พิษณุโลก สมัชชาประชาชนคนเหนือล่างคัดค้านร่างพรบ.อุทยานแห่งชาติ
ชมรมพิทักษ์ธรรมชาติ(คนกับป่า)จังหวัดพิษณุโลก สมัชชาประชาชนคนเหนือร่างยื่นถึงสือผ่านผวจ.พิษณุโลกถึงประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติขอให้ชะลอการพิจารณาร่างพรบ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ…… ออกไปก่อน ขอเปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาเนื้อหา
เวลา 10.00 น. วันที่ 24 มกราคม 2562 ที่ศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก ชมรมพิทักษ์ธรรมชาติ(คนกับป่า)จังหวัดพิษณุโลก สมัชชาประชาชนคนเหนือ จำนวนประมาณ 15 คน ได้เดินทางมาเพื่อยื่นหนังสือต่อผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก เพื่อนำเสนอต่อไปยังประธานสภาพนิติบัญญัติแห่งชาติ สาระสำคัญคือ ขอให้สนช. ชะลอการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ… ออกไปก่อน ซึ่งสนช. กำลังจะมีการพิจารณาในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 นี้ โดยขอให้สนช.เปิดโอกาสให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการพํมนาเนื้อหาให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 และนำไปสู่การแก้ปัญหาที่มีอยู่เดิม ไม่สร้างปัญหาใหม่ โดยมีนายชัชพงศ์ เอมะสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก เป็นผู้แทนผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลกมารับการยื่นหนังสือดังกล่าว
นายณัฐวุฒิ อุปปะ ตัวแทน ชมรมพิทักษ์ธรรมชาติ(คนกับป่า)จังหวัดพิษณุโลก และ สมัชชาประชาชนคนเหนือ เปิดเผยว่า ขณะนี้มีการนำร่างพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ…. ที่ร่างโดยคณะกรรมาธิการ ส่งถึงสนช.แล้ว และคาดว่าในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 จะมีการพิจารณาออกมาเป็นกฏหมายบังคับใช้ ซึ่งที่ผ่านมา ภาคประชาชนในนามคณะทำงานประชาชนเพื่อการอนุรักษ์และสิทธิมนุษยชน ( คอส. ) เคยร่วมรายชื่อและเสนอร่างพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ…. ต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ตามกลไลของรัฐธรรมนูญ แต่ปรากฏว่า ร่างฯฉบับประชาชนไม่ได้นำไปพิจารณา ซึ่งมีขั้นตอนต้องส่งไปให้นายกรัฐมนตรีรับรอง แต่นายกรัฐมนตรีไม่ได้ลงนามรับรอง ในสัปดาห์ที่ผ่านมาคณะทำงานได้ไปฟ้องถึงศาลปกครอง ฟ้องนายกรัฐมนตรีว่า ช่วงเวลาที่ไม่มีการตอบรับของประชาชนทำให้เกิดความเสียหาย และร่างพ.ร.บ.ของประชาชนไม่ได้นำไปมีส่วนร่วม ควรจะนำสองร่างไปให้มีการส่วนร่วมกัน ซึ่งขณะนี้เครือข่ายภาคประชาชนทั่วประเทศได้ยื่นเรื่องถึงประธานสนช.ผ่านผวจ.แต่ละที่ ภายในเดือนกุมภาพันธ์คาดว่าสนช.จะนำร่างของกรรมาธิการเข้าพิจารณา ภาคประชาชนจึงขอให้ชะลอไว้ก่อน ให้สร้างกลไกให้ภาคประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วม ตามสิทธิของรัฐธรรมนูญที่เสนอร่างตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ
สำหรับร่างพ.ร.บ.อุทยานฯ ที่กรรมมาธิการกำลังเสนอสนช.พิจารณาในเดือนกุมภาพันธ์นี้ คณะทำงานภาคประชาชนมองว่า ไม่มีบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิชุมชนในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนร่วมกับอุทยานแห่งชาติ หรือ การมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนแม่บทการบริการจัดการตามที่กำหนัดไว้ในรัฐธรรมนูญ 2560 และขาดความชัดเจนในการแก้ไขปัญหาชุมชนในพื้นที่อุทยาน ในทางกลับกัน จะทำให้ปัญหาทวีความรุนแรงมากขึ้นในอนาคต เช่น มาตรา 63 การกำหนดการแก้ปัญหาชุมชยนในพื้นที่อุทยานแห่งชาติไว้ในบทเฉพาะกาล และให้เป็นไปตามแนวทางมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 30 มิถุนายน 2541 ซึ่งมติดังกลาว ใช้เป็แนวทางการแก้ไขปัญหามาเป็นเวลา 20 ปีแล้ว โดยที่ไม่มีชุมชนใดในพื้นที่อุทยานแห่งชาติได้รับการแก้ไขปัญหา
ปรีชา นุตจรัส ราย งาน