พะเยา น้ำปู๋ อาหารจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน อ.แม่ใจ
หมู่บ้านต้นคิด ชีวิตต้นแบบ อาหารจากภูมิปัญญาท้องถิ่นสร้างงาน สร้างอาชีพ ของภาคเหนือ “น้ำปู๋” หรือ “น้ำปู”รสชาติโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ยากที่จะลอกเลียนแบบ ของชุมชน อ.แม่ใจ จ.พะเยา กับการนำเอาวัตถุดิบในท้องถิ่นมาแปรรูป สร้างมูลค่าเพิ่ม ให้กลายเป็นสินค้าทำเงินของชุมชน
วันที่ 24 กย 61 ผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปดูการทำน้ำปู๋ (น้ำปู) ของชาบ้านใน ต.ศรีถ้อย อ.แม่ใจ จ.พะเยา ซึ่งชาวบ้านในส่วนใหญ่จะออกมาทำน้ำปูกันตรงพื้นที่ว่างของนาตนเอง ริมถนนเส้นหนองเล็งทราย บ้านสันขวาง-สันกำแพง อ.แม่ใจ จ.พะเยา การทำน้ำปู จะทำในช่วงหลังจากปลูกข้านาปี ระหว่างเดือนสิงหาคม – ตุลาคม ของทุกปี ซึ่งในช่วงนี้ปูนาจะออกมากัดกินต้นข้าว ชาวบ้านก็จะออกไปจับปูนามาทำน้ำปู เป็นการกำจัดศรัตรูข้าวโดยไม่ใช้สารเคมี น้ำปูใช้ปรุงรสอาหารพื้นบ้านภาคเหนือ เช่น น้ำพริกน้ำปู แกงหน่อไม้ ยำหน่อไม้ ตำแตง ซ้ามะเขือ ตำเตา ตำส้มโอ ตำกระท้อนตำกระท้อน ตำน้ำพริกน้ำปูและยำหน่อไม้ เป็นอาหารดั้งเดิมของคนเหนือ โดยมักจะทำน้ำปูในฤดูฝนหรือฤดูทำนาเพื่อไว้ใช้ในการปรุงอาหารได้ตลอดทุกฤดูกาล น้ำปู หรือ น้ำปู๋ เป็นอาหารที่เกิดจากภูมิปัญญาของชาวบ้านในภาคเหนือ เป็นการถนอมอาหารเพื่อเก็บไว้กินเป็นเวลาเเรมปี นอกจากที่ชาวบ้านจะทำไว้กินเองเเล้วยังนำไปจำหน่ายเป็นรายได้เสริมอีกด้วย
นาง ใหม่ มะลิวัลย์ อายุ 48 ปี ชาวบ้านม. 3 ต.ศรีถ้อย อ.แม่ใจ จ.พะเยา กล่าวว่า ได้ทำน้ำปู มาหลายปีแล้วสำหรับ การทำน้ำปู เมื่อได้ปูนามาแล้วก็จะนำอามาขังและแช่น้ำไว้สักหนึ่งคืนเพื่อให้สิ่งสกปรกดิน โคลนหลุดออกจากตัวปู จากนั้นก็จะนำปูมาล้างให้สะอาด เตรียมใบตระไคร้ ใบขมิ้น นำมาบดพร้อมกับปู เอาน้ำปูออกให้มากที่สุด แล้วนำน้ำปูเก็บไว้ประมาณ 1-2 คืน เพื่อดองให้เกิดกลิ่น และนำไปเคี่ยว การเคี่ยวต้องใช้ไฟแรงๆและค่อยๆเอาฟืนออกให้ไฟอ่อนลง เมื่อเคี่ยวจนน้ำปูแห้งแล้วจะเติมเกลือเล็กน้อย น้ำปูแห้งจะจับกันเป็นก้อนสีดำ พักไว้ให้เย็นสามารถนำไปเก็บในโหลหรือถุงพลาสติก ราคาจำหน่าย กก ละ 100 บาท และจะมีแม่ค้ามารับเองเป็นประจำ วันหนึ่งทำได้ประมาณ 20 กก สามารถสร้างรายได้ในช่วงนี้ได้อย่างดี หากผู้ที่สนใจสั่งได้ที่ เบอร์ 0933122773 นางใหม่ มะลิวัลย์
สัมภาษณ์ นางใหม่ มะลิวัลย์