ร้อยเอ็ด…
กวนข้าวทิพย์ หรือ “ข้าวมธุปายาส” ที อ.โพนทอง.ในวันออกพรรษา
กว่าจะมาเป็น”ข้าวทิพย์ หรือ ข้าวมธุปายาส”อาหารวิเศษในตำนานพระพุทธศาสนาในวันออกพรรษาข้าวทิพย์ หรือ”ข้าวมธุปายาส”ของนางสุชาดาจึงนับว่าเป็นอาหารมื้อสุดท้ายก่อนที่พระพุทธเจ้าจะได้บรรลุอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ จึง มีความเชื่อกันว่า ข้าวมธุปายาสเป็นอาหารวิเศษ ผู้ใดมีวาสนาได้กินจะมีร่างกายแข็งแรง ปราศจากโรคภัย อุดมด้วยสติปัญญา และเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต ….
วันนี้ 21 ต.ค.2561 ชาวบ้านคำนาดี ต.คำนาดี อ.โพนทอง จัดประเพณีกวนข้าวทิพย์ หรือ ข้าวมธุปายาสในวันออกพรรษา ส่วนผสมที่สำคัญคือต้นข้าว (คลิป)และ รวงข้าวที่กำลังตั้งทองซึ่งคงจะถือเอาระยะที่ข้าวกล้า ในท้องนามีรวงขาวเป็นน้ำนม ช่วงเดือน 10 และ มันป่าที่หายาก ชื่อ”มันฮืบ”(คลิป) ต้องเดินทางเข้าป่าขุดกว่าจะได้มันฮืบ แต่ละหลุมลึก 1.50-2.00 เมตร.ข้าวตอกแต๊ก(คลิป) ข้าวต๊อกแต๊กคือการที่นำข้าวเปลือกในยุ้งฉางมาคั้วด้วยไฟอ่อนๆ ส่วนผสมอื่นก็มี นมผง หรือนมข้นหวาน น้ำตาล ฟักทอง มันฮืบ น้ำมันมะพร้าวสะกัด นำที่กล่าวมาทั้งหมดมาผสมร่วมกันแล้วช่วยกันกวน ตั้งแต่เย็นจนถึงสว่างเช้าวันใหม่ จึงได้ข้าวทิพย์ หรือ ข้าวมธุปายาส
กว่าจะได้ข้าวมธุปายาสไม่ใช่เรื่องง่าย ท้าวกระจ้ำกล่าวให้ผู้สื่อข่าวฟังว่าในสมัยพุทธกาลนั้น การทำสิ่งต่าง ๆ เต็มไปด้วยความพิถีพิถัน แม้แต่ขั้นตอนการเตรียมวัตถุดิบในการทำข้าวมธุปายาสเพื่อถวายพระพุทธองค์ก็เช่นกัน โดยก่อนถึงวันหุงข้าวมธุปายาสนั้น นางสุชาดาได้สั่งให้คนงานไล่ต้อนฝูงโคนมจำนวน 1,000 ตัวเข้าไปเลี้ยงในป่าชะเอมเครือ เพื่อให้แม่โคกินชะเอมเครือจนอิ่มแล้วจึงไล่ต้อนออกมา จากนั้น คนงานก็จะแบ่งแม่โคนม 1,000 ตัวออกเป็นสองฝูง ฝูงละ 500 ตัว แล้วจึงรีดนมจากแม่โคนมฝูงหนึ่งมาให้แม่โคนมอีกฝูงหนึ่งกิน เสร็จแล้วจึงนำวัว 500 ตัวที่กินนมจากอีกฝูงหนึ่งแล้วมาแบ่งครึ่งอีกครั้งเป็นสองฝูง ฝูงละ 250 ตัว จากนั้นก็รีดนมจากแม่โคนมฝูงหนึ่งมาให้แม่โคนมอีกฝูงหนึ่งกินเช่นเดิม ต้องแบ่งและคัดแม่โคนมอย่างนี้เรื่อยไป จนเหลือแม่โคนม 8 ตัวสุดท้าย จึงจะรีดน้ำนมจากแม่โคนมทั้ง 8 นั้นมาหุงข้าวมธุปายาส นมที่ออกมาจึงเป็นนมที่ข้น หวาน และอร่อยมาก ๆ …ไม่ง่ายและไม่ธรรมดา….วันนี้ชาวบ้านทำยังไม่พิถ๊พิถันเท่าพุทธกาล
สุเทพ ลอยแก้ว/รายงาน
ขอบคุณข้อมูล จาก ส.อบต.ทองไส อุทธา(ท้าวกระจ้ำ)บ้านคำนาดี ต.คำนาดี อ.โพนทอง จ.ร้อยเอ็ด