พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติร้อยเอ็ด จัดเสวนาเรื่อง มโหระทึก เครื่องประโคมในพิธีกรรมข้อมูลใหม่ทางโบราณคดี อายุเก่าแก่ว่า 2,000 ปี เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพและเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย
เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2562 เวลา 13.00น. นายดำรงค์ สิริวิชย อิ่มวิเศษ รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด เปิดการเสวนา เรื่อง “มโหระทึก เครื่องประโคมในพิธีกรรม: ข้อมูลใหม่ทางโบราณคดี” ที่ ห้องประชุมชั้น 3 พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ร้อยเอ็ด โดยมีนายชูชาติ ราชจันทร์ วัฒนธรรมจังหวัดร้อยเอ็ด นางปริญญา สุขใหญ่ หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติร้อยเอ็ด ผศ.ดร.สาธิต กฤตลักษณ์ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดร้อยเอ็ด นายวสันต์ เทพสุริยานนท์ ผู้อำนวยการกลุ่มโบราณคดีสำนักศิลปากรที่ 9 อุบลราชธานี นายพศพงศ์ พฤกษชาติ ผู้อำนวยการสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยฯจังหวัดร้อยเอ็ด คณะครูผู้สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม จากโรงเรียนต่างๆในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดกาฬสินธุ์ นักวิชาการท้องถิ่น ประชาชน และสื่อมวลชน เข้าร่วมกิจกรรม
นางปริญญา สุขใหญ่ หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติร้อยเอ็ด กล่าวว่า กรมศิลปากร ได้อนุมัติให้พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ร้อยเอ็ด จัดโครงการเครือข่ายมรดกทางศิลปวัฒนธรรม กิจกรรมเสวนาทางวิชาการเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย ประจำปี 2562 เรื่อง “มโหระทึก เครื่องประโคมในพิธีกรรม: ข้อมูลใหม่ทางโบราณคดี” เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพและเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย 2 เมษายน เพื่อสร้างเครือข่ายผู้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์มรดกทางศิลปวัฒนธรรมในกลุ่มครูผู้สอนสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมตลอดจนนักวิชาการท้องถิ่น ในปีพุทธศักราช 2561 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติร้อยเอ็ดได้รับมอบกลองมโหระทึกแบบเฮกเกอร์ ||จากราษฎรจังหวัดนครพนม ซึ่งเป็นกลองมโหระทึกที่มีรูปแบบเรียบง่ายนาคร้องไม่มีลาย รูปดาวหรือดวงอาทิตย์ลำตัวมีลวดลายเรขาคณิต เช่น ลายวงกลม ลายวงแหวน และลายขีด เป็นต้นโดยสันนิษฐานว่าน่าจะมีแหล่งผลิตในท้องถิ่นพื้นที่แอ่งมุกดาหาร – สะหวันเขต ไม่ได้นำเข้ามาจากเวียดนามเหนือหรือภาคใต้ของจีน กำหนดอายุไม่เก่าไปกว่า 2,000 ปีมาแล้ว นับเป็นข้อมูลหลักฐานใหม่ทางโบราณคดีที่ควรเผยแพร่แก่ประชาชนเพื่อให้การจัดการโบราณวัตถุอย่างถูกวิธี
ทั้งนี้ เมื่อประชาชนพบโบราณวัตถุในที่ดินของตนเองเพื่อสร้างเครือข่ายผู้มีส่วนร่วมในการดูแลอนุรักษ์มรดกทางศิลปวัฒนธรรม เผยแพร่องค์ความรู้ด้านประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาของคนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ข้อมูลทางวิชาการใหม่ๆแก่เครือข่ายครูผู้สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา และนักวิชาการท้องถิ่น ต่อไป พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติร้อยเอ็ดจึงกำหนดจัด การเสวนา ขึ้นประกอบไปด้วยกิจกรรมการเสวนา นิทรรศการพิเศษ การเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติร้อยเอ็ด ฯลฯ
///////
บก.ข่าว
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดร้อยเอ็ด