ.ดร.สุริยจรัส เตชะตันมีนสกุล คณบดีวิทยาลัยบริหารศาสตร์ ผศ.ดร.สุวิชาน พัฒนาไพรวัลย์ วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ดร.สมคิด แก้วทิพย์ นักวิชาการ วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นายศักดิ์ดา แสนหมี่ เลขาธิการสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย นายจอนิ โอโดเซาว์ ราษฎรผู้อาวุโส ฯลฯ ชนเผ่าปกาญอ นอกจากนั้นมีนักศึกษาที่กำลังศึกษาระดับปริญญาตรีและโท ในมหาวิทยาลัยชั้นนำของเชียงใหม่ ตลอดจนตัวแทนชนเผ่าพื้นเมืองจากจังหวัดต่าง ๆ ในพื้นที่ภาคเหนือเข้าร่วมจำนวนกว่า 50 ชีวิต
ทั้งนี้ก่อนเริ่มพิธีอย่างเป็นทางการ ผศ.ดร.สุวิชาน พัฒนาไพรวัลย์ แสดงบทเพลงด้วยการขับร้องเพลงด้วยภาษา กะเหรี่ยง ( ทา ปกาญอ และเครื่องดนตรี เตหน่า ) ซึ่งผลิตขึ้นจากวัสดุธรรมชาติ ในเนื้อเพลงที่ขับร้อง ได้สื่อความหมายถึงการเปลี่ยนแปลง ด้านระบบธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และรวมถึงการเปลี่ยนแปลงของจิตรใจมนุษย์บนโลกใบนี้ ทำให้มนุษย์เห็นแก่ตัวกันมากขึ้น เพื่อแสวงหาผลประโยชน์กับทรัพยากรธรรมชาติเป็นของตัวเองเป็นต้น
ผศ.ดร.สุวิชาน พัฒนาไพรวัลย์ กล่าวอีกว่า ในมองปัจจุบันเด็กเยาวชนชนเผ่าบนพื้นที่สูงได้ไหลเข้ามาตัวเมืองกันมากขึ้น เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตการเอาตัวรอด ด้วยการมาเรียนตามมหาวิทยาลัยต่าง ๆ กันมากขึ้น สืบเนื่องจากปัจจุบันการเข้าสู่มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ง่ายกว่าในอดีตเมื่อหลายสิบปีที่ผ่านมา จะเห็นได้จากมีทั้งมหาวิทยารัฐฯและเอกชนที่เปิดสอนหลักสูตรเพิ่มขึ้นอย่างดอกเห็ด เมื่อคนกลุ่มนี้เรียนจบออกไปแล้ว ไม่มีงานทำ ขณะที่เรียนอยู่ต้องกู้เงินเรียน อีกทั้งต้องเป็นหนี้สินตามมาด้วย บางคนมีงานทำแต่ไม่ได้กลับไปอยู่ที่บ้านเกิด จึงทำให้เกิดช่องว่างระว่างชุมชนวัฒนธรรมมากขึ้น การจัดสัมมนาวันนี้ ได้พูดถึงการจัดทำหลักสูตรเพื่อรองรับแก่เด็กเยาวชน ต้องมีมหาวิทยาลัยหนึ่งเพื่อสร้างคนรุ่นใหม่ ในการรองรับ โดยใช้ชื่อว่านิเวศปัญญา เอาองค์ความรู้วัฒนธรรมท้องถิ่น การเกษตรพื้นบ้าน ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยเอาความรู้วิถีชีวิตวัฒนา องค์ความรู้ของคนรุ่นเก่า มาผสมผสานกับเทคโนโลยี สมัยใหม่ เพื่อพึ่งตัวเองได้
อย่างไรก็ตาม อยากจะฝากถึงเด็กเยาวชน ตลอทั้งผู้ปกครองและเด็กเยาวชนที่กำลังเรียนระดับมัธยมปลาย ว่าควรจะวางแผนชีวิตการเรียนสาขาวิชาที่ตรงกับเป้าหมายของชีวิตบุตรหลานว่า จะไปในทิศทางใดที่เรียนแล้วมีงานทำ ขณะนี้วิทยาลัยบริหารศาสตร์ โดยมีมหาวิทยาแม่โจ้รองรับเพื่อพัฒนาหลักสูตรนี้ อนาคตจะสามารถเปิดสอนทั้งระดับปริญญาตรี โท ฯ
ด้าน ดร.สมคิด แก้วทิพย์ นักวิชาการ วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า การจัดเสวนาวิชาการ หัวข้อการศึกษาเพื่อการพัฒนาคนรุ่นใหม่ ชุมชนบนพื้นที่สูงและชนเผ่าพื้นเมือง ภายใต้แนวความคิดการพัฒนาหลักสูตร ” การสร้างนิเวศทางเพื่อพัฒนาชุมชนบนพื้นที่สูงและชุมชนบนพื้นที่สูงชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ในครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 โดยได้เชิญพระคุณเจ้าที่มาจากบนพื้นที่สูง ผู้อาวุโส ในชุมชน สภาชนพื้นเมืองแห่งประเทศไทย เพื่อร่วมกันกำหนดหลักสูตร จากนั้นเวทีต่อไปจะได้เชิญเกษตรกรคนรุ่นใหม่ ผู้ที่พร้อมจะรับการเปลี่ยนแปรด้านการเกษตรที่ยั่นยืน ในการบริหารจัดการองค์ความรู้ระบบนิเวศของแต่ละชุมชน
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมดีว่า สำหรับกิจกรรมการเสวนาวิชาการเพื่อการพัฒนาคนรุ่นใหม่ ชุมชนบนพื้นที่สูงและชนเผ่าพื้นเมืองในครั้งนี้ ภายในงานมีการนำเมล็ดพันธุ์ ธัญพืชพืชต่าง ๆ ที่ได้จากเกษตรกรบนพื้นที่สูงมาจัดแสดง ได้มีการนำดินจากแต่ละพื้นที่บรรจุในถุงและมาร่วมกันในกระบอกไม้ไผ่ เพื่อมอบให้ผู้บริหาร นักวิชาการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อนำดินทั้งไปปลูกผัก เป็นการแสดงถึง เป็นจุดรวมความคิดหรือบ่มเพาะองค์ความรู้ภูปัญญา วิชาการ ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และจะได้กระจายความรู้ดังกล่าว ไปสู่เกษตรกรคนเยาวชนรุ่นใหม่ บนพื้นที่สูงทุกพื้นที่เป็นระดับต่อไป