พะเยา สุดเจ๋ง ! มหาวิทยาลัยพะเยา วิจัยและพัฒนาอาหารโคนมราคาถูก มีคุณภาพ ด้วยแบคทีเรียกลายพันธุ์จากพลาสมา ครั้งแรกของโลก ลดภาระเกษตรกร ด้วยการลดค่าอาหารโคนมถึง 30-40 เปอร์เซ็นต์
รศ.ดร. สมบูรณ์ อนันตลาโภชัย หัวหน้าหน่วยเทคโนโลยีชีวภาพ มหาวิทยาลัยพะเยา(โครงการวิจัยและพัฒนาอาหารโคนมราคาถูก) เปิดเผย ถึงโครงการวิจัยว่า ทางมหาวิทยาลัยพะเยามีแนวคิดในทางฟิสิกส์ที่จะมาพัฒนาอาหารโค ที่จะทำให้มีต้นทุนต่ำเกิดขึ้นโดยการนำเศษอาหารหรือวัสดุทางการเกษตรมาทำเป็นอาหารโค ซึ่งในแต่ละวัน โคตัวหนึ่งจะกินอาหารประมาณ 20-30 กิโลกรัม (ขึ้นอยู่กับขนาดของโค) โดยอาหารตามในท้องตลาดจะมีราคาถึง 12-30 บาท ต่อกิโลกรัม สำหรับเกษตรกรที่ใช้อาหารข้นจากบริษัททั้งหมด หรือจะใช้อาหารธรรมชาติเข้าเสริม ก็ยังถือว่าเป็นภาระที่หนัก สำหรับค่าใช้จ่ายด้านอาหารโค
ทางศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยพะเยา จึงได้สนับสนุนโครงการวิจัยโดยมีเป้าหมายช่วยให้เกษตรกรโคนมไทยเข้มแข็ง และมีรายได้เพิ่มขึ้นด้วยการลดค่าใช้จ่ายอาหารเลี้ยงโคลง และลดเวลาในการต้องออกไปหาอาหารธรรมชาติกินทุกๆวัน ความพิเศษเชิงวิชาการของโครงการนี้ก็คือการใช้เทคนิคยิงไอออนในพลาสมา ใส่แบคทีเรียชักนำ ให้เกิดแบคทีเรียสายพันธุ์ใหม่ ที่มีความสามารถสูงในการผลิตcellulolytic enzymes เช่น cellulose หรือ xylanase รวมทั้ง lactic acids ซึ่งเป็นเทคนิคใหม่ของโลก คิดค้นและพัฒนาขึ้นเองโดยนักวิทยาศาสตร์ไทยที่มหาวิทยาลัยพะเยา ทั้งนี้เพื่อนำไปใช้วัสดุเหลือใช้จากเกษตรกร ตามที่หาได้ในท้องถิ่น ที่มีราคาถูก เช่น ซังข้าวโพด เปลือกข้าวโพด ฟางข้าว เปลือกทุเรียน เปลือกมันสำปะหลัง เปลือกกล้วย หรือ ฟักทองตกเกรด ที่ขายไม่ได้ราคา เป็นต้น ซึ่งนอกจากจะทำให้วัตถุดิบเหล่านี้ มีเส้นใยที่อ่อนนุ่มขึ้น ยังทำให้โคย่อยได้ง่ายขึ้น และมีกลิ่นหอมที่ทำให้โคเจริญอาหาร และตัว lactic acid ยังมีผลช่วยเพิ่มคุณภาพน้ำนม โดยการเพิ่มโปรตีนและไขมันในน้ำนมให้สูงด้วย ตามแนวทางเช่นนี้ จะสามารถช่วยเกษตรกรลดต้นทุนค่าใช้จ่ายของโคลงได้ 30-40 เปอร์เซ็นต์ จากราคาตลาดอาหารสัตว์ คุณภาพและปริมาณน้ำนมที่เลี้ยงด้วยอาหารของโครงการได้รับการทดสอบโดยศูนย์วิจัยและพัฒนาสัตวแพทย์ภาคเหนือตอนบนจังหวัดพะเยา พบว่าไม่แตกต่างจากการเลี้ยงด้วยอาหารซื้อจากบริษัท ซึ่งปัจจุบันการได้นำแนวทางนี้ไปเผยแพร่แล้วแก่เกษตรกรโคนมที่จังหวัดพะเยา และจังหวัดบึงกาฬ ผลพลอยได้ของโครงการนี้ก็คือเพิ่มอรรถประโยชน์ให้แก่วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพราะเทคนิคนี้ทำให้สามารถนำวัสดุดังกล่าว มาทำอาหารโคได้แทนที่จะทิ้งไปเหมือนแต่ก่อน เป็นการช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกพืช ช่วยลดปัญหามลพิษหมอกควัน จากการเผาทำลายวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ส่งผลดีต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว พร้อมทั้งช่วยให้มีอาหารให้แก่ตัวแม้ในหน้าแล้งที่ขาดแคลนอาหารจากธรรมชาติ รวมถึงลดเวลาที่ต้องออกไปหาอาหารจากธรรมชาติทุกๆวัน
ซึ่งตอนนี้ทำให้ตนเองประสบผลสำเร็จ ในการในผลผลิตของน้ำนมโคเพื่อส่งออกจำหน่ายเป็นอย่างมาก อีกทั้งเป็นการเพิ่มฮอร์โมนในโคนม ทำให้โคนมที่มีอายุประมาณ 45 วันสามารถที่จะผสมพันธุ์ได้แล้ว หลังจากแต่ก่อนเลี้ยงแบบธรรมชาติเกือบ 1 ปีถึงจะสามารถผสมพันธุ์ได้