น้อมรำลึก “บิดาทหารปืนใหญ่” ผู้บังคับกองพันทหารปืนใหญ่ที่ 7 นำกำลังพลประกอบพิธีบวงสรวง เนื่องใน “วันทหารปืนใหญ่” ประจำปี 2562 ราชาแห่งสนามรบ.
…
พันโท วรปรัชญ์ กาศสกุล ผู้บังคับกองพันทหารปืนใหญ่ที่ 7 กองพลทหารราบที่ 7 พร้อมด้วย ประธานสมาคมแม่บ้านทหารบก สาขา กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 7 กองพลทหารราบที่ 7 นำกำลังพล ประกอบพิธีบวงสรวงศาลเจ้าพ่อปืนใหญ่, ศาลเจ้าแม่ปืนใหญ่, สิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในค่ายฯ รวมทั้งสักการะพระบวรรูปพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว “บิดาทหารปืนใหญ่” เนื่องใน “วันทหารปืนใหญ่” เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านที่มีต่อเหล่าทหารปืนใหญ่ และสดุดีวีรชนทหารกล้าทหารปืนใหญ่ที่เสียสละชีวิต ปกปักรักษาแผ่นดิน ปกป้องเอกราช และอธิปไตยของชาติไทยไว้ จากสมรภูมิการรบต่างๆ ณ กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 7 กองพลทหารราบที่ 7 ค่ายพระปิ่นเกล้า จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อ 17 ธันวาคม 2562 ที่ผ่านมา
ด้วย เมื่อ 17 ธันวาคม 2368 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้โปรดเกล้าฯ ให้ขนานนามปืนใหญ่สำหรับรักษาพระนคร จำนวน 277 กระบอก ดังปรากฏอยู่ในตำรายุทธ ศาสตร์ รัชกาลที่ 3 ว่าด้วยชื่อปืนใหญ่ 277 กระบอก
จากนั้น เมื่อ 17 ธันวาคม 2384 พระบาทสมเด็จประปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ในสมัยรัชการที่ 3 ขณะดำรงพระยศ กรมขุนอิศเรศ รังสรรค์ ได้ทรงแต่งตำราปืนใหญ่เล่มแรกขึ้น ว่าด้วยประวัติทหารปืนใหญ่ การฝึกปืนใหญ่ในกรณีต่างๆ รวมทั้งว่าด้วยการสร้างปืนใหญ่ และการทาดินปืน ดังความในบทแรกว่า:-
“จะกล่าวเริ่มต้นพงศาวดารปืนใหญ่ และตำราปืนใหญ่ ตำราดิน ตั้งแต่ศักราชฝรั่ง 1280 ปี คิดเป็นจุลศักราชไทยได้ 642 ปี มาจนถึงทุกวันนี้ ได้แปลออกจากภาษาอังกฤษเป็นคาไทย ณ วันศุกร์ เดือนยี่ ขึ้น 5 ค่า ปีฉลู ตรีนิศก (จุลศักราช 1203 พ.ศ. 2384) ในความว่า แต่ก่อนคนบุราณ นั้นหารู้จักทาปืน ทาดิน ไม่เลย….”
สาหรับพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว อาจกล่าวได้ว่า พระองค์ทรงเป็นพระบิดาของทหาร ปืนใหญ่ไทยโดยแท้ เพราะว่าพระองค์ได้ทรงมีความสัมพันธ์กับทหารปืนใหญ่มาโดยตลอด ตั้งแต่พระชนมายุได้ 24 พรรษา จนกระทั่งเสด็จสวรรคตเมื่อพระชนมายุได้ 58 พรรษา โดยมีพระราช กรณียกิจที่สำคัญเกี่ยวกับทหารปืนใหญ่ โดยสรุปคือ:-
1. ทรงเป็นแม่กองฝึกหัดทหารปืนใหญ่ และทรงฝึกสอนทหารปืนใหญ่ด้วยพระ องค์เองตลอดเวลา
2. ทรงจัดตั้งหน่วยทหารปืนใหญ่ประจำการขึ้น โดยใช้กำลังพลอาสาสมัครต่างๆ เช่นอาสาญวน, อาสาจาม เป็นต้น
3. ทรงเป็นผู้บังคับบัญชาทหารปืนใหญ่ และคลุกคลีอยู่กับกิจการ ทหารปืนใหญ่มาก กว่า 30 ปี
4. ทรงเป็นปรมาจารย์วิชาทหารปืนใหญ่ โดยทรงแปลและเรียบเรียงตำราวิชาการ ทหารปืนใหญ่ขึ้นเป็น บุคคลแรก ในประวัติศาสตร์ไทย แสดงว่าพระองค์ ทรงเชี่ยวชาญเกี่ยวกับกิจการ และวิทยาการทางด้าน ปืนใหญ่เป็นอย่างยิ่ง.
5. ทรงแสดงให้ชาวต่างประเทศเห็นว่า กิจการทหารปืนใหญ่ของไทยนั้นมิได้ล้าหลังชาวต่างประเทศเลย
6. พระองค์ทรงรับทหารปืนใหญ่ และทรงฝังพระทัยอยู่กับกิจการ ทหารปืนใหญ่ตลอดพระชนมายุ ถึงกับโปรดกล้า เปลี่ยนตราพระราชลัญจกรประจำตำแหน่งวังหน้า จากตราพระลักษณ ์ทรงหนุมาน เป็นรูปตราพระนารายณ์ประทับยืนอยู่บนปืนใหญ่ แม้แต่ตราพระปรมาภิไธยภาษาอังกฤษ ก็ทรงใช้ตรา เป็นรูปลำกล้องปืนใหญ่ ๒ กระบอกไขว้กันเป็นฐานรองรับพานวางพระปิ่น