Uncategorized

กลุ่มเครือข่ายภาคประชาชนชาว อมก๋อยกว่า 200 คนบุกศาลากลางเชียงใหม่ ยื่นหนังสือถวงถามควาใคืบหน้าให้ยุติการสัมประทานการทำเหมืองแร่อมก๋อยฯ

กลุ่มเครือข่ายภาคประชาชนชาว อมก๋อยกว่า 200 คนบุกศาลากลางเชียงใหม่ ยื่นหนังสือถวงถามควาใคืบหน้าให้ยุติการสัมประทานการทำเหมืองแร่อมก๋อยฯ

เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 19 ก.ย.62 กลุ่มเครือข่ายยุติเหมืองแร่อมก๋อย ประมาณ 200 คน นำโดย นายจิตรกร อุทยานานนท์ น.ส.ขวัญหทัย โล่ติวิกุล เดินทางรวมตัวที่ หน้าศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อติดตามความคืบหน้าและขอความชัดเจนกรณีสัมปทานแร่ถ่านหินในพื้นที่ บ้านกะเบอะดิน ม.12 ต.อมก๋อย อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่
ทั้งนี้โดยมีตัวแทน สมาชิกพรรคการเมืองต่างมาร่วมให้กำลังใจพร้อมรับหนังสือจากตัวแทนชาวบ้าน อาทิเช่น นายมานพ คีรีภูวดล ส.ส.ระบบรายชื่อพรรคอนาคตใหม่และเป็นแกนนำเครือข่ายชาติพันธุ์ นางมีนา กัลมาพิจิตร หัวหน้า.พรรค อนค. สาขาเชียงใหม่ นายนวพล ศิริรักษ์สกุล อดีตผู้สมัคร ส.ส.เขต 9 และตัวแทนพรรคการเมืองต่างที่เข้าร่วมสังเกจงตุการณ์และรับเรื่องดังกล่าวจากประชาชนกว่า 20 คน

ต่อมาได้มี นายศรัณยู มีทองคำ ปลัดจังหวัดเชียงใหม่ เป็นผู้แทนรับหนังสือ จากผู้มาเรียกร้องในครั้งนี้ นอกจากนี้ได้ยื่นถึงนายพงษ์เกษม โพธิ์แก้ว หน.กลุ่มนโยบายและแผนงานอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ ผู้แทนอุตสาหกรรมจังหวัด พร้อมกับยื่นหนังสือให้ ผู้แทนพรรคการเมือง จำนวน 3 พรรค ประกอบด้วย พรรคอนาคตใหม่ ,พรรคประชาธิปัตย์ และ พรรคพลังประชารัฐ โดยมีข้อความในหนังสือต้องการให้ภาครัฐทบทวนการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ที่มีต่อการอนุญาตประทานบัตรทำเหมืองแร่ถ่านหินในพื้นที่ บ้านกะเบอะดิน ม.12 ต.อมก๋อย อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ ใน 28 กันยายน.62 ที่ ร.ร.บ้านแม่อ่างขาง ต.อมก๋อย อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่
โดยกลุ่มเครือข่าย ฯ อ้างว่าโครงการดังกล่าวมีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม อีกทั้งมีการอนุญาตให้ชาวบ้านนอกพื้นที่โครงการ รัศมี 1 กม. คือ บ้านขุน ต.อมก๋อย ฯ เข้าร่วมได้อย่างไร ซึ่งจะทำให้การจัดทำรายงานไม่ครอบคลุมชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ และไม่สามารถนำมาใช้พิจารณาได้
ในการรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการ ฯ ที่ได้จัดทำเมื่อ ต.ค.54 ไม่มีความโปร่งใสในการจัดทำข้อเท็จจริง จึงทำให้การดำเนินการ ฯ ใน 28 ก.ย.62 จึงมิชอบด้วยกฎหมาย
อย่างไรก็ตาม หาก ใน 28 ก.ย.62 จังหวัดเชียงใหม่ โดยอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ ยังยืนยันการดำเนินการจัดทำเวทีรับฟังความคิดเห็นของชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบระยะ 1 กม. ทางเครือข่าย ฯ เรียกร้องให้มีตัวแทนเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว สามารถแสดงความคิดเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาได้ด้วย ขั้นต้น เครือข่าย กำหนดผู้แทน จำนวน 14 คน ประกอบด้วย ภาคประชาชนอมก๋อย 4 คน ,มูลนิธิพัฒนาเอกชน (NGO) 2 คน ,สาธารณะสุข 2 คน ,ตัวแทนกำนัน-ผญบ. 2 คน ,คณะกรรมการพัฒนาชีวิตอมก๋อย 2 คน และเครือข่ายยุติเหมืองแร่อมก๋อย 2 คนในเวทีวันดังกล่าวคาดว่าจะมีมวลชนและชาวบ้านมาร่วมกิจกรรมไม่ต่ำกว่า 500 คน