ที่ สวนป่าบ้านจันทร์หอม ณ.บ้านเลขที่62/2หมู่ที่3 ตำบลคลองยาง อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย ของ นาย สมคิด เทพยศ (ช่างแบน) อาชีพรับราชการ (นายช่างโยธาชำนาญการ) อบต. ตำบล บ้านซ่าน อำเภอ ศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย ซึ่งมีลักษณะเป็นบ้านสวน โดยภายในพื้นที่บ้านจะเป็นสวนป่า สวนผลไม้หลากหลาย และได้ทำเกษตรกรรมทั่วบริเวณมีแปลงสาธิต โรงทำปุ๋ยชีวภาพ สระน้ำเลี้ยงปลา ในพื้นที่ 55ไร่ แบ่งทำโคกหนองนาโมเดล 3ไร่ และดำเนินตามหลักการเศรษฐกิจพอเพียง ไร่ นา สวนผสม ของ ในหลวงรัชการที่ 9 โดยมีคณะกรรรมการตรวจประเมินผลงานตามโครงการ 1 จังหวัด 1 ศูนย์การเรียนรู้โครงการอันเนื่องจากพระราชดำริต้นแบบ ประจำปีงบประมาณ 2567 จังหวัดสุโขทัย กรมการปกครอง ได้กำหนดโครงการสำคัญ โดยน้อมนำแนวพระราชดำริมาประยุกต์ใช้ และกำหนดแนวทางการดำเนินโครงสร้างดังกล่าว ให้ส่งเสริมศูนย์การเรียนรู้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริต้นแบบ ให้เป็นศูนย์เรียนรู้สำคัญ ทั้งนี้ นาย อนุสรณ์ มณีเลิศ นายอำเภอสวรรคโลก พร้อมนาย ปพน สอนธรรม ปลัดอาวุโส ก็ได้มาต้อนรับคณะกรรมการพร้อมกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้านและกลุ่มเกษตรในพื้นที่
โดยโครงการนี้ พื้นที่ของนายสมคิด เทพยศ ก็ได้ถูกคัดเลือกให้เข้าประกวด โดยมีคณะกรรมการนำโดย พํฒนาการจังหวัด เกษตรจังหวัด ท้องถิ่นจังหวัด จ่าจังหวัด พร้อมผู้ทรงคุณวุฒิอีก 2 ท่าน จากการสอบถามของคณะกรรมการที่ถามนายสมคิด โดยนายสมคิดบอกว่า ตนเองเป็นคนรักต้นไม้ รักป่า เพราะเขตรอบที่ของตนเองมีแต่ทำการเกษตรปลูกอ้อย ดูพื้นที่จะแห้งแล้ง ตนจึงเอาเวลาที่ว่างจากงานราชการ หาต้นไม้สารพัดพันธุ์มาปลูกในพื้นที่ เพื่อทำให้ร่มรื่น เมื่อ 5-6 ปีที่ผ่านมา พร้อมกับเรียนรู้เรื่องแนวหลักปรัชญาแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ของในหลวงรัชการที่ 9 มานานแล้ว
พร้อมกันนี้ ทางพัฒนาชุมชนอำเภอสวรรคโลกก็ได้มีโครงการ โคกหนองนาโมเดล ตนจึงเข้าโครงกา รและได้นำที่ดินเข้าทำโครงการประมาณ 3 ไร่ ทั้งนี้ก็ได้ชักชวนลูกสาว คือ นางสาวพิมพ์พิสุทธิ์ เทพยศ ซึ่งมีใจรักในการทำผลิตภัณฑ์แปรรูป นำพืชผักที่มีอยู่ในสวน มาทำผลิตภัณฑ์แปรรูปเป็นสินค้าส่งขายในตลาดโอทอป ผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน เป็นรายได้ของครอบครัว
ทั้งนี้ นางสาว พิมพ์พิสุทธิ์ เทพยศ ยังได้โชว์ผลิตภัณฑ์ที่ตนเองและครอบครัวได้แปรรูปโชว์ พร้อมกับให้ชิม โดยมีชื่อเป็นแบนด์ สวนป่าบ้านจันทร์หอม อาทิ น้ำส้มควันไม้ กล้วยตาก ไซรับกล้วย กล้วยอาบเนย ฯลฯ ที่เป็นการผสมผสานระหว่างรุ่นพ่อกับลูก คนรุ่นเก่าและคนรุ่นใหม่ โดยคนรุ่นเก่าเพาะปลูกผลไม้ทำเกษตรกรรม ส่วนคนรุ่นใหม่ใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีเข้ามาแปรรูปผลไม้ ให้เป็นสินค้าผสมผสานได้อย่างลงตัว พร้อมกับดำเนินชีวิตตามหลักแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งใช้ได้ทุกยุคทุกสมัยจนถึงปัจจุบัน.
กิตติ พรดวงจันทร์ รายงาน