Reporter&Thai Army ข่าว สรุาษฎร์ธานี ข่าวรอบรั้วภูธร ข่าวเด่น

ศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทาน ภาค 4 ขับเคลื่อนตำบลโมเดล คืนข้อมูล“ประสงค์โมเดล” เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาต้นน้ำ สร้างความสุขแก่ประชาชน

27 พฤษภาคม 2567 ณ องค์การบริหารส่วนตำบลประสงค์ พันเอกภัทรชัย แทนขำ รองเลขานุการ ศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทานภาค 4 เป็นประธานการประชุมคืนข้อมูลแก่ ตำบลประสงค์ มี นายพลศักดิ์ กรณ์ทิพย์ นายก อบต.ประสงค์ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ผู้อำนวยการสถานศึกษา ตัวแทนหน่วย นพค.46 ,หน่วย ร.25 พัน.3 กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จิตอาสา 904 ,จิตอาสาภาคประชาชน และ มวลชนไทยอาสาป้องกันชาติ กอ.รมน.ภาค 4 อำเภอท่าชนะ เข้าร่วมประชุม โดยได้คืนปัญหาจากการลงเยี่ยมบ้านเด็กนักเรียน แบ่งเป็นครอบครัวที่สมบูรณ์ และครอบครัวที่ไม่สมบูรณ์ ครอบครัวที่ไม่สมบูรณ์มีปัญหาเรื่องความยากจน คุณภาพชีวิต ที่อยู่อาศัย และสุขภาพ โดยให้ระบุตัวบุคคล เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาครอบครัวและสร้างครอบครัวให้เข้มแข็ง คืนปัญหาของสถานศึกษา โรงเรียนบ้านศรีพนม โรงเรียนบ้านท่าใหม่ โรงเรียนวัดกาฬสินธุ์ คืนปัญหาน้ำท่วมพื้นที่โรงเรียน น้ำแล้งขาดแคลนน้ำ ปัญหาขยะ ปัญหาความไม่ปลอดภัยในสถานศึกษาและปัญหาการขาดแคลนอุปกรณ์การเรียนการสอน คืนปัญหาชุมชน ได้แก่ปัญหายาเสพติด ปัญหาไฟฟ้าไม่ทั่วถึง การขาดน้ำปะปา น้ำในการเกษตร ขาดสัญญาณโทรศัพท์ ปัญหาช้างป่า ปัญหาลิงป่า เป็นต้น มีผู้เข้าร่วมประชุม 40 คน
หลังจากนั้นเวลา 1300 ลงพื้นที่โรงเรียนบ้านศรีพนม เพื่อตรวจสอบสภาพปัญหาความเดือดร้อนน้ำท่วมอาคารเรียนและความไม่ปลอดภัยในโรงเรียนเนื่องจากโรงเรียนอยู่ติดกับถนนใหญ่ มีบุคคลภายนอกสัญจรผ่านเข้ามาได้ทางรั้วลวดหนามซึ่งสร้างความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของนักเรียนในสถานศึกษา มี นางสาวธนิดา รามรงค์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านศรีพนม และคณะครูอาจารย์ ให้การต้อนรับ
เวลา 1400 ลงพื้นที่โรงเรียนบ้านท่าใหม่ตรวจสอบปัญหาน้ำท่วมขัง ปัญหาขยะ และปัญหาการขาดแคลนน้ำในหน้าแล้ง มี นางสาวอุษณีย์ โยชินะเวคิน ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านท่าใหม่ คณะครูอาจารย์ และกรรมการสถานศึกษา ให้การต้อนรับ


เวลา 1500 ลงพื้นที่โครงการทำนบดินห้วยปลายพร้อมระบบส่งน้ำ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ หมู่ที่ 16 ตำบลประสงค์ อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อดูปัญหาการขาดแคลนน้ำ และนำโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริมาแก้ปัญหาให้กับพี่น้องประชาชนอย่างไร

พันเอกภัทรชัย แทนขำ กล่าวว่า“การจัดตั้งตำบลโมเดล เป็นการสกรีนปัญหาของพี่น้องประชาชนในตำบล โดยเริ่มจากเด็กนักเรียนทุกสถานศึกษาครอบคลุมในตำบล เราจะได้ปัญหาของเด็กนำไปสู่การแก้ไข และได้ปัญหาของชุมชน เช่นปัญหาคุณภาพชีวิต ปัญหาอาชีพเศรษฐกิจ ปัญหาสุขภาพ และปัญหาครอบครัว รวมถึงปัญหาชุมชน ซึ่งจะนำไปสู่การแก้ไขจากต้นน้ำสู่ปลายน้ำ ทำให้เกิดการแก้ไขปากท้องสร้างอาชีพ การพัฒนาความเป็นอยู่ และการสร้างเยาวชนให้มีความรักและหวงแหนชุมชน จนทำให้ทุกคนเกิดความภาคภูมิใจของการได้เกิดและอยู่ที่นั่น ตำบลโมเดล“