ร้อยเอ็ด…
โครงการเชื่อมร้อยเครือข่ายชุมชนเพื่อสร้างพลังงานที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 2562*ธนาคารน้ำใต้ดิน ซึ่งเป็นแนวทางตามพระราชดำริ ของในหลวงรัชกาลที่ 9 เป็นอีกแนวทางที่กำลังนำมาใช้ในการแก้ปัญหาน้ำ ธนาคารน้ำใต้ดินจะมี 2 ประเภท คือธนาคารน้ำใต้ดิน ระบบปิด และระบบเปิด ธนาคารน้ำใต้ดิน คือ การนำน้ำไปเก็บไว้ที่ชั้นใต้ดินในชั้นหินอุ้มน้ำช่วงหน้าฝนที่มีน้ำมาก ธนาคารน้ำใต้ดินจะช่วยดูดซับน้ำเพื่อนำไปกักเก็บไว้ที่ชั้นหินอุ้มน้ำ เมื่อถึงช่วงหน้าแล้ง ก็สามารถสูบน้ำมาใช้ได้ถ้าทำธนาคารน้ำใต้ดินทั้ง 2 ประเภท ควบคู่ไปด้วยกันจะมีประสิทธิภาพมากที่สุด…….
**วันนี้ 28 ม.ค.2562 ที่หอประชุม อบต,นาอุดม สำนักงานพลังงานจังหวัดร้อยเอ็ด ร่วมกับ องค์การบริหารส่วนตำบลนาอุดม ดำเนินโครงการเชื่อมร้อยเครือข่ายองค์กรและเครือข่ายชุมชนในตำบลนาอุดม จำนวน 17 หมู่บ้าน ประกอบไปด้วย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิก อบต. ประชาชนทั่วไป รวมจำนวน 50 คน เพื่อสร้างพลังงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาพลังงานที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปีงบประมาณ 2562 โดยมี m ว่าที่ ร.ต.อภิศักดิ์ แสนวงศ์ เป็นผู้บรรยาย ขั้นตอนการปฏิบัติการทำธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิด ขั้นตอนดังนี้ ;
ขุดบ่อให้ลึกถึงชั้นหินอุ้มน้ำ จากนั้นใส่ยางรถยนต์เพื่อป้องกันขอบบ่อพังทลาย
จากนั้นใส่วัสดุที่หาได้ในพื้นที่ เช่นขวดน้ำ (ใส่น้ำ 1 ใน 3 ส่วน), ท่อนไม้ หรือเศษปูนให้เต็มช่องว่างด้านนอกยางรถยนต์
นำท่อ PVC มาวางตรงกลางบ่อเพื่อเป็นช่องระบายอากาศ นำวัสดุชนิดเดียวกับที่ใส่ช่องว่างด้านนอกมาเติมใส่ช่องว่างด้านในให้เต็ม
คลุมด้วยผ้าไนล่อน แล้วทับด้วยก้อนหิน และตามด้วยหินละเอียดอีกที เพื่อเป็นตัวกรองให้เศษดิน หรือขยะไม่ให้เข้าไปอุดตันในบ่อ เมื่อฝนตกลงมาน้ำจะไหลสู่ชั้นใต้ดินโดยตรง ผ่านธนาคารน้ำใต้ดิน ระบบปิดที่ทำขึ้นมา
***นายเสฎฐพันธ์ เวียงภักดิ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาอุดม อำเภอโพนนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวถึงประโยชน์ของธนาคารน้ำใต้ดิน
1. ช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมได้ เพราะช่วยให้น้ำซึมลงใต้ดินได้ดีขึ้น
2. ช่วยแก้ปัญหาภัยแล้ง เพราะสามารถสูบน้ำจากธนาคารน้ำใต้ดินใช้ได้ตลอดเวลา
3. แก้ปัญหาน้ำสกปรก เพราะระบบน้ำแบบปิดจะช่วยกรองน้ำให้สะอาดขึ้น
ดำเนิน พรมไชยา/รายงาน