19 กย. 62 ณ.บริเวณศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย มูลนิธิอุบลราชธานีศรีวนาลัย โดยการนำของ พลตรีดร.อรรถ สิงหัษฐิต ผบ.มทบ.22 การรับบริจาคสิ่งของเพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับความเดือดร้อนจากภัยดังกล่าวยังมีโดยต่อเนื่องซึ่งทางศูนย์ได้สรุปยอดในการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนตลอดระยะของการตั้ง ศูนย์ถึงวันนี้ 11 วัน เราได้มีการแจกอาหารปรุงสุกสำเร็จไปแล้วทั้งสิ้น 18,000 ชุด ถุงยังชีพประมาณ 18,000 ชุด จะเห็นได้ว่าจากการทำงานตลอดทั้ง 11 วันเราจะมีการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนต่อวันตัวเฉลี่ยประมาณร่วมเกือบ 2000 ชุด โดยในขณะนี้การประเมินในเรื่องของน้ำท่วมสำหรับจังหวัดอุบลราชธานีคาดว่าการระบายน้ำลงสู่แม่น้ำโขงกลับคืนสู่สภาพสภาวะปกติน่าจะถึงปลายเดือนกันยายนศูนย์ช่วยเหลือผู้ได้รับความเดือดร้อนดังกล่าวเรายังคงรับสิ่งของเพื่อทำการบริจาคดูอย่างต่อเนื่องจนกว่าน้ำจะลด การช่วยเหลือดังกล่าวก็ได้รับความช่วยเหลือจากพี่น้องประชาชนองค์กรต่างๆมากมาย ณ.วันนี้การช่วยเหลือขององค์กรและพี่น้องประชาชนที่มีมากถึง 600 กลุ่มทำให้เราสามารถช่วยเหลือพี่น้องและบรรเทาความเดือดร้อนได้อย่างต่อเนื่อง
นายจำรูญศักดิ์ จันทรมัย รองเลขาธิการพรรคไทยศรีวิไลย์ ที่ปรึกษามูลนิธิอุบลราชธานีศรีวนาลัย กล่าวว่า ความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนที่อยู่ในช่วงระหว่างพื้นที่ริมแม่น้ำมูลซึ่งรอการระบายของน้ำลงสู่แม่น้ำโขงล่าสุดผลกระทบที่เกิดขึ้นมีทั้งสิ้นประมาณ 6 อำเภอ โดยเป็นอำเภอที่อยู่ 2 ข้างระหว่างแม่น้ำมูลไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่อำเภอโขงเจียม ถึงแม้นว่าในขณะนี้ภาครัฐได้ทำการเปิดประตูเขื่อนปากมูลทั้ง 8 บานรวมไปถึงการใช้เครื่องสูบน้ำระหว่างเกาะแก่งเพื่อช่วยการไหลเวียนของน้ำให้เร็วขึ้นแต่ด้วยว่ามวลน้ำมหาศาลที่ไหลมารวมกันบริเวณ 6 อำเภอที่เป็นจุดรับน้ำซึ่งมีอยู่ 2 ฝั่งของแม่น้ำมูลอำเภอเมืองอำเภอวารินชำราบอำเภอสว่างวีระวงศ์อำเภอตาลสุมอำเภอพิบูลมังสาหารอำเภอโขงเจียมถึงแม้นว่าจะลดลงอย่างต่อเนื่องแต่พี่น้องประชาชนก็ยังไม่สามารถกลับภูมิลำเนาได้ การช่วยเหลือของมูลนิธิอุบลราชธานีศรีวนาลัยยังคงดำเนินการต่อไป
อีกทั้งหลังจากนี้การช่วยเหลือพี่น้องที่ได้รับความเดือดร้อนจากภัยน้ำท่วมมูลนิธิอุบลราชธานีศรีวนาลัยเรามีการคิดแผนร่วมกันกับกองทัพโดย มทบ 2 2 จะไปเล่นเหตุการณ์น้ำที่ลดลง ได้หลายพื้นที่พี่น้องประชาชนได้กลับคืนสู่ภูมิลำเนาบ้านเรือนที่มีที่ตั้งของตัวเอง แต่สภาพของบ้านเรือนที่มีน้ำท่วมขังเป็นระยะเวลาหลายสัปดาห์ทำให้เกิดการชำรุดผุพังจึงมีแนวทางความคิดว่าเราจะต้องทำการเยียวยาโดยการขอรับการสนับสนุนขอรับการบริจาคจากองค์กรพี่น้องประชาชนเกี่ยวกับวัสดุในการก่อสร้างเช่นตะปูสังกะสีไม้เฌอร่าเพื่อในการปรับปรุงซ่อมแซมบ้านที่ชำรุดผุพังจากเหตุน้ำท่วม ซึ่งเป็นแผนที่จะขอรับการช่วยเหลือจากพี่น้องประชาชนอีกต่อไป
และอีกสิ่งหนึ่งที่ขาดเสียไม่ได้ลืมไม่ได้เด็กๆลูกหลานที่เรียนหนังสือผลกระทบจากเหตุน้ำท่วมทำให้โรงเรียนในพื้นที่เขตการศึกษาหลายแห่งเช่นสพฐเขต 1 โรงเรียนที่ได้รับผลกระทบน้ำท่วมอุปกรณ์สื่อการเรียนการสอนชำรุดเสียหายเนื่องด้วยประเด็นการกู้คืนหรือการเข้าช่วยเหลือของเจ้าหน้าที่และจิตอาสาไม่เพียงพอทำให้สื่อการเรียนการสอนและวัสดุที่ใช้สำหรับการเรียนและความเดือดร้อนจากลูกหลานที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมมีความเสียหายมากมาย
ทางมูลนิธิจึงมีแผนแนวคิดที่จะเข้าช่วยเหลือโรงเรียนในพื้นที่ที่น้ำท่วมขังและวัสดุสื่อการเรียนการสอนเสียหายจึงขออนุญาตนำเรียนว่าหาการช่วยเหลือที่มีมาอย่างต่อเนื่องจึงขออนุญาตนำเรียนพี่น้องประชาชนองค์กรสมาคมและหน่วยงานภาครัฐต่างๆได้ให้การสนับสนุนสื่อการเรียนการสอนสมุดหนังสือปากกาให้กับเด็กนักเรียนทั้ง 61 แห่งในเขตพื้นที่ตัวเมืองจังหวัดอุบลราชธานีซึ่งมีทั้งหมด 5 เขตการศึกษา โดยนายจำรูญศักดิ์ จันทรมัย จึงได้วางแนวทางพร้อมเพื่อนสมาชิกสื่อโซเชียลได้ร่วมกันหาแนวทางที่จะทำการช่วยเหลือลูกหลานเด็กนักเรียนและโรงเรียนที่ได้รับผลกระทบ จึงได้นำเรียนฝากวิงวอนผ่านสื่อมวลชนทุกท่านทุกแขนงได้ช่วยกระจายข่าวเพื่อขอความช่วยเหลือเรื่องดังกล่าวให้ไปทั่วถึงภาคประชาชนและองค์กรต่างๆ อีกทั้งสมาคมองค์กรหรือภาคประชาชนที่อยากจะช่วยเหลือพี่น้องประชาชนอีกส่วนหนึ่งที่อยากให้ท่านได้คำนึงและคิดถึงคือลูกหลานที่เรียนหนังสือและโรงเรียนที่ได้รับผลกระทบอุปกรณ์สื่อการเรียนการสอนชำรุดเสียหายขอให้ท่านได้ช่วยเหลือโรงเรียนต่างๆในตัวเมืองจังหวัดอุบลราชธานีที่ได้รับผลกระทบด้วย