“สภาทนายความ”ลงนาม MOU ร่วมกับเครือข่ายนิติศาสตร์ 21 สถาบันอุดมศึกษา พัฒนานักกฎหมายรุ่นใหม่ ศักยภาพทางวิชาการ ด้านกฎหมาย วิจัยด้านกฎหมาย พัฒนาหลักสูตรการศึกษา
เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2567 ที่ห้องประชุมชั้น 5 สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พันธุ์ทิพย์ นวานุช คณบดีคณะนิติศาสตร์ และเครือข่ายนิติศาสตร์สถาบันอุดมศึกษา เข้าร่วม MOU กับสภาทนายความ ด้านการพัฒนานักฎหมายรุ่นใหม่ ศักยภาพทางวิชาการ ด้านกฎหมาย วิจัยด้านกฎหมาย พัฒนาหลักสูตรการศึกษา
สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ กับเครือข่ายนิติศาสตร์สถาบันอุดมศึกษา ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ โดยมี ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ เป็นประธานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับเครือข่ายนิติศาสตร์ 21 สถาบัน โดยมี ดร.วิรัลพัชร เวธทาวริทธิ์ธร อุปนายกฝ่ายวิชาการ กล่าวรายงาน มี นายสุชาติ ชมกุล อุปนายกฝ่ายกิจการพิเศษ นายสฤษดิ์ เจียมกมล เหรัญญิก นายชยธวัช อติแพทย์ ผู้อำนวยการสำนักฝึกอบรมวิชาว่าความ แห่งสภาทนายความ นายมะโน ทองปาน รองประธานกรรมการมรรยาททนายความ และนายเชษฐ์ สุขสมเกษม อนุกรรมการประชาสัมพันธ์ สภาทนายความ สมาชิกทนายความ คณาจารย์และนักศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีฯ
จากนั้น ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ ได้ร่วมลงนามความร่วมมือ (MOU) ทางวิชาการกับผู้แทนสถาบันอุดมศึกษา จำนวน 21 สถาบัน ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุจิตรา สามัคคีธรรม รองอธิการบดี สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดาริกา โพธิรุกข์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม รองศาสตราจารย์ ดร.บัญชา วิทยอนันต์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา อาจารย์ ดร.ธนภูมิ ชาติดี คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ญาณวัฒน์ พลอยเทศ คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก รองศาตราจารย์ ดร.ภาคิน โชติเวศศิลป์ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์จักรินทร์ สมมติ ประธานหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต อาจารย์ทรัพยสิทธิ์ เกิดในมงคล คณบดีคณะนิติศาสตร์ปฏิบัติราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี อาจารย์ทรัพยสิทธิ์ เกิดในมงคล คณบดีคณะนิติศาสตร์ปฏิบัติราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พันธุ์ทิพย์ นวานุช คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พันธุ์ทิพย์ นวานุช คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ รองศาสตราจารย์ ดร.เปรื่อง กิจรัตน์ภร มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล อาจารย์วันเฉลิม ว่องสนั่นศิลป์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ ผู้แทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ อาจารย์วันรัต รื่นบุญ ประธานสาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
รองศาสตราจารย์ ดร.เจษฎ์ โทณะวณิก ประธานหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย อาจารย์ ดร.สุริยา ปัญญจิตร ประธานสาขาวิชานิติศาสตร์ อาจารย์ ดร.สุริยา ปัญญจิตร ประธานสาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ผู้ช่วยศาสตราจารย์เกรียงศักดิ์โชติจรุงเกียรติ์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยสันตพล อาจารย์ ดร.ดนัยณัฐ จิระวัฒนาสมกุล ประธานสาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร อาจารย์เมธาพร กาญจนเตชะ คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิมพงา เพ็งนาเรนทร์ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริวดี วิวิธคุณากร คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดวงใจ ชนะสิทธิ์ รองอธิการบดี ปฏิบัติราชการแทนอธิการบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสงี่ยม บุษบาบาน รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ซึ่งผู้แทนเครือข่ายนิติศาสตร์ทั้ง 21 สถาบัน ต่างแสดงความยินดีและพร้อมที่จะร่วมมือกันพัฒนานักกฎหมายรุ่นใหม่ให้เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนสังคมให้เกิดความเป็นธรรม
สำหรับการลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับเครือข่ายนิติศาสตร์ 21 สถาบันอุดมศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการด้านกฎหมาย การส่งเสริมสนับสนุนทางวิชาการ การวิจัยทางด้านนิติศาสตร์ การพัฒนาหลักสูตรการศึกษา การพัฒนากิจการนักศึกษา การช่วยเหลือประชาชนทางด้านกฎหมายเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมให้ประชาชนได้รู้ถึงสิทธิและหน้าที่ของตนเองและเพื่อเป็นการผลิตบัณฑิตด้านนิติศาสตร์ที่มีได้ตระหนักถึงคุณธรรม ตลอดจนบทบาทภาระหน้าที่ของนักกฎหมายที่ดีอันสำคัญในการมีส่วนสร้างความเป็นธรรมในสังคมต่อไป
ด้าน ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ กล่าวว่า ความร่วมมือในครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาวงการศึกษาและกฎหมาย เป็นการรวมพลังของสภาทนายความและสถาบันอุดมศึกษา จะช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์ ทำให้บัณฑิตที่จบออกมามีความพร้อมในการทำงานและสามารถตอบสนองความต้องการของสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ.