เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2566 ที่บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดศรีสะเกษ พล.ต.ท.ฐากูร นัทธีศรี ผบช.ภ.3 นายอนุพงศ์ สุขสมนิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ พล.ต.ต.พิษณุ วัตถุ ผบก.ภ.จว.ศรีสะเกษ พ.อ.โถมวัฒน์ สว่างวิทย์ รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดศรีสะเกษ(ฝ่ายทหาร) นายนพ พงศ์ผลาดิสัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ นายอรรถสิทธิ์ ทองแสง ผู้บัญชาการเรือนจำจังหวัดศรีสะเกษ พ.ต.อ.ศุภชัย ศักรินพานิชก รอง ผบก.จว.ศรีสะเกษ นายธาตรี สิริรุ่งวนิช ปลัดจังหวัดศรีสะเกษ พ.อ.กิตติวรา อารีรักษ์ ผบ.ฉก.ทพ.๒๓ พ.อ.สิทธิ พรหมดิเรก ผบ.ฉกต และพ.ต.อ.จิรประภาพ สุทธปรีดา ผกก.ตม.จว.ศรีสะเกษ ได้ร่วมกันแถลงผลการจับกุมเครือข่ายคดียาเสพติดตามยุทธการ 238 พิทักษ์นครลำดวน และยุทธการพิฆาตทรชนคนค้ายาอีสานใต้ ภ.3 ในห้วงระหว่าง 1 ต.ค. 66 ถึงวันที่ 14 พ.ย.2566 จับกุมผู้ต้องหา 339 คน ยาบ้า 508,738 เม็ด ไอซ์ 3.66 กรัม ยึดทรัพย์สินรวมมูลค่าประมาณ 11,354,540 บาท
พล.ต.ท.ฐากูร นัทธีศรี ผบช.ภ.3 กล่าวว่า ตามนโยบายรัฐบาลโดย นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ผู้ผลิตและผู้ค้า คือผู้ที่ต้องได้รับโทษตามกระบวนการยุติธรรม โดยใช้มาตรการ ทางกฎหมายอย่างจริงจัง การ “ยึดทรัพย์” เพื่อตัดวงจรการค้ายาเสพติด พร้อมดำเนินการเจรจาทางการทูตกับประเทศตามแนวชายแดน เพื่อควบคุมการลักลอบนำยาเสพติด เข้ามาในประเทศไทย และดึงประชาชนออกจากวงจรการค้ายาเสพติดอย่างถาวร นอกจากนี้รัฐบาลจะดำเนินแนวทางนโยบายการใช้ประโยชน์จากกัญชาทางการแพทย์และสุขภาพ เพื่อสร้างมูลค่าในเชิงเศรษฐกิจ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้มีนโยบายให้ทุกจังหวัด บูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งรัดดำเนินการป้องกันและปราบปรามผู้มีอิทธิพล ให้ความสำคัญกับกิจกรรมที่ไม่พึงประสงค์ใน 6 เรื่อง ได้แก่การป้องกันและปราบปรามยาเสพติด การป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ การครอบครองและพกพาอาวุธปืนโดยผิดกฎหมาย การป้องกันและปราบปรามการลักลอบเล่นพนัน การติดตามเฝ้าระวังผู้มีอิทธิพล และการเข้มงวดกวดขันสถานบริการ และสถานประกอบการที่เปิดในลักษณะคล้ายสถานบริการ ให้ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการกระทำผิดในพื้นที่ ประชาชนใช้ชีวิตได้เป็นปกติสุข
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้สั่งการให้ทุกจังหวัด เปิดปฏิบัติการ (Kick off) ตามนโยบายจัดระเบียบสังคมและปราบปรามผู้มีอิทธิพล พร้อมกันทั่วประเทศ ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 และจัดตั้งกลไกในการดำเนินงานติดตามและรายงานผลให้รัฐบาลและกระทรวงมหาดไทยทราบ โดยบูรณาการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เพื่อปฏิบัติภารกิจด้านการรักษาความสงบเรียบร้อย ตามอำนาจหน้าที่และดำเนินการต่อข้อร้องเรียนหรือการแจ้งเบาะแส รวมทั้งการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด กับผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายในทันที ตามนโยบายจัดระเบียบสังคมและปราบปรามผู้มีอิทธิพลภายใต้แผนปฏิบัติการภายใต้นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วย การป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหายาเสพติด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ใช้เป็นกรอบแนวทางให้หน่วยงานบูรณาการ ในการจัดทำแผนปฏิบัติการของจังหวัดศรีสะเกษ ประกอบด้วย 6 มาตรการสำคัญประกอบด้วย มาตรการป้องกันยาเสพติด มาตรการปราบปรามยาเสพติด มาตรการยึดทรัพย์สินคดียาเสพติด มาตรการการบำบัดรักษายาเสพติด มาตรการความร่วมมือระหว่างประเทศ และมาตรการบริหารจัดการมาเป็นแนวทางในการป้องกันปราบปรามยาเสพติดและขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าวสู่การปฏิบัติทุกพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาตรการปราบปรามยาเสพติด โดยมุ่งเน้นการปราบปราบเครือข่ายการค้ายาเสพติดและขยายผลนำไปสู่การจับกุมและยึดอายัดทรัพย์หลายเครือข่ายการค้ายาเสพติดรายสำคัญ ประกอบกับจังหวัดศรีสะเกษได้กำหนดให้การแก้ไขปัญหายาเสพติด เป็นวาระเร่งด่วน 1 ใน 10 วาระ
ซึ่งจังหวัดศรีสะเกษมี 3 ประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนา การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดและ TO BENUMBER ONE ประกอบด้วย 3 แนวทาง 6 กลยุทธ์ ดังนี้ คือแนวทางที่ 1 คุณภาพชีวิตตี กลยุทธ์ที่ 1 กองทุนแม่ของแผ่นดิน กลยุทธ์ที่ 2 To Be Number One กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาพื้นที่บูรณาการส่งเสริมทักษะสมอง EF แนวทางที่ 2 ไม่มีปัญหายาเสพติด เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดตั้งแต่ปฐมวัย กลยุทธ์ที่ 5 เสริมสร้างพลังการป้องกันและแก้ไขยาเสพติดด้วยการสร้างการมีส่วนร่วมและความเข้มแข็งของหมู่บ้าน/ชุมชน แนวทางที่ 3 คืนคนดีสู่สังคม กลยุทธ์ที่ 5 ยุทธการ 238 พิทักษ์นครลำดวน กลยุทธ์ที่6 การบำบัดฟื้นฟู
ข่าว/ภาพ …. บุญทัน ธุศรีวรรณ ศรีสะเกษ