กองทัพเรือโดย ทัพเรือภาคที่ 1 จัดกิจกรรม “วันอาภากรรำลึก ” 19 ธันวาคม วันคล้ายวันประสูติของกรมหลวงชุม พรเขตอุดมศักดิ์ พระบิดาทหารเรือไทย
วันที่ 19 ธันวาคม ได้เวียนมาบรรจบครบรอบอีกวาระหนึ่ง กองทัพเรือ โดยทัพเรือภาคที่ 1 พลเรือโท สุทธินันท์ สมานรักษ์ ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 1 นำคณะนายทหารฝ่ายอำนวยการ และกำลังพลในสังกัด ประกอบพิธีบวง สรวง เนื่องในวันคล้ายวันประสูติของ พลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ณ ที่ตั้งกองบัญชาการทัพเรือภาคที่ 1 มอบหมายให้ พลเรือตรี จรัญวีร์ ญาดี รองผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 1 นำข้าราชการใน ทัพเรือภาคที่ 1 ประกอบพิธีพิธีบวงสรวงฯ ณ บริเวณหน้ากองบัญชาการทัพเรือภาคที่ 1 (ส่วนแยก) ต.แสมสาร และมอบหมายให้ นาวาเอก กรัณย์ กลิ่นบัวแก้ว รองเสนาธิการทัพเรือภาคที่ 1 ประกอบพิธีบวงสรวง ณ เกาะขาม ต.แสมสาร อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
นอกจากนี้แล้ว ยังได้มอบหมายให้ พลเรือตรี ภิญโญ โตเลี้ยง รองผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ นาวาเอก เขตรภพ นพจินดา รองเสนาธิการทัพเรือภาคที่ 1 พร้อมด้วยข้าราชการทัพเรือภาคที่ 1 กองทัพเรือ ร่วมในพิธีบวงสรวง เนื่องในวันคล้ายวันประสูติของ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ณ ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กองทัพเรือ เกาะช้าง อำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด
และมอบหมายให้ พลเรือตรี สุทธิชาติ เข็มอนุสุข รองผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 1 นาวาเอก เกียรติกูล สุวรรณ รองเสนาธิการทัพเรือภาคที่ 1 และนาวาเอก กิตติพงษ์ พุ่มสร้าง รองผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล จังหวัดชุมพร ร่วมงานเทิดพระเกียรติ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เนื่องในวันคล้ายวันประสูติของพระองค์ท่าน ณ พระตำหนักเสด็จในกรมหลวงชุมพร เขตอุดมศักดิ์ ตำบลหาดทรายรี อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร ซึ่งในพิธีประกอบไปด้วย พิธีทางศาสนา พิธีบวงสรวง และพิธีเทวาภิเษก โดยมี นายวิบูลย์ รัตนาภรณ์วงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เป็นประธานในพิธี
ประวัติพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ประสูติ เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2423 ทรงเป็นพระเจ้าลูกยาเธอ ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และเจ้าจอมมารดาโหมด ในปีพุทธศักราช 2439 เสด็จไปศึกษาวิชาการทหารเรือ ณ ประเทศอังกฤษ เมื่อทรงสำเร็จการศึกษาเป็นนายทหารสัญญาบัตรในราชนาวีอังกฤษแล้วได้เสด็จกลับเข้ารับราชการ ในกระทรวงทหารเรือ ในปีพุทธศักราช 2443 รับพระราชทานยศเป็น “นายเรือโทผู้บังคับการ”
ในตำแหน่ง นายธงผู้บัญชาการกรมทหารเรือ ปีพุทธ ศักราช 2448 ทรงดำรงตำแหน่ง เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารเรือ ได้ทรงปรับปรุงการศึกษาของโรงเรียนนายเรือ ให้เจริญก้าวหน้ามากขึ้น ทำให้ทหารเรือไทยมีความรู้ ความชำนาญ สามารถเป็นครู และเป็นผู้บังคับบัญ ชาได้โดยไม่ต้องพึ่งพาชาวต่างประเทศ ในปีต่อมาทรงมีพระดำริในการจัดตั้งโรงเรียนนายช่างกล เพื่อรับผิดชอบเครื่องจักรในเรือ และในโรงงานบนบกแทนชาวต่างประ เทศที่จ้างไว้
ต่อมาในปีพุทธศักราช 2450 ทรงเป็นผู้บังคับการเรือหลวงมกุฎราชกุมาร นำนักเรียนนายเรือ และนักเรียนนายช่างกล ไปฝึกภาคต่างประเทศ โดยได้ทรงนำเรือแวะที่สิงคโปร์และเปลี่ยนสีเรือมกุฎราชกุมาร จากสีขาวเป็นสีหมอกให้เหมือนกับเรือรบต่างประเทศ เพื่อให้เกิดความกลมกลืนกับลักษณะของสีน้ำทะเล และภูมิประเทศ ซึ่งกองทัพเรือ ได้นำสีดังกล่าวมาใช้เป็นสีเรือทุกลำของกองทัพเรือ ตราบจนปัจจุบัน
นอกจากจะทรงมีคุณูปการอเนกอนันต์แก่กองทัพเรือแล้ว พระองค์ยังมีพระปรีชาสามารถในด้านการแพทย์แผนโบราณของไทย ทรงศึกษาตำราหมอยาไทยอย่างจริงจัง จนมีความรู้แตกฉาน ทรงเป็นหมอยาไทยรักษาประชาชนโดยทั่วไป ด้วยน้ำพระทัยโอบอ้อมอารี จนได้รับพระสมัญ ญานามว่า “หมอพร”
ในปีพุทธศักราช 2462 หลังกลับเข้ารับราชการอีกครั้ง พระองค์ทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นข้าหลวงพิเศษ ดำเนินการจัดซื้อเรือหลวงพระร่วง จากประเทศอังกฤษ และทรงเป็นผู้บังคับการเรือนำเรือหลวงพระร่วง เดินทางจากประเทศอังกฤษ เข้ามายังกรุงเทพมหานคร อีกด้วย
ด้วยพระองค์ทรงเป็นผู้วางรากฐานการบริหารงานของกองทัพเรือ ทรงได้รับการเชิดชูในหมู่ทหารเรือเรียกขานพระองค์ว่า “เสด็จเตี่ย” หรือ “หมอพร” และ “พระบิดาแห่งกองทัพเรือไทย” ต่อมาในปี 2536 มีประกาศกองทัพ
เรือขนานพระนามพระองค์ว่า “พระบิดาของ กองทัพเรือไทย” และในปี 2544 แก้ไขเป็น “องค์บิดาของทหารเรือไทย” มาจนถึงปัจจุบัน
ภาพ/ข่าวจาก กองกิจการพลเรือนทัพเรือภาคที่ 1
นิราช ทิพย์ศรี/นันทพล ทิพย์ศรี รายงาน