ข่าว ร้อยเอ็ด ข่าวรอบรั้วภูธร ข่าวเด่น

เครือข่ายป.ป.ช.ฯร้อยเอ็ด พร้อมขับเคลื่อนผู้นำต้นแบบ ในการปกป้องสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน

27 มิถุนายน 2567 ที่ ห้องประชุมอินทนิล โรงเรียนเทศบาลชุมชนหนองหญ้าม้า ต.ในเมือง อ.เมืองร้อยเอ็ด จ.ร้อยเอ็ด ดร.อุปกรณ์ ดีเสมอ ประธานเครือข่ายป.ป.ช.ภาคประชาสังคมภาคอีสานจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นประธานการประชุมโครงการเพิ่มประสิทธิภาพและพัฒนาเครือข่ายผู้นำชุมชนต้นแบบในการปกป้องสาธารณะสมบัติของแผ่นดินและการป้องกันปราบปรามการการทุจริตในจังหวัดร้อยเอ็ด ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 มีกรรกมการเข้าร่วมประชุม 14 คน ได้แก่ นายยงพันธ์ พันธ์ดงยาง รองประธานฯ ดร.ธงชัย ธราวุธ ดร.โกวิท อ่อนประทุม นายมงคล จันทรประทักษ์ นายประดิษฐ์ ศรีประสิทธิ์ นายวิทวัส บุญทา ผศ.ดร.สุรสิทธิ์ ไกรสิน ดร.ทักษิณ สิทธิศักดิ์ ดร.จิรวรรณ สิทธิศักดิ์ นายสุดใจ สุทธิรันดร์ นายสมนึก บุญศรี นายอภิฉัตร ภูสนาม และ ดร.กัลญา อุปัชฌาย์ กรรมการและเลขานุการ มีงบประมาณจากกองทุนฯป.ป.ช. จำนวน 524,700 บาท


ดร.อุปกรณ์ ดีเสมอ ประธานเครือข่ายป.ป.ช.ภาคประชาสังคมภาคอีสานจังหวัดร้อยเอ็ด ประธาน กล่าวว่า โดยในที่ประชุมได้ระดมความคิดเห็นในการวิเคราะห์ปัญหาและแนวทางแก้ไข ในการปฏิบัติหน้าที่รุ่นที่ผ่านมา การอนุมัติโครงการปีนี้2567 พิจารณาแผนการดำเนินโครงการ กำหนดจำนวนและวิทยากรผู้ดูแลผู้นำต้นแบบ 200 คน จาก20อำเภอๆละ 10 คน โดยจะจัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการผู้นำต้นแบบ จำนวน 2 วัน 1คืน คือ วันพฤหัสที่ 25-วันศุกร์ที่ 26 ก.ค. 2567 ที่ฝึกอบรมจะแจ้งให้ทราบ โดยหลังจากผ่านการฝึกอบรมจะได้ลงพื้นที่เพื่อติดตามผลงาน เพื่อรายงานต่อกองทุนป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(กองทุนป.ป.ช.)ต่อไป ในช่วงนี้ท่านใดมีความประสงค์จะเข้าอบรมผู้นำต้นแบบและเข้าร่วมกิจกรรม แจ้งได้ที่กรรมการทุกท่านหรือที่ ดร.อุปกรณ์ ดีเสมอ โทร 0895697216


ดร.อุปกรณ์ ดีเสมอ กล่าวต่อไปว่า มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ และสนับสนุน ภาคเอกชนในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ หรือรณรงค์ในการป้องกันการทุจริต จึงเห็นควรได้ดำเนินการจัดทำ”โครงการเพิ่มประสิทธิภาพและพัฒนาเครือข่ายผู้นำชุมชนต้นแบบในการปกป้องสาธารณะสมบัติของแผ่นดินและ การป้องกันปราบปรามการการทุจริตในจังหวัดร้อยเอ็ด ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567”
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ เครือข่าย ป.ป.ช.ภาคประชาสังคม และประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ เกิดกระบวนการเรียนรู้จาก การปฏิบัติจริง ส่งผลให้เกิดความตื่นตัว ไม่ยอม ไม่ทน ไม่เฉยต่อการทุจริต และเกิดเป็นชุมชนที่ร่วมต่อต้านการทุจริตอย่างเข้มแข็ง,เครือข่ายภาคประชาสังคม และประชาชนที่เข้าร่วมโครงการในพื้นที่ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการตรวจสอบการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ รวมทั้งให้ความสำคัญต่อการสร้างความโปร่งใสและตรวจสอบได้ในการใช้จ่ายงบประมาณโครงการต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น กลุ่มเป้าหมาย เครือข่าย ป.ป.ช.ภาคประชาสังคมผู้นำต้น/แกนนำชุมชนต้นแบบ จาก 20 อำเภอ ๆ ละ 10 คน รวม 200 คน

สมนึก บุญศรี  รายงาน