สสจ.ยโสธร จับมือสมัชชาสุขภาพยโสธร เดินหน้าขับเคลื่อนลดการใช้สารเคมีปราบวัชพืช และระบบอาหาร
สาธารณสุขจังหวัดยโสธร จับมือสมัชชาสุขภาพจังหวัดยโสธร และภาคีเครือข่าย เดินหน้าขับเคลื่อนลดการใช้สารเคมีปราบศัตรูพืช และระบบอาหาร(Goodbye Paraquat) พร้อมเปิดเวทีเสวนา เพื่อสร้างการรับรู้ หาทางออกร่วมกัน จากผลกระทบของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชโดยเฉพาะด้านสุขภาพ
วันนี้(23ส.ค.61) นายชำนาญ มาลัย รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฎิบัติการเรื่องผลกระทบและทางออกจากปัญหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Goodbye Paraquat) เพื่อสร้างการรับรู้ ความตระหนักในปัญหาผลกระทบของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชโดยเฉพาะด้านสุขภาพ และร่วมกันหาทางออก ซึ่งเป็นการร่วมมือกันของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร,สมัชชาสุขภาพจังหวัดยโสธร,เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช(Thai-PAN),สหภาพแรงงานอาหารอาหารสากล(IUF)และเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก ณ.ชั้น4ห้องประชุมสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร โดยมีนายบรรจบ แสนสุข หัวหน้ากลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข ,เครือข่ายต่างๆ, แกนนำ 14 ตำบลจากทุกอำเภอของจังหวัดยโสธร และตัวแทนส่วนราชการ นับร้อยคนเข้าร่วม
ภายหลังประธานได้กล่าวเปิดงานแล้ว ได้มีการเปิดเวทีเสวนาเรื่องผลกรทบและทางออกจากปัญหาสารเคมีทางการเกษตร(Goodbye Paraquat) โดยมีตัวแทนเครือข่าย (Thai-PAN),เครือข่ายสุขภาพ,และอีกหลายหน่วยงานได้ร่วมเสวนา และได้แบ่งกลุ่มย่อยเพื่อร่วมหามาตรการและทางออกจากปัญหาผลกระทบจากสารเคมีด้านการการเกษตร ซึ่งมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ต่อเศรษฐกิจ และต่อสุขภาพของผู้ใช้สารเคมี ครอบครัว ชุมชนและประชาชนผู้บริโภค
ทางด้าน นายสัญชาติ พลมีศักดิ์ แกนนำสมัชชาสุขภาพจังหวัดยโสธร กล่าวว่า ประเทศไทยมีเนื้อที่ทำการเกษตร อันดับ 48 ของโลก แต่ใช้ยาฆ่าแมลงมากเป็นอันดับ 5 ของโลก และใช้ยาฆ่าหญ้าเป็นอันดับ4 ของโลก พร้อมทั้งนำเข้าสารเคมีสังเคราทางการเคราะห์ มากกว่ากลุ่มประเทศอาเซียนรวมกัน และมีแนวโน้มจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เกษตรกรเข้าถึงสารเคมีได้ง่ายและมีการใช้มากเกินความจำเป็น ส่งผลกระทบมากมายด้านสุขภาพของเกษตรกรและผู้บริโภค การตกค้างของสารเคมีเพิ่มความเสี่ยงต่อผู้บริโภค และต่อการพัฒนาการทางสมอง โรคผิวหนัง โรคมะเร็ง ดังนั้นทางสมัชชาสุขภาพ ร่วมกับทางจังหวัดยโสธรและเครือข่ายต่างๆ ทุกภาคส่วนร่วมกันขับเคลื่อนให้เห็นผลเป็นรูปธรรม ต่อไป