Reporter&Thai Army ข่าวประชาสัมพันธ์ ข่าวปราบยาเสพติด ข่าวรอบรั้วภูธร ข่าวเชียงใหม่ ข่าวเด่น นิตยสารตำรวจ สถานีประชาชน

ผบ.นบ.ยส.35 ประชุมติดตามผลการดำเนินงานฯ ตามนโยบายรัฐบาล

ผบ.นบ.ยส.35 ประชุมติดตามผลการดำเนินงานฯ ตามนโยบายรัฐบาล

เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 เวลา 09.00 น. ที่ห้องประชุมพลอยไพลิน โรงแรมกรีนเลค รีสอร์ท เชียงใหม่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ พลเอกนฤทธิ์ ถาวรวงษ์ ผบ.นบ.ยส.35 ร่วมติดตามผลการดำเนินงาน ของ นบ.ยส.35 พร้อมด้วยนางจิตติวรรณ เอมมณีรัตน์ อธิบดีอัยการภาค 5, นายศิรินทร์ยา สิทธิชัย ที่ปรึกษา ป.ป.ส., นายอภิกิต ฉ.โรจน์ประเสริฐ ผอ.ปปส.ภ 5, นายศราวุธ ภักดี ผอ.ปปส.ภ 6, นายประเสริฐ จิตต์พลีชีพ รอง ผวจ.ชร., พล.ต.ต.สัมฤทธิ์ เอมกมล ผบก.ภ.จว. ตาก, พ.อ.กิดากร จันทรา
รอง ผบ.กล.ผาเมือง, พ.อ.ไมตรี ชูปรีชา รอง ผบก.กกล.นเรศวร ตามที่รัฐบาลได้ประกาศพื้นที่ที่มีความจำเป็นเร่งด่วน 11 อำเภอ ของจังหวัดเชียงใหม่ และเชียงราย (อำเภอเวียงแหง, เชียงดาว, ฝาง, ไชยปราการ, แม่อาย, แม่จัน, แม่ฟ้าหลวง, แม่สาย, เชียงแสน,
เวียงแก่น และ เชียงของ) ตั้งแต่เดือน ธันวาคม 2566 จนถึงปัจจุบัน รวมระยะเวลาร่วม 6 เดือน

ผลการปฏิบัติการสกัดกั้น มีเหตุการณ์สำคัญ 74 เหตุการณ์ โดยมีการปะทะกับกลุ่มขบวนการ 30 ครั้ง ตรวจยึด/จับกุม 40 ครั้ง และขยายผลยึดทรัพย์ 4 ครั้ง ตรวจยึดยาบ้ารวม 129 ล้านเม็ดเศษ, ไอซ์ 1,890 กก., เฮโรอีน 249 กก., ฝิ่นดิบ 188 กก. จับกุมผู้ต้องหา 1,507 ราย กลุ่มขบวนการเสียชีวิต 25 ศพ

ในปัจจุบัน รัฐบาลมีนโยบายที่จะเร่งแก้ไขปัญหาการลักลอบนำเข้ายาเสพติดในทุกพื้นที่ชายแดนของประเทศ ให้เห็นผล และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด จึงได้มีมติ เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2567 เห็นชอบให้เพิ่มพื้นที่ที่มีความจำเป็นเร่งด่วนในพื้นที่ชายแดนภาคเหนืออีก 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอปาย และปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน, อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย, อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา, อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน และ อำเภอแม่สอด, อำเภอพบพระ จังหวัดตาก

ทั้งนี้ พลเอกนฤทธิ์ ถาวรวงษ์ ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสกัดกั้นและปราบปรามยาเสพติด สารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์ ชายแดนภาคเหนือ (ผบ.นบ.ยส.35) ได้เปิดเผยว่า ในห้วงที่ผ่านมามีการจับกุมยาบ้าได้เป็นจำนวนมากในพื้นที่รับผิดชอบ อีกทั้งยังพบว่ากลุ่มขบวนลักลอบขนยาเสพติด ใช้พื้นที่จังหวัดเชียงใหม่, เชียงราย และพื้นที่ข้างเคียงเป็นทางผ่านเพื่อส่ง ไอซ์ และ เฮโรอีน ออกไปต่างประเทศมากขึ้น จึงได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการสกัดกั้นและปราบปรามยาเสพติดในพื้นที่สำคัญเร่งด่วน และพื้นที่อนุมัติเพิ่มเติม ได้แก่ ตำรวจภูธรภาค 5, ตำรวจภูธรภาค 6, ตำรวจปราบปรามยาเสพติด, กองกำลังผาเมือง, กองกำลังนเรศวร, ผู้ว่าราชการจังหวัด เชียงใหม่, เชียงราย, แม่ฮ่องสอน, พะเยา, น่าน และ ตาก
ปปส.ภาค 5 และ ปปส.ภาค 6 ตลอดจนที่ปรึกษาด้านการต่างประเทศ และ อุตสาหกรรม ร่วมกันพิจารณาหารือ ถึงแนวทางในการขับเคลื่อนงานด้านการสกัดกั้น และปราบปรามยาเสพติด ได้แก่การเพิ่มกำลังในพื้นที่ หรือการเพิ่มความถี่ในการปฏิบัติการ ซึ่ง นบ.ยส.35 จะต้องจัดส่วนแยกออกไปดำเนินการ ประสานการทำงานเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้ง 6 จังหวัด18 อำเภอ ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของรัฐบาล

นอกจากนี้ นบ.ยส.35 ยังมุ่งเน้นการประสาน และหารือกับประเทศเพื่อนบ้าน ในการส่งหมายจับของผู้ต้องหา เพื่อขอความร่วมมือในการส่งผู้ร้ายข้ามแดนกลับมารับโทษ ซึ่งจะต้องขอความร่วมมือจากสื่อมวลชน ให้ประโคมข่าวผู้ต้องหาหลบหนีข้ามแดน ก็จะเป็นการกดดันหน่วยงานที่รับผิดชอบในประเทศเพื่อนบ้านได้เร่งรัดและให้ความสำคัญ จากกระแสสื่อสังคมอีกทางหนึ่งการประชุมในครั้งนี้ จะเกิดประโยชน์ต่อทุกหน่วยงาน โดยเฉพาะในเรื่องของการประสานงาน และการบูรณาการ การปฏิบัติในระดับพื้นที่ หน่วยที่มาประชุมได้ ร่วมพิจารณาการนำเสนอข้อมูลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะต่างๆ อันนำไปสู่แนวทางในการปรับปรุงพัฒนาการปฏิบัติ เพื่อลดระดับความรุนแรงของปัญหายาเสพติดในพื้นที่ชายแดนภาคเหนือ ให้ได้ผลอย่างเป็นรูปธรรมยิ่งๆ ขึ้นไป.