วันที่ 24 กันยายน 2566 ดร.ธีรวงศ์ สรรค์พิพัฒน์ ประธานเอสเอ็มอีรุ่นใหม่ ร้องขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทย พิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเพื่อคืนสภาพคล่องให้เศรษฐกิจ และไปในทิศทางเดียวกับคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) ที่เพิ่งจะประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.5 เปอร์เซ็นต์ เป็น 4.75 – 5.0 เปอร์เซ็นต์ ในวันที่ 19 กันยายน 2566 นับเป็นการปรับลดครั้งแรกในรอบกว่า 4 ปี และคาดการณ์ว่าจะมีการปรับลดดอกเบี้ยอีก 0.5 เปอร์เซ็นต์ภายในสิ้นปีนี้ และจะลดลงอีก 1 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2025
การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในประเทศไทยจะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยตรงจากการที่ผู้ประกอบการมีสภาพเพิ่มขึ้นในการลดภาระดอกเบี้ยรายวันลง ทั้งมีส่วนส่งเสริมให้เงินบาทอ่อนค่าลงอย่างมีนัยยะสำคัญ กระตุ้นการส่งออกให้กับประเทศ เปรียบเทียบการเติบโตของ GDP ไตรมาสที่1-2 ในปีที่ผ่านมากับปัจจุบัน แสดงให้เห็นการเติบโตที่ลดลงจาก 1.4 เปอร์เซ็นต์ในปีที่ผ่านมาเติบโตลดลงเหลือ 1.2 เปอร์เซ็นต์ เฉลี่ยQ1 และ Q2 มีอัตราการเติบโตที่ 1 เปอร์เซ็นต์ทั้งที่การคาดการณ์การเติบโตของ GDP ของธนาคารแห่งประเทศไทยอยู่ที่ 2.4 เปอร์เซ็นต์ยังไม่รวมถึง Q4 ที่จะติดลบในแต่ละปี จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจลดน้อยกว่าอัตราการคาดการณ์เป็นอย่างมาก ดังนั้นหลักสำคัญคือต้องพิจารณาการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ เพราะผู้ประกอบการจะลดต้นทุนทางการเงินได้มากและส่งออกได้มากยิ่งขึ้นจากค่าเงินที่อ่อนลง ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงควรพิจารณาเร่งด่วนให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจโลกและตั้งแต่ 29 พฤศจิกายน 2566 ประเทศไทยยังมีการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.5 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งทั้งปี 2566 ไม่เคยมีการลดดอกเบี้ยนโยบายจากคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ทั้งที่ปีที่ผ่านมาธนาคารพาณิชย์มีกำไรมหาศาลรวมถึงกว่า 2.2 แสนล้านบาทและผู้ถือหุ้นใหญ่ในธนาคารไทยหลายแห่งเป็นคนต่างชาติอาจส่งผลให้เงินสดสภาพคล่องถูกส่งไปยังต่างประเทศ