พุทธศาสนิกชนชาว จังหวัดลำพูน ตกแต่ง ต้นสลาก และ ร่วมกันจัดขบวนแห่ ต้นสลากย้อม ขนาดใหญ่ สูง 12 เมตร เคลื่อนสู่ วัดพระธาตุหริภุญชัย ในงานประเพณี สลากภัตสลากย้อม ลำพูน หนึ่งเดียวในโลก ประจำปี 2561
เย็นวานนี้ ( 23 กันยายน 2561 ) พุทธศาสนิกชน ร่วมงานประเพณีสลากย้อม จังหวัดลำพูน หนึ่งเดียวในโลก โดย หน่วยงานราชการ , องค์กรเอกชน และ คณะศรัทธา พุทธศาสนิกชน ในจังหวัดลำพูน ร่วมกัน ตกแต่งต้นสลาก ซึ่งมีความสูง ถึง 12 เมตร และ จัดขบวนแห่ครัวทาน จาก บริเวณ จวนผู้ว่าราชการจังหวัด ไปยัง วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร ซึ่ง แต่ละขบวน ได้ตกแต่ง ต้นสลาก ด้วยความ ประณีตสวยงาม สะท้อน เอกลักษณ์ ทางวัฒนธรรม ท้องถิ่น ลำพูน โดยนายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน , นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หัวหน้าส่วนราชการ และคณะศรัทธา เดินขบวนนำต้นสลากย้อมเข้าสู่วัดพระธาตุหริภุญชัย
หลังจาก ที่ขบวน แห่ต้นสลาก เคลื่อนมาถึงวัดพระธาตุหริภุญชัย ได้ มีพิธีเปิดงาน ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน เป็นประธานในพิธีเปิดงาน พร้อมกับ มอบรางวัลให้แก่ ชุมชน ที่จัดขบวนแห่ และส่งต้นสลากย้อมเข้าร่วมประกวด ประเพณีการทานสลากภัต สลากย้อม เป็นประเพณีสำคัญที่ จังหวัดลำพูนซึ่งได้จัดสืบทอดติดต่อมาเป็นเวลานานแล้ว โดย จัดขึ้นทุก วันขึ้น 15 ค่ำ เดิอน 12 เหนือ ทั้งนี้เพื่อเป็นการอนุรักษ์ สืบสานวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามของชาวลำพูนในอดีต และเพื่อเป็น การส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัด โดย ในปีนี้ จัดระหว่างวันที่ 22 – 24 กันยายน 2561 ซึ่งกิจกรรม ในงาน วันนี้ ( 24 กันยายน 2561 ) จะมีการครัวหย้อง ครัวใช้ ของชาวเหนือ , การประกวด การฮ่ำกะโลง , การแสดงซอ พื้นเมือง และ การถวายทานสลาก พระสงฆ์ สามเณร อ่านเส้นสลาก และให้พร แก่ ผู้ถวายทานสลาก
ในอดีต ประเพณีทานสลากย้อม เป็นการทำบุญที่เจาะจงเฉพาะสุภาพสตรีเท่านั้น โดย ต้น สลากย้อม จะมี การตกแต่ง อย่างสวยงาม ใช้ไม้ไผ่ เป็นวัสดุหลัก ในการประกอบ มีการย้อมสีตรงปลายเรียวไม้ไผ่หลายหลากสี ของที่นำมาแขวนจะแต่ง ย้อมสี สวยงาม เพื่อให้สมกับเป็นการทำบุญครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตสิ่งของที่นำมาถวายจะเป็นสิ่งของที่ช่วยบำรุงความสวยงามของสตรีเช่น กระจก , แป้ง , หวี , สิ่งของเครื่องใช้ ปัจจัยต่าง ๆ โดย ชาวเหนือ มีความ เชื่อว่าการร่วมทำบุญในพิธีสลากย้อม จะได้รับอนิสงฆ์ เทียบเท่ากับการบวชของผู้ชาย และ เชื่อว่าจะทำให้เป็นผู้ที่มีความสวยงาม ถือเป็นประเพณีท้องถิ่นที่สามารถพบได้แห่งเดียวที่จังหวัดลำพูน
ชัชวาลย์ คำไท้ ผู้สื่อข่าว จ.ลำพูน