เกษตรกร

ร้อยเอ็ดสุทธิพงษ์อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นเปิดโครงการธนาคารน้ำใต้ดินต้นแบบ2ตำบล22แหล่งน้ำที่อ.เสลภูมิเพื่อบริหารจัดการน้ำนอกเขตชลประทานแก้ปัญหาอุทกภัยและภัยแล้ง

ร้อยเอ็ดสุทธิพงษ์อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นเปิดโครงการธนาคารน้ำใต้ดินต้นแบบ2ตำบล22แหล่งน้ำที่อ.เสลภูมิเพื่อบริหารจัดการน้ำนอกเขตชลประทานแก้ปัญหาอุทกภัยและภัยแล้ง

สมนึก บุญศรี/ร้อยเอ็ด/0885730542–
วันเสาร์ที่24พฤศจิกายน2561 ณ หนองเพียงโคตร บ้านหนองแดง ตำบลท่าม่วง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ประธานเปิด โครงการบริหารจัดการน้ำนอกเขตชลประทาน โดยใช้โครงการธนาคารน้ำใต้ดิน โดยนายมังกร ยนต์ตระกูล นายก อบจ.ร้อยเอ็ด,นายเจริญ สุทธิประภา นายกเทศมนตรีทต.ท่าม่วง,นายสวน ศรีระชัย นายกเทศมนตรีตำบลหนองหลวงและคณะ
โดยที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ดร่วมกับเทศบาลตำบลท่าม่วง เทศบาลตำบลหนองหลวง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด จัดทำโครงการบริหารจัดการน้ำนอกเขตชลประทาน โดยใช้โครงการธนาคารน้ำใต้ดิน ณ หนองเพียงโคตร บ้านหนองแดง ตำบลท่าม่วง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
นายมังกร ยนต์ตระกูล นายก อบจ.ร้อยเอ็ด กล่าวรายงานว่า.-ธนาคารน้ำใต้ดิน ใช้แก้ปัญหา น้ำท่วม ภัยแล้ง โดยธนาคารน้ำใต้ดิน คือ การนำน้ำไปเก็บที่ชั้นใต้ดินในชั้นหินอุ้มน้ำ ในช่วงหน้าฝนที่มีน้ำมาก ธนาคารน้ำใต้ดินจะช่วยดูดซับน้ำเพื่อนำไปกักเก็บไว้ที่ชั้นหินอุ้มน้ำ เมื่อถึงช่วงหน้าแล้ง สามารถสูบน้ำมาใช้ได้

ธนาคารน้ำใต้ดินจะมี 2 ประเภท คือธนาคารน้ำใต้ดิน ระบบปิด และธนาคารน้ำใต้ดิน ระบบเปิด ถ้าทำธนาคารน้ำใต้ดินทั้ง 2 ประเภท ควบคู่ไปด้วยกันจะมีประสิทธิภาพมากที่สุด ธนาคารน้ำใต้ดิน ระบบปิด ใช้หลักการขุดบ่อเพื่อส่งน้ำไปเก็บไว้ที่ชั้นน้ำบาดาล ขนาดและความลึกของบ่อขึ้นอยู่กับสภาพ และชั้นดินของแต่ละพื้นที่ โดยมีขั้นตอนดังนี้ ขุดบ่อให้ลึกถึงชั้นหินอุ้มน้ำ จากนั้นใส่ยางรถยนต์เพื่อป้องกันขอบบ่อพังทลาย จากนั้นใส่วัสดุที่หาได้ในพื้นที่ เช่นขวดน้ำ (ใส่น้ำ 1 ใน 3 ส่วน), ท่อนไม้ หรือเศษปูนให้เต็มช่องว่างด้านนอกยางรถยนต์ นำท่อ PVC มาวางตรงกลางบ่อเพื่อเป็นช่องระบายอากาศ นำวัสดุชนิดเดียวกับที่ใส่ช่องว่างด้านนอกมาเติมใส่ช่องว่างด้านในให้เต็ม คลุมด้วยผ้าไนล่อน แล้วทับด้วยก้อนหิน และตามด้วยหินละเอียดอีกที เพื่อเป็นตัวกรองให้เศษดิน หรือขยะไม่ให้เข้าไปอุดตันในบ่อ เมื่อฝนตกลงมาน้ำจะไหลสู่ชั้นใต้ดินโดยตรง ผ่านธนาคารน้ำใต้ดิน ระบบปิดที่ทำขึ้นมา

ธนาคารน้ำใต้ดิน ระบบเปิด เป็นการเปิดผิวดินเพื่อที่จะสามารถใช้น้ำในระดับผิวดินได้เลย โดยจะมีการขุดบ่อขนาดใหญ่ แต่ขนาดเท่าไหร่ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของพื้นที่ และความต้องการ โดยมีขั้นตอนดังนี้ เจาะพื้นบ่อเป็นหลุม 3 หลุมให้ลึกถึงชั้นหินอุ้มน้ำ เพื่อให้น้ำไหลลงชั้นหินอุ้มน้ำได้ดี และมีช่องสำหรับถ่ายเทอากาศจากโพรงใต้ดิน เมื่อถูกน้ำเข้าไปแทนที่ โดยน้ำที่นำมาเก็บนั้นมาจากหลายแหล่งด้วยกัน เช่น น้ำฝน หรือน้ำจากการทำธนาคารน้ำใต้ดิน ระบบปิด ซึ่งเมื่อน้ำถูกเติมลงชั้นใต้หินอุ้มน้ำปริมาณมากพอ น้ำจะเอ่อล้นมาที่บ่อโดยอัตโนมัติ ซึ่งเกษตรกรสามารถสูบน้ำจากบ่อนี้มาใช้ได้ทันที วิธีนี้จะช่วยให้เกษตรกรไม่ต้องขุดเจาะหาแหล่งน้ำ หรือสูบน้ำจากแหล่งน้ำไกลๆ ประหยัดพลังงาน แถมช่วยลดค่าใช้จ่ายได้ปีละหลายล้านบาทเลยทีเดียว

ประโยชน์ของธนาคารน้ำใต้ดิน 1. ช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมได้ เพราะช่วยให้น้ำซึมลงใต้ดินได้ดีขึ้น 2. ช่วยแก้ปัญหาภัยแล้ง เพราะสามารถสูบน้ำจากธนาคารน้ำใต้ดินใช้ได้ตลอดเวลา 3. แก้ปัญหาน้ำเค็ม เพราะมวลน้ำเค็มจะมีน้ำหนักมากกว่าน้ำจืด ฉะนั้นน้ำเค็มจะอยู่ด้านล่าง 4. แก้ปัญหาน้ำสกปรก เพราะระบบน้ำแบบปิดจะช่วยกรองน้ำให้สะอาดขึ้น
เป้าหมายในการดำเนินงาน 1 แหล่งน้ำในพื้นที่ตำบลท่าม่วงจำนวน 12 แห่ง 2 แหล่งน้ำในพื้นที่ตำบลหนองหลวงจำนวน 10 แห่ง
ปชส.อบจ.รอ.- ภาพ
สมนึก บุญศรี/ข่าว