Reporter&Thai Army นิตยสารตำรวจ สถานีประชาชน

กิจกรรมแถลงข่าวและติดตามความคืบหน้าผลการปฎิบัติงานสำคัญของ กอ.รมน.จังหวัด

1.เมื่อ251030ก.พ.62กอ.รมน.จังหวัดก.พ.โดย พ.อ.วีรยุทธ กวยะปาณิก รอง ผอ.รมน.จังหวัด ก.พ.(ท.)ร่วมกับ พ.อ.ประสาน แสงศิริรักษ์ รอง ผบ.กกล.รส.จว.ก.พ. ,
นาย สุวรรณ ศุภกิจเจริญ นายกอบต.สระแก้ว ,นาง คุณารักษ์ เกตุวิทย์ ผอ.ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดกำแพงเพชร ,นาย วิโรจน์ เฮงทรัพย์ กำนัน ต.สระแก้ว ,นาย นพรัตน์ ขอนดอก ผญบ.โพธิ์สวัสดิ์ ม.4 ต.สระแก้ว,ผู้แทนบริษัทน้ำตาลนครเพชร ,ผู้แทนบริษัทสหกรีน ฟอเรสท์จำกัด,คณะครูและนักเรียนรร.บ.โพธิ์สวัสดิ์ต.สระแก้วอ.เมืองจว.ก.พ.ร่วมให้การต้อนรับพล.ท.ธวัช ศรีสว่าง รอง ผอ.ศปป.
กอ.รมน.ภาค 3 และคณะในโอกาสเดินทางมาจัดกิจกรรมแถลงข่าวและติดตามความคืบหน้าผลการปฎิบัติงานสำคัญของ กอ.รมน.จังหวัด ก.พ. ดังนี้
1.1.ห้วงเดือนธันวาคม ถึง เดือนเมษายน ของทุกปีเป็นห้วง “ฤดูกาลหีบอ้อย” ซึ่งจะมาพร้อมกับการเผาไร่อ้อยเพื่อความง่ายในการตัดอ้อยส่งโรงงาน ส่งผลให้เกิดปัญหามลพิษทางอากาศหรือ “หิมะดำ” สร้างความ
เดือดร้อนรำคาญให้กับประชาชนในทุกพื้นที่มายาวนานเป็นประจำทุกปี เมื่อวันที่ 4 ก.พ.62
ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร/ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดกำแพงเพชร ได้ประชุมคณะทำงานนโยบายการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ จากค่าปริมาณฝุ่น
ละอองที่สูงเกินมาตรฐานของจังหวัดกำแพงเพชร ณ ห้องประชุมซุ้มกอ ศูนย์ราชการจังหวัดกำแพงเพชร มีมติในที่
ประชุมเห็นชอบให้ ตำบลสระแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร นำร่องเป็น “พื้นที่ปลอดการเผาไร่อ้อย”
ภายใต้ชื่อ “สระแก้วโมเดล” โดยมอบหมายให้องค์การบริหารส่วนตำบลสระแก้ว เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการ
ขับเคลื่อนโครงการ ฯ,กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดกำแพงเพชร , กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย
จังหวัดกำแพงเพชร ร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ได้กำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาการเผาอ้อย ห้วงที่เหลือ
(กุมภาพันธ์ – เมษายน 2562) ในเขตพื้นที่นำร่อง (ตำบลสระแก้ว) จำนวน 7,929 ไร่ โดยแบ่งการด้าเนินการ
ออกเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้
1.1.1.ขั้นตอนที่ 1: จัดการประชุมหารือร่วมระหว่างส่วนราชการ, ผู้นำท้องที่/ท้องถิ่น และโรงงานน้ำตาล ในพื้นที่
(3 โรงงาน) เพื่อขอให้โรงงานน้ำตาลจัดรถตัดอ้อยสนับสนุน จำนวน 14 คัน พร้อมทั้งหาช่องทางในการรับ
ซื้อใบอ้อยจากชาวไร่อ้อยในรูปแบบม้วนหรืออัดแท่ง เพื่อลดปริมาณการเผาให้มากที่สุด
1.1.2.ขั้นตอนที่ 2: ทำความเข้าใจและจัดทำข้อมูลปริมาณจำนวนอ้อยคงค้างของเกษตรกรแต่ละราย และนำข้อมูลมา
จัดลำดับในการวางแผนสนับสนุนรถตัดอ้อย สำหรับเกษตรกรที่มีไร่อ้อยเป็นแปลงเล็กจะได้จัดหาแรงงาน
ในพื้นที่ (ลักษณะการว่าจ้างลงแขก) เข้าร่วมกันตัดอ้อย
1.1.3.ขั้นตอนที่ 3: การติดตามประเมินผลและขยายผลความส้าเร็จของสระแก้วโมเดลไปยังตำบลอื่นๆ ภายในจังหวัดกำแพงเพชร
1.1.4.ขั้นตอนที่ 4: มาตรการส่งเสริมในระยะยาว มีดังนี้
– บรรจุแนวความคิดนี้ในแผนยุทธศาสตร์จังหวัดกำแพงเพชร โดยกำหนดให้จังหวัดกำแพงเพชร เป็นจังหวัดที่ปลอดการเผาไร่อ้อยภายในระยะเวลา 4 ปี (2562 – 2565)
– การรวมเกษตรกรชาวไร่อ้อยรายย่อยเป็นกลุ่มแปลงใหญ่ เพื่อง่ายต่อการสนับสนุนด้านต่างๆ
– การเพิ่มจำนวนรถตัดอ้อย ของโรงงานน้ำตาลและเอกชน
รายอื่นๆ ให้เพียงพอ ต่อความต้องการ ของเกษตรกรชาวไร่อ้อย
– มาตรการกดดันด้านราคาหรืองดรับซื้ออ้อยที่ได้จากการเผา และให้เพิ่มราคาอ้อยสด (ไม่เผา) ให้ราคาสูงขึ้น
– นำใบอ้อยสดที่เหลือจากการตัด มาทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มด้วยการนำมาอัดแท่ง ส่งขายแหล่ง
พลังงานเชื้อเพลิงทดแทนต่อไป
1.2.กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดกำแพงเพชร ร่วมกับ ชลประทานจังหวัดกำแพงเพชร ,สำนักชลประทานที่ 4 ,ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 8 และกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อยจังหวัดกำแพงเพชร ได้ริเริ่มสำรวจพื้นที่ทางน้ำ เพื่อก้าหนดเป้าหมายในการพัฒนาแม่น้ำปิง โดยการ
กำจัดวัชพืชและพื้นที่ตื้นเขินจากตะกอนดิน ในช่วงแรกในห้วงปลายเดือนตุลาคม 2561 ( จ้านวน 7 วัน)ได้ร่วมกันพัฒนาจนทำให้ภูมิทัศน์ในแม่น้ำปิงตั้งแต่หน้าวัดพระบรมธาตุถึงหน้าลานอนุรักษ์วัฒนธรรมสิริจิตอุทยานเทศบาลเมืองกำแพงเพชรมีทัศนียภาพที่งดงามและประชาชนชาวกำแพงเพชร สามารถได้ใช้ประกอบพิธีวันลอยกระทงสาย
เหมือนเช่นในอดีตที่ผ่านมา
กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดกำแพงเพชร จึงได้ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ร่วมสำรวจพื้นที่ทางน้ำ เพื่อวางแผนขับเคลื่อนพัฒนาลำน้ำปิงต่อจากพื้นที่แรกอย่างต่อเนื่อง อีกจำนวน 3 จุด
ได้แก่
จุดที่ 1 บริเวณด้านท้ายฝายท่อทองแดง ถึง บริเวณร้านวิวสวยน้้าใส
จุดที่ 2 บริเวณบ้านดินบารมีรีสอร์ท ถึง บริเวณท่าทรายเหรียญทองและบริเวณหลังโรงพยาบาลกำแพงเพชร ถึงบริเวณหลังสรรพสามิต
จุดที่ 3 บริเวณมหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร ถึง บริเวณร้านเป่าปาก
จากผลสำเร็จดังกล่าว กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดกำแพงเพชร จะได้วางแผนระยะยาว ร่วมกับ จังหวัดกำแพงเพชรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาแม่น้ำปิงตลอดลำน้ำในพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร (ตั้งแต่อำเภอโกสัมพีนคร ถึง อำเภอขาณุวรลักษบุรี ความยาวประมาณ 104 กิโลเมตร) ให้เป็นต้นแบบของการพัฒนาลำน้ำต่อไป
2.หน่วยจะได้ติดตามความคืบหน้าและรายงานให้ทราบต่อไป