ข่าว สรุาษฎร์ธานี ข่าวรอบรั้วภูธร ข่าวเด่น

สุราษฎร์ธานี ประชุมคณะกรรรมการพิจารณาผลการจัดทำรายงานประมาณการเศรษฐกิจ ด้วยวิธี Management Chart  

25 กันยายน 2567 ที่ ห้องบรรจงแกรนด์บอลรูม 3 โรงแรมบรรจงบุรี ตำบลมะขามเตี้ย อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี นายเจษฎา จิตรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี มอบหมายให้นายบันดาล สถิรชวาล รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานในการประชุมคณะกรรรมการพิจารณาผลการจัดทำรายงานประมาณการเศรษฐกิจจังหวัดสุราษฎร์ธานีด้วยวิธี Management Chart ครั้งที่ 3/2567 เพื่อประมาณการเศรษฐกิจไทย ปี 2567 -2568 และอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจังหวัดสุราษฎร์ธานี

สำหรับเศรษฐกิจจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในปี 2567 ด้านการขยายตัวเศรษฐกิจจังหวัดสุราษฎร์ธานี ปี 2567 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.7 ซึ่งเป็นการขยายตัวของด้านอุปทานและอุปสงค์ เศรษฐกิจด้านการผลิต (Supply) ด้านอุปทาน คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 7.5 สะท้อนจากภาคบริการ คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 21.0 สะท้อนจากจำนวนนักท่องเที่ยวผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองสมุยเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.1 ภาษีมูลค่าเพิ่มหมวดโรงแรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.0 และภาษีมูลค่าเพิ่มหมวดค้าส่งค้าปลีกเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.1 เนื่องจากการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของการท่องเที่ยวตามจำนวนผู้เยี่ยมเยือนทั้งต่างชาติและชาวไทยที่เพิ่มขึ้น การฟื้นตัวของอุตสาหกรรมการบินที่จะรองรับนักท่องเที่ยวที่เติบโตขึ้น และการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่องของหน่วยงานรัฐและเอกชนในพื้นที่ รวมถึงมึนโยบายในการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวของจังหวัด ประกอบกับมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวของภาครัฐ

สำหรับภาคอุตสาหกรรม คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.0 สะท้อนจากภาษีมูลค่าเพิ่มหมวดอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 ปริมาณการใช้ไฟฟ้าภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 และจำนวนโรงงานอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ตามสภาวะเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้น กิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาสู่ภาวะปกติการผลิตดำเนินการได้เต็มประสิทธิภาพ ปัจจัยสนับสนุนจากการท่องเที่ยวและบริการยังคงมีทิศทางขยายตัวและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและบรรเทาค่าค่าครองชีพของภาครัฐที่ออกมาอย่างต่อเนื่อง ช่วยสนับสนุนการบริโภคและการใช้จ่ายในจังหวัด ทำให้ความต้องการสินค้าอุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้น รวมทั้งการเร่งรัดการเบิกจ่ายงประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ ทำให้เม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจมากขึ้น ส่งผลดีต่อสินค้าอุตสาหกรรม โดยเฉพาะวัสดุก่อสร้างขณะเดียวกันการผลิตและส่งออกมีแนวโน้มปรับดีขึ้น ตามความต้องการของคู่ค้ามีแนวโน้มทยอยฟื้นตัวและปริมาณสินค้าคงคลังทยอยลดลง

และสำหรับภาคเกษตรกรรม คาดว่าจะหดตัวร้อยละ -3.1 โดยมีสาเหตุสำคัญหดตัวมาจากสภาพภูมิอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย ทำให้ผลผลผลิตหมวดพืชผลสำคัญปรับตัวลดลง ได้แก่ ทุเรียนลดลดลงร้อยละ -10.9 ยางพาราลดลงร้อยละ -2.2 และปาล์มน้ำมันลดลงร้อยละ -1.3 ในขณะที่ราคาสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้น ตามการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าเกษตรสำคัญ ๆ ได้แก่ ยางพาราเฉลี่ยอยู่ที่กิโลกรัมละ 71.4 บาท เพิ่มขึ้นขึ้นร้อยละ 53.9 และทุเรียนเฉลี่ยอยู่ที่กี่โลกรัมละ 139 บาท เพิ่มขึ้นขึ้นร้อยละ 7.6 ส่งผลให้รายได้เกษตรกรโดยรวมขยายตัวร้อยละ 7.8